˹���á Forward Magazine

ตอบ

(Back In The Day) Putumayo : Arabic Groove
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ (Back In The Day) Putumayo : Arabic Groove 


http://www.facebook.com/HysteriaCulture

http://hysteriaculture.wordpress.com/2014/04/20/back-in-the-day-putumayo-arabic-groove-arabic-musicurban-popfunkdancehip-hopworld-music-95-55/

Putumayo : Arabic Groove : Arabic Music/Urban Pop/Funk/Dance/Hip-Hop/World Music (95% = 5/5)

ด้วยความที่คอนเส็ปท์ของเพจนิตยสารHysteriaประจำเดือนเมษายน 2014นี้เราได้นำเสนอถึงบางส่วนของดนตรี “เต้นรำ” ซึ่งเมื่อพูดถีงดนตรีแนวเต้นรำแล้วเลยทำให้คิดถึงคำว่า “กรู๊ฟ” (Groove) ขึ้นมาซึ่งก็มีคนอ่านหลายคนเคยถามถึงเหมือนกันว่า “มันคือแนวอะไร?”

เท่าที่รู้ “กรู๊ฟ” ไม่ใช่แนวดนตรีโดยเฉพาะเจาะจงของตัวมันเองแต่มันขึ้นจังหวะของดนตรีในแขนงต่างๆที่ก็ไม่มีรูปแบบตายตัวขึ้นอยู่กับว่าเป็นจังหวะและความรู้สึกร่วมในแนวอะไร อาทิ กรู๊ฟในดนตรีแจ๊ซซ์ก็แบบนึงในขณะที่กรู๊ฟจากดนตรีฮิพฮอพก็อีกแบบหนึ่ง เป็นต้น

ว่าแล้วพูดกันแบบลอยๆก็คงไม่ชัดเท่าแนะนำอัลบั้มสักอัลบั้มแถมด้วยฤดูร้อนแบบนี้อีกก็ยิ่งประจวบเหมาะให้ดิฉันถือโอกาสหยิบยก “Arabic Groove” หนึ่งในซีรี่ยส์ที่หาเรื่องจะเขียนมานานมากๆแล้วของ “Putumayo” – - ค่ายเวิลด์มิวสิคที่น่ารักที่สุดของโลกจริงๆนะคะ! – - แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เขียนเสียทีซึ่งเชื่อว่าถ้าท่านผู้อ่านลองไปหามาฟังก็น่าจะเห็นภาพและเข้าใจนิยามของคำว่า “กรู๊ฟ” ในภาษาดนตรีจากอัลบั้มนี้มากขึ้นนะคะกับงานดนตรีพื้นเมืองโซนอาราเบียที่ผสานเข้ากับจังหวะจะโคนของวัฒนธรรมดนตรีร่วมสมัยไม่ว่าจะเป็นฮิพฮอพ เออร์บันพ็อพและฟั้งค์เป็นต้น

Moi et Toi (5/5) เพลงเปิดอัลบั้มโดย “Abdel Ali Slimani” เชื่อว่าน่าจะถูกใจใครหลายๆคนกับเพลงเต้นรำร่วมสมัยที่ยืนอยู่ตรงกลางระหว่างการผสานกลิ่นอายจากอารยธรรมดนตรีอารบิคพื้นเมืองเข้ากับดนตรีเต้นรำเออร์บันกลิ่นอายออกไปทางคลับแด๊นซ์ติดฟั้งค์และโซลฟังแล้วนึกถึงผับแขกย่านใกล้ๆข้าวสารที่เคยไปนั่วดูดบารากุ Galbi (4.5/5) โดย “Abdy” ที่แม้การนำเสนอจะกระเดียดไปทางสมัยใหม่ค่อนข้างมากแต่กลิ่นของดนตรีพื้นเมืองแบบอนุรักษ์นิยมยังคงฟุ้งตลบอบอวน ก็น่าจะเป็นดนตรีพ็อพของดนตรีในโซนเขาล่ะเนอะ อีกหนึ่งเพลงที่สุดยอดมากๆขอยกให้ Leiley (5/5) ในรูปแบบ Transglobal Underground Remix โดย “Dania” มีเสน่ห์มากๆและเปี่ยมมนตร์ขลังสุดๆ เป็รแทร็คอันดับต้นๆที่จิตวิญญาณของความเป็นดนตรีอารบิคแท้ๆครุกกรุ่นและตลบอบอวนที่สุดจนแทบจะต้องจุดธูปกราบ คลาสสิคมาก! Amarain (5/5) โดย “Amr Diab” อันนี้ผสานซาวนด์เร็กเก้เข้ามาปะทะกับดนตรีอารบิคพื้นเมืองในช่วงต้น เครื่องสายกับการประโคมดนตรีในเพลงฟินมากฟังแล้วอดยักย้ายส่ายเอวตามไม่ได้…เซ็กซี่! Kidda (4/5) โดย “Natacha Atlas” ขึ้นต้นด้วยเสียงแอดลิบโชว์ลูกคอของอาเจ๊คนร้องได้สะใจมากๆ ทั้งเพลงไม่เห็นมีอะไรมากนอกจากดนตรีกระเส่ากับการด้นสดของเจ๊แต่นี่ล่ะนิยามของคำว่า “กรู๊ฟ” ในรูปแบบที่หลายคนเข้าใจ มาที่ Mauvais Sang (4/5) โดย “Khaled” การร้องสไตล์อาราเบียนแต่ไปได้ดีกับบีทฮิพฮอพและเครื่องเป่าแจ๊ซซ์เล้าจ์นในเพลงได้อย่างลงตัวชนิดไม่น่าเชื่อ และทิ้งท้ายกับ L’Histoire (4.5/5) โดย “Cheb Tarik” ฟังแล้วดูสมัยใหม่ที่สุดในอัลบั้มผสานมาครบทั้งพ็อพ เร็กเก้ ฟั้งค์และฮิพฮอพน่ารักมากแม้จะไม่ได้ขลังจนขนหัวลุกแบบหลายๆเพลงก่อนหน้าแต่ก็ฟังง่ายที่สุดแล้ว

เอาจริงๆเชื่อว่าหลายคนเมื่อเห็นหน้าปกแล้วคงคาดหวังกับอะไรที่เป็น “อารบิคแบบพื้นเมืองแท้ๆ” มากกว่านี้คืออนุรักษ์นิยมและโบราณกว่านี้ชนิดขุดลงไปถึงรากเหง้าแต่ที่ได้มาค่อนไปทางสดใหม่ร่วมสมัยมากกว่าคืออารมณ์ที่ว่าก็มีนะคะแต่มีไม่กี่เพลงแถมก็ไม่ได้เก่ากึ้กเสียจนฟังแล้วหลอนหูตาเหลือกแต่ก็นับว่าทำออกมาได้มีเสน่ห์ทีเดียว


ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  


ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
ตอบ หน้า 1 จาก 1
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
  


copyright : forwardmag.com - contact : forwardmag@yahoo.com, forwardmag@gmail.com