˹���á Forward Magazine

ตอบ

M.I.A. : KALA (Back In The Day)
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ M.I.A. : KALA (Back In The Day) 



M.I.A : Kala : Electronic/Alternative Hip-Hop/Dancehall/World Beat (98% : 5/5)

Back In The Day ลำดับถัดมาขอพาท่านผู้อ่านหวนกลับไปทำความรู้จักกับหนึ่งในงานฝากเออร์บัน อินดี้และอิเล็คโทรนิคที่ดีที่สุดอีกครั้งกับ KALA สตูดิโออัลบั้มชุดที่สองของ M.I.A.

รูปแบบดนตรี


ถ้าหากงานชุดแรกอย่าง Arular คือการระเบิดความเกรี้ยวกราดจากการหวนกลับไประลึกถึงมรสุมที่เธอและครอบครัวเคยฟันฝ่าความอยุติธรรมทั้งด้านสังคม เชื้อชาติ ความเจ็บปวดจากสงคราม การเสียดสี เส้นทางชีวิตที่เต็มไปด้วยขวากหนามอย่างเจ็บแสบตลอดจนสะท้อนทัศนคติทางการแมองและวิสัยทัศน์ส่วนตนจากอุดมการณ์พยัคทมิฬลงสู่โลกแห่งเสียงดนตรีผ่านท่วงทำนองอิเล็คโทรนิก้าและอัลเทอเนทีฟแด๊นซ์ที่ระบายมนตร์เสน่ห์ที่หลากหลายของแด๊นซ์ฮอล์ ไบเล่ฟั้งค์ Raggaetonที่ยืนพื้มบนเร็กเก้เจือบอมบา เทคโนและฮิพฮอพตลอดจน Grime ที่นำยูเคการราจดั๊บเสต็ปมาผสานดรัมส์แอนด์เบสส์และอิเล็คโทรแคลชได้อย่างลงตัวเหนือชั้น สำหรับKala ก็เปรียบเสมือนการนำพาจิตวิญญาณของตนหวนสู่วัฒนธรรมที่มีบทบาทหล่อหลอมทุกสิ่งอย่างในชีวิตของเธอขึ้นมาโดยได้รับแรงบันดาลใจจากการเฝ้ามองอุปสรรคของผู้ที่เป็นมารดาในวัยเด็ก สีสันที่สวยงามของวัฒนธรรมพื้นเมืองแบบบอลลีวูดทั้งดนตรี ภาพยนตร์ วิถีชีวิตตลอดจนเรื่องของจิตวิญญาณ การลงลึกไปล้อเลียนความเจ็บปวดของชีวิตในทุกแง่มุมอย่างเจ็บแสบ การจิกกัดวัฒนธรรมทุนนิยมและการเจริญเติบโตจนเกินควบคุมของพาณิชย์โลก ทัศนะทางการเมือง ความเสื้ฃ่อมถอยของสังคมมนุษย์ตลอดจนการทบทวนประสบการณ์ที่สั่งสมในอดีตและหาข้อสรุปบทเรียนชีวิตย่อยๆได้อย่างเข้าใจในแก่นของสัจธรรมโดยจำกัดตัวแทนในการนำเสนอให้ยืนพื้นอยู่ที่อัลเทอเนทีฟฮิพฮอพและอัลเทอเนทีฟแด๊นซ์ซึ่งมีภาคดนตรีอิเล็คโทรนิค เวิลด์และสีสันของความเป็นบอลลี่วูดจำพวกUrumee MelamและSocaพื้นเมืองของอินเดียทางตอนใต้เข้ามาคุมทิศทางในระดับที่สูงทีเดียว ฟังจบแล้วต้องขอโค้งคำนับว่าขนาดงานชุดแรกที่ว่าดีในระดับน่าสะพรึงแล้วเจองานชุดนี้เข้าไปก็มีสะอึกไปแล้วก็แล้วกัน แค่คิดก็สนุกแล้วว่าในอนาคตเธอคนนี้จะเพิ่มขีดพัฒนาการไปได้กว้างไกลถึงระดับไหน



จุดด้อย



สิ่งที่จะทำให้ผู้ฟังบางท่านไม่ชอบคือ "แนวเกินค่ะ" ด้วยความที่ดนตรีของเธอในงานชุดนี้กลั่นกรองออกมาในระดับที่ลึกมากๆรวมถึงงานชุดที่แล้วที่ว่าฟังยากพอตัวแล้วมาเจองานชุดนี้กลายเป็นพ็อพไปเลยทีเดียว อีกประเด็นคือในเรื่องของ "เสียง" ต้องยอมรับนะคะว่าเสียงของเธอจัดอยู่ในระดับที่ต้องเรียกว่า "โคตรน่ารำคาญ" เลยทีเดียว ยิ่งร้อนๆอย่างนี้มาเจอเสียงแหลมแสบโสตขนาดนี้อาจจะมีประสาทเสียได้ กล่าวคือยนอกจากจะเป็นงานที่ฟังได้เฉพาะกลุ่มก็ยังเป็นงานที่ฟังได้เฉพาะช่วงเวลาเท่านั้น สำหรับแฟนๆ M.I.A บางท่านที่ประทับใจงานชุดแรกอาจจะไม่ปลื้มด้วยความที่มันแด๊นซ์ได้ไม่กระจายสะใจเท่าชุดก่อนแต่พวกที่ชอบอะไรดิบๆลึกๆและใต้ดินจัดๆได้มีกรี๊ดแน่นอน



แทร็คเด็ด


สำหรับเพลงที่ส่วนตัวเชื่อว่าต้องถูกใจแฟนเพลงของ M.I.A ที่ชอบงานเต้นรำเก๋ๆใน Arular รวมถึงขาจรและผู้โชคดีหลงมาฟังทั้งหลายแน่นอนว่าต้องเป็น Bamboo Banga (5) แทร็คเปิดอัลบั้มที่แซมเพิ่ล Road Runner สุนทรพจน์ของโจนาธาน ริชแมนในปี1976และเพลง Ilaiyaraja จากภาพยนตร์ฮอลลีวูดของทมิฬในปี91เรื่อง Dalapathi ได้อย่างทรงเสน่ห์สุดๆ ภาคดนตรีเป็นอัลเทอเนทีฟแด๊นซ์ที่วาดโครงสร้างบนซาวนด์เทคโนตบด้วยบีทเต้นรำอิเล็คโทรฮาร์ดเฮ้าส์หนักหน่วงใส่ท่วงทำนอง Grime ที่เป็นแด๊นซ์ฮอลล์ผสานยูเคการาจก่อนจะถ่ายทอดด้วยการนำเสนอสไตล์คลับแด๊นซ์และสรรพสำเนียงฮิพฮอพได้ในชนิดที่เปรี้ยวเก๋ร้ายกาจสุดพลัง ตัวเพลงมีความเป็น Arular สูงที่สุดแล้วในงานชุดนี้ ต่อด้วย Jimmy (4.5/5) ซิงเกิ้ลที่สองของอัลบั้มซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในแทร็คที่บ่งบอกถึงแรงบันดาลใจและจุดกำเนิดการสร้างสรรงานชุดนี้ได้อย่างดี ตัวเพลงเป็นอิเล็คโทรแด๊นซ์-พ็อพผสานยูโรดิสโก้ยุค70และกลิ่นอายความเป็นเวิลด์จากสีสันและวัฒนธรรมบอลลีวูดตลบอบอวนในตัวเพลงโดยแทร็คนี้คัฟเวอร์มาจากเพลง Jimmy Jimmy Aja จากภาพยนตร์เรื่อง Disco Dancer ในปี 1982 ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่จุดแรงบันดาลใจในการเป็นศิลปินที่สำคัญให้แก่ M.I.A เลยทีเดียว ถ้าถามถึงแทร็คที่ส่วนตัวโปรดปรานที่สุดในงานชุดนี้ขอยกให้ Hussel (5) ที่เธอร่วมงานกับ Afrikan Boy เปิดตัวมาเป็นซาวนด์Funk Carrioca ที่ชวนให้นึกถึง Sunshoers จากงานชุดที่แล้วก่อนที่ตัวเพลงจะขยับไปสู่อัลเทอเนทีฟฮิพฮอพที่ผสานความเป็นเวิลด์แบบแอฟริกันเข้าไปเป็นแบ็คกราวนด์คุมทิศทางไต่ระดับไปเล่นกับดนตรีจำพวก Raggaeton ที่จับเอาสรรพสำเนียงฮิพฮอพแร็พมาชนกับเร็กเก้ก่อนที่จะกลบด้วยเทคโนตบด้วยอินดี้อิเล็คโทรคลับแด๊นซ์แรงๆตามด้วยการหยอดมนตร์เสน่ห์ของลูกเล่นกอสเพลแบบฮินดูเข้าไปได้อย่างมีมิติ ฟังยากไปนิดแต่ส่วนตัวประทับใจมากๆเช่นเดียวกับแทร็คที่ร่วมงานกับ Wilcania Mob ใน Mango Pickle Down River (5) ที่ส่วนตัวประทับใจไม่แพ้กันกับฮิพฮอพคลับแด๊นซ์ที่ดิบ อินดี้และเออร์บันจัดๆชนิดที่ฟังแล้วประสาทจะกินด้วยความที่มันใต้ดินจัด ขนมาหมดทั้งซาวนด์อาร์แอนด์บีเทคโน เทิร์นเทเบิ้ลเสียงสแครช ซินธิไซเซอร์ลอยๆ บีทบ็อกซ์ จังหวะจะโคนแบบเวิลด์ตลอดจนสรรพสำเนียงแบบสตรีทฮิพฮอพอันเดอกราวนด์แร็พดำ ดิบ ทมิฬ ไม่หนักหน่วงถึงขั้นฮาร์ดคอร์แร็พหรือฮิพฮอพจำพวกแก๊งค์สทาแต่ก็เล่นเอาหอบเหมือนกับ มันส์มากจนไม่ขอกั๊กคะแนนใดๆ (อนึ่งคนที่ไม่ใช่คอเออร์บันอาจเกลียดแทร็คนี้) อย่างไรก็ตามจะว่าไปก็น่าแปลกที่เพลงที่ประสบความสำเร็จที่สุดในงานชุดนี้ด้วยการได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ครั้งที่51และขึ้นอันดับสูงถึงที่4ในบิลด์บอร์ดชาร์ตซึ่งนับว่าน่าตกใจมากสำหรับศิลปอินอินดี้อย่างเธอคือ Paper Planes (4.5/5) เพลงที่ถ้านับจริงๆคงต้องบอกว่าพ็อพและฟังง่ายที่สุดในงานชุดนี้ตัวเพลงเป็นอัลเทอเนทีฟฮิพฮอพผสานซาวนด์นิวเวฟแบบยุค80และซินธิ์พ็อพน่ารักๆคลอเคลียไปกับท่อนคอรัสกวนๆเก่ๆคิดได้จากการใช้แซมเพิ่ลเพลง Dtraight To Hell ของ The Clash เข้ากับสรรพสำเนียงเวิล์ดแบบอินเดียนพื้นเมืองได้อย่างลงตัว เสียดสีวัฒนธรรมทุนนนิยมเขี้ยวลากดินและสันดานดิบของมนุษย์ที่ยากแท้หยั่งถึงแต่เป็นสัจธรรมได้อย่างเจ็บแสบโดยแท้ ต๊ายยย ทาทาขอบอกว่าเจิดฮ่ะ! อ่า ถึงเวลาปิดรีวิวแล้วส่วนตัวขอเลือก เอ่อ โอเค XR2 (5) มาอำลาคุณผู้อ่านกับเพลงเต้นรำเก๋ๆที่หวนพาคุณผู้ฟังสู่แรงบันดาลใจในยุครุ่งเรืองของดนตรีเรฟช่วงต้นทศวรรษ90ก่อนจะตบด้วยอิเล็คโทรนิค เบรคบีท จังเกิ้ลและฮิพฮอพจนกลายร่างเป็นดรัมส์แอนด์เบสส์ตึ๊บๆหนักหน่วงอย่างที่ได้ยินชนิดครบเครื่องในแทร็คเดียว ยิ่งกว่าแผนภาพวิวัฒนาการมนุษยชาติ

สรุป


หนึ่งในมาสเตอร์พีซของแวดวงอินดี้ฝั่งสหราชอาณาจักร


ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  


ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
http://www.facebook.com/HysteriaCulture

ฝาก Hysteria นิตยสารสำหรับคนเซี่ยนๆด้วยนะคะ

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
ตอบ หน้า 1 จาก 1
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
  


copyright : forwardmag.com - contact : forwardmag@yahoo.com, forwardmag@gmail.com