˹���á Forward Magazine

ตอบ

(Back In The day)Oliver Koletzki : Grobstadtmarchen 2 Part 1
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ (Back In The day)Oliver Koletzki : Grobstadtmarchen 2 Part 1 


http://www.facebook.com/hysteriaculture

http://hysteriaculture.wordpress.com/2013/12/26/back-in-the-day-oliver-koletzki-grobstadtmarchen-2-part-1-electronichousedancetechno-100-55/comment-page-1/#comment-547

Oliver Koletzki : Grobstadtmarchen 2 Part 1 : ELECTRONIC/HOUSE/DANCE/TECHNO (100% = 5/5)

(อัลบั้มท็อป10จากปีที่แล้วของทางเพจ Hysteria นะคะ จากคอลัมน์Myspace#93เคยเขียนไว้ก่อนเปิดบล็อควันนี้ขอหยิบมาลงอีกที)

ถ้าผู้อ่านจะถามถึงอัลบั้มที่บ.ก.นิตยสารHYSTERIAโปรดปรานที่สุด เคารพที่สุดและยกย่องให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดเป็นอันดับหนึ่งประจำจวนจะครึ่งปีแรกของ2012ศกนี้เห็นทีจะหนีไม่พ้นGROBSTADTMARCHEN 2 PART 1 อัลบั้มชื่อเรียกยากและเก๋ไก๋แถบสิ้นใจของ OLIVER KOLETZKI ดีเจและโปรดิวซ์เซอร์แนวเฮ้าส์สุดหล่อจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ที่เป็นอัลบั้มอิเล็คโทรนิคเย็นยะเยือก กรุยกราย สวยสง่า เก๋ลากและมากด้วยรสนิยมเช่นเดียวกับอาร์ทเวิร์คงดงามตระการตาจับใจที่สะท้อนความเลอค่าของชิ้นงานได้ครบถ้วนเสร็จสรรพทุกแง่มุม

ความดีงามของอัลบั้มGROBSTADTMARCHEN 2 PART 1 นี้สำหรับเราเมื่อเทียบกับงานอิเล็คโทรนิคและเฮ้าส์ประมาณเดียวกันหลายๆงานแล้วไม่ต่างอะไรกับประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากน้ำแข็ง – - เยือกเย็น,สะดุดตา,เปี่ยมนตร์สะกดและแน่นอนเมื่อได้ประจักษ์แล้วก็อยากจะรักษาไม่ให้ละลายจากไป

หนึ่งในสิ่งที่หลงรักในงานชุดนี้คือ “ทางเลือก” มากมายที่นำเสนอสู่ผู้ฟังฉีกกรอบความเคยชินของอัลบั้มอิเล็คโทรนิคที่วนไปเวียนมากับลูพที่เล่นกันหลักๆเพียงไม่กี่ลูพ ความหลากหลายจากการยืนพื้นหลักที่เฮ้าส์ไปหาเต้นรำและเทคโนแตกแขนงไปสู่ความเยือกเย็นแบบดนตรีสแกนดิเนเวียแจ๊ซซ์อันเป็นดนตรีอิเล็คโทรนิคแจ๊ชช์รุ่มรวยบนบีทของดนตรีเฮ้าส์เต้นรำกระฉึกกระฉักใน KURZE EINLEITUNG เพลงเปิดอัลบั้มที่ฟังแล้วอดคิดถึง HIRD ไม่ได้ อิทธิพลของความเป็นWORLD MUSICแบบดนตรีพื้นเมืองของโซนอินเดียไปยันตะวันออกกลางใน REISEZEIT ที่ร่วมงานกับJULI HOLZเมื่อจับมาผสานกับแบ็คกราวนด์อิเล็คโทรนิคแล้วสามารถเข้าหมวดงานชิลเอ๊าท์หรือเล้าจ์นดีๆได้เลยทีเดียว ในขณะที่กลิ่นความเป็นนิวเวฟและซินธิ์พ็อพของYOU SEE REDก็นับว่าคืนชีพแด่แรงบันดาลใจยุค80ชนิดเปี่ยมไปด้วยความคารวะทีเดียว มุขแบบโพรเกรสซีฟในTHE DEVIL IN MEที่ชวนให้นึกถึงเดวิด เกตต้าสู่การเหยาะความเป็นเออร์บันจำพวกฮิพฮอพ แจ๊ซซ์และโซลลงไปในFIFTY WAYS TO LOVE YOUR LIVERที่ได้JAKE THE RIPPERมาลงเสียงแร็พก็เปรียบเสมือนการหยิบจับเอายุครุ่งโรจน์ของSOUL II SOULมาผสมผสานกับงานของQUINCY JONESในภาคที่กลายพันธุ์เป็นอิเล็คโทรนิคไม่ได้หรือจะเปรียบกับTHIEVERY CORPORATIONในภาคที่ลดความเป็นทริพฮอพลงก็คงไม่ผิด สำหรับแทร็คที่โปรดปรานที่สุดยกให้แก่ LET ME GO DOWN เพลงเฮ้าส์เต้นรำสูตรสำเร็จที่คุมเราอยู่หมัดตั้งแต่วินาทีแรกความรู้สึกมันเหมือนกับว่าใน4นาทีกว่าๆที่ดำดิ่งกับเพลงนี้แสงตะวันสาดส่องมาที่เราเพียงคนเดียว แค่เสียงเพราะๆลอยละล่องวนไปเวียนมาของMC RAMONแค่นี้ก็สวรรค์ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ปิดท้ายด้วย THE POWER OF RAUSCH อันนี้ออกแนวSPOKEN WORDSเชิงสุนทรพจน์กึ่งแร็พที่คลอไปกับโพรแกรมมิ่งดนตรีเทคโนไม่ซับซ้อน

บางทีสิ่งที่มันเกินคำที่สวยที่สุดที่มนุษย์จะใช้กล่าวสรรเสริญมันก็มีอยู่จริง เอาเป็นว่าถ้าใครชอบงานของดีเจ/โปรดิวซ์เซอร์เพลงเฮ้าส์อย่างเดวิด เกตต้า,SPILLER,MASTER! AT WORKหรือข้ามไปอิเล็คโทรนิคแจ๊ซซ์อย่างHIRDเชื่อว่าต้องชอบOLIVER KOLETZKIท่านนี้ด้วยแน่ๆ ลองฟังแล้วทิ้งความรู้สึกท่องไปกับดนตรีของเขา – - ศิลปะจากภายในที่ซึมออกมาเล่าเรื่องราวอันน่าตื่นตาตื่นใจสู่ปกสอัลบั้มสวยๆภายนอกโดยแท้


ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  


ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
ตอบ หน้า 1 จาก 1
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
  


copyright : forwardmag.com - contact : forwardmag@yahoo.com, forwardmag@gmail.com