˹���á Forward Magazine

ตอบ

โปรโมทหนัง Knowing ด้วยบทความ หายนะบนห้วงอวกาศ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ โปรโมทหนัง Knowing ด้วยบทความ หายนะบนห้วงอวกาศ 


หนังใหม่ของผู้กำกับ Alex Proyas ที่ได้นิโคลาส เคจมารับบทคนอมทุกข์ เอ๊ยศาสตราจารย์ที่ไปพบไทม์แคปซูลซึ่งบรรจุคำทำนายอนาคตซึ่งจะต้องเผชิญกับหายนะภัยพิบัติล้างโลก ซึ่งเขาก็ต้องพยายามหาทางป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น เอ๊ะ เหมือนจะเคยได้ยินพล็อตแบบนี้มาก่อนนะ

โอเค เอาเป็นว่าบทความหายนะในห้วงอวกาศที่ว่านี่ เป็นบทความที่อยู่ในหนัง Knowing และมันก็มีความเป็นไปได้ด้วเช่นกัน เรามาดูกันดีกว่าว่าหายนะอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นได้และส่งผลอย่างไรกับเราได้บ้าง



หายนะบนห้วงอวกาศ

(แปลจาก Official Website หัวข้อ “Following the Number” ของภาพยนตร์เรื่อง Knowing)


Planetary Collision (การชนกันของดาวเคราะห์)

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบระบบสุริยะจักรวาลกลุ่มใหม่ หากแต่เหลือเพียงเศษซากที่แตกกระจาย อันเป็นผลลัพท์ของการชนกันของดาวเคราะห์สองดวง ซึ่งถ้าเกิดว่ามีสิ่งมีชีวิตในดาวแต่ละดวงนั้น การชนกันน่าจะทำให้ทุกสรรพสิ่งที่อยู่บนดวงดาวสูญสิ้นชีวิตไปในเวลาเพียงแค่ไม่กี่นาที

มันสามารถเกิดขึ้นได้ไหม? - ได้ ตามสถิติแล้วมันมีเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก แต่ก็เป็นไปได้ว่าดาวพุธหรือดาวพฤหัสจะชนโลกในอนาคคอันใกล้



Impact Event (การพุ่งชนของวัตถุจากนอกโลก)

ปรากฏการณ์นี้คือการเดินทางของวัตถุบนอวกาศ ที่พุ่งเข้ามายังดาวเคราะห์โลก โดยมีมาตรวัดของโทริโน่ ที่บ่งบอกถึงระดับความอันตรายของวัตถุจากต่างดาว เริ่มต้นด้วย 1 ซึ่งหมายถึงสะเก็ดต่างๆ ที่บินผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกเป็นประจำ โดยมันไม่ก่อเกิดอันตรายใดๆกับสิ่งมีชีวิต จนถึง 10 ที่หมายถึงวัตถุขนาดใหญ่จากนอกโลกจะเข้ามากระทบพื้นด้วยความรุนแรง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิขั้นวิกฤต ที่อาจส่งผลร้ายต่อมนุษยชาติ

มันสามารถเกิดขึ้นได้ไหม? - ได้ มันเกิดขึ้นหลายครั้งมาแล้วในประวัติศาสตร์ และมีการคาดการว่ามันจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปีค.ศ. 2029


Supernova (ซุปเปอร์โนวา)

ซุปเปอร์โนวาคือการระเบิดของดาวเคราะห์ มันสามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่เสี้ยววินาที เมื่อดาวเคราะห์ทั้งดวงห่อตัวด้วยความหนาแน่นขั้นสูงสุด ซึ่งความกดดันที่เกิดจากปรากฏการณ์นี้ ทำให้เกิดพลังงานควอนตั้มที่จะสามารถสร้างแรงระเบิดที่มีความรุนแรงได้ในพริบตา

มันสามารถเกิดขึ้นได้ไหม? - ได้ โดยปกติแล้ว ซุปเปอร์โนวาจะเกิดขึ้นทุกๆ 50 ปี ในกาแล็คซี่ที่ใหญ่ในระดับทางช้างเผือก ซึ่งมันสามารถทำให้ทุกชีวิตที่อยู่ในอาณาเขต 200 ปีแสงต้องถึงคราวดับสิ้น


Gamma Ray Bursts (การระเบิดของรังสีแกมม่า)

การระเบิดของรังสีแกมม่า (GRBs) คือลำแสงของรังสีแกมม่าพุ่งออกมาจากในห้วงอวกาศ ที่สถานที่และเวลาไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งก็ผลกระทบก็จะก่อให้เกิดการระเบิดที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ Big Bang

มันสามารถเกิดขึ้นได้ไหม? - ได้ ลำแสงที่พุ่งมาจากระยะห่าง 30,000 ปีแสง สามารถลดความหนาแน่นของชั้นโอโซนได้เหลือเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็น ซึ่งเทียบได้กับภูเขาไฟระเบิดที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ถ้าลำแสงที่พุ่งมาอยู่ห่างไม่ถึง 30,000 ปีแสง มันก็จะใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ในการทำลายชั้นโอโซนจนหมดสิ้น และทำให้เกิดมหันตภัยทางธรรมชาติได้ในทันที


Black Holes (หลุมดำ)

หลุมดำคือพื้นที่บนห้วงอวกาศ ที่สนามไฟฟ้าแรงดึงดูดอันทรงพลังที่สุดจะไม่มีความหมายใดๆเลย มันคือพลังงานที่อันตรายที่สุดบนจักรวาล นักดาราศาสตร์ได้คาดการว่ามีหลุมดำกว่า 10 ล้านอันบนจักรวาล

มันสามารถเกิดขึ้นได้ไหม? - ได้ ถ้าหลุมดำได้เดินทางเข้ามาในระบบสุริยะจักรวาลของเรา มันสามารถทำให้โลกของเราหลุดออกจากวงโคจร หรือทำให้ระบบวงโคจรของสวนทางเดิน หรือแม้กระทั่งทำให้ดาวเคราะห์ทุกดวงมุ่งหน้าไปหาดวงอาทิตย์ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร มันก็จะทำให้โลกใบนี้แตกออกเป็นเสี่ยงๆ และทุกชีวิตบนดาวก็ถึงคราวดับสลาย

Solar Flares (การลุกจ้าของแสงอาทิตย์)

การลุกจ้าของแสงอาทิตย์คือการระเบิดอย่างรุนแรงของชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์ ซึ่งส่งผลให้มันปล่อยเอาพลังงาน ที่มากพอในการทำลายชั้นบรรยากาศของดวงดาวเคราะห์ทุกดวง โดยดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งที่ผลิตจำนวนแสงสว่างกว่า 98.6% ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา

มันสามารถเกิดขึ้นได้ไหม? - ได้ โดยหน่วยงานสังเกตุการณ์ของ NASA ได้เคยประจักษ์กับปรากฏการณ์นี้ในปี 2006 โดยมันเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งเกิดขึ้นห่างออกไป 135 ปีแสง โดยพลังงานที่วัดได้ ก็เทียบเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์จำนวน 50 ล้านตัน ซึ่งสามารถกลืนกินโลกของเราทั้งดวงได้ในเพียงแค่พริบตาเดียว

knowing 26 มีนาคมนี้

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว MSN Messenger
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
คิดได้ไงว่าตัวเลขมันบอกอะไร เก่งอ่ะ


_________________
ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
ตอบ หน้า 1 จาก 1
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
  


copyright : forwardmag.com - contact : forwardmag@yahoo.com, forwardmag@gmail.com