คำวิจารณ์และข้อถกเถียง
หลักศีลธรรมจรรยา
โปเกมอนได้รับคำวิจารณ์จากศาสนิกชนของศาสนาคริสต์ ยูดาย และอิสลาม ชาวคริสต์เห็นว่าเกี่ยวกับความลึกลับและรุนแรงของโปเกมอน รวมถึงโปเกมอนวิวัฒนาการของโปเกมอน (ซึ่งเกี่ยวข้องกับทฤษฎีวิวัฒนาการ) ที่กล่าวถึงการกำเนิดของสรรพสิ่งที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ชาววาติกันแย้งว่าโปเกมอนเทรดดิงการ์ด และวิดีโอเกมนั้นมีจินตนาการสร้างสรรค์อย่างเต็มเปี่ยม และไม่มีผลกระทบข้างเคียงในเรื่องหลักศีลธรรมเลย ในสหราชอาณาจักร เกม "คริสเตียน เพาเวอร์ การ์ด" ได้เปิดตัวในปี พ.ศ. 2542 เป็นคำตอบที่ใช้อ้างว่าโปเกมอนเป็นซาตาน เกมนี้ดูคล้ายกับโปเกมอนเทรดดิงการ์ดแต่มีส่วนสำคัญบนการ์ดมาจากคัมภีร์ ไบเบิล ในปี พ.ศ. 2542 กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่อต้านการสบประมาทของชาวยิวได้กดดันให้นินเทนโดทำการ์ดโปเกมอนสำหรับตัวโกลแบท และเมตามอน เพราะการ์ดเหล่านี้บรรยายให้เห็นภาพเหมือนด้านซ้ายของสัญลักษณ์สวัสติกะ หมายถึงการต่อต้านเซมิทีส แม้ว่านินเทนโดจะตั้งใจว่าจะวางขายการ์ดเหล่านี้เฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่นินเทนโดก็มีกำหนดการปล่อยเวอร์ชันอเมริกาเหนือในปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประกาศห้ามนำเกมโปเกมอนและการ์ดเข้าประเทศ โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นการสนับสนุนกลุ่มไซออนนิสม์ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎของชาวมุสลิม โปเกมอนยังถูกกล่าวหาเนื่องจากส่งเสริมการชนไก่ และพวกวัตถุนิยม ในปี พ.ศ. 2542 เด็กชายอายุ 9 ขวบ 2 คน ฟ้องร้องนินเทนโด เพราะเขาอ้างว่าเกมโปเกมอนเทรดดิงการ์ดทำให้เขาติดการพนันงอมแงม
เกี่ยวกับสุขภาพ
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่นถูกส่งเข้าโรงพยาบาลหลังมีอาการลมชักกะทันหัน ซึ่งพบว่าเกิดขึ้นจากการดูการ์ตูนโปเกมอนตอนที่ 38 (ญี่ปุ่น: でんのうせんしポリゴンComputer Soldier Porygon: EP038) เป็นผลให้ตอนนี้ไม่ได้ออกอากาศอีก ในโปเกมอนตอนนี้ จะมีการระเบิดขึ้นและมีแสงสีแดงกับสีน้ำเงินสลับกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีการระบุว่าแสงเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการลมชัก แม้ว่าคน ๆ นั้นจะไม่เคยมีประวัติของโรคนี้มาก่อนก็ตาม จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีสื่อล้อเลียนโปเกมอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยปรากฏการเย้ยหยันในเรื่องเดอะซิมป์สันส์ ตอน Thirty Minutes over Tokyo และเรื่องเซาธ์ปาร์ค ตอน Chinpokomon
ขอบคุณเว็บจ๊าบๆอย่างวิกิพีเดียนะ
ประสาทมากๆเรยงับ เป็นประเด็นทางศาสนากันเลยทีเดียวเชียวแหละ
_________________