สำหรับเดี๊ยน Hard Candy เปรียบเสมือนภาคต่อของ Confessions On A Dancefloor โดยเป็นภาคต่อที่มีการจำกัดภาคดนตรีให้แคบลงรวมถึงก้าวสู่ความเป็นเออร์บันมากขึ้น ภาคการนำเสนอโดยรวมถูกพัฒนาให้เข้าถึงง่ายขึ้นรวมถึงสอดคล้องต่ออุปสงค์ของผู้บริโภคในตลาดกระแสหลักยุคปัจจุบันมากขึ้น โดยภาคดนตรีส่วนใหญ่ยังคงยืนพื้นที่ความเป็นแดนซ์-พ็อพ ดิสโก้และอิเล็คโทรนิคเป็นหลักก่อนจะคลุมทิศทางด้วยภาคดนตรีฮิพฮอพอาร์แอนด์บีและฟั้งค์ที่โดเด่นเป็นโทนเอกของงานชุดนี้เพื่อตอบรับกระแสของดนตรีฮิพฮอพอาร์แอนด์บีซึ่งเป็นที่นิยมไม่เสื่อมคลายในอเมริกา (เอากับเขาจนได้นะคะอีเจ๊)
มาที่บรรดาเพลงที่ถูกเลือกตัดโปรโมตเป็นซิงเกิ้ลกันบ้างเริ่มด้วย 4 Minutes Feat.Justin Timberlake And Timbaland (2.5/5) ซิงเกิ้ลแรกที่เป็นการผสมผสานระหว่างความเป็นแดนซ์พ็อพ ดิสโก้ในแบบฉบับของมาดอนน่าเข้ากับอาร์แอนด์บีฮิพฮอพสไตล์สองหนุ่มที่มาร่วมงานด้วย ผลลัพธ์ออกมาเป็นเออร์บันแดฯซ์พ็อพ ดิสโก้ที่โดเด่นและลงตัวทุกองค์ประกอบฟังแล้วไม่แปลกใจค่ะที่มันจะเป็นปรากฏการณืไปทั่วโลกเนื่องจากความสมควรจะ "ดัง" ในตัวมันมีสูงพอ อย่างสมเหตุสมผลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามยังยืนยันคำเดิมที่เคยเขียนไปในงานรีวิวชุดที่แล้วนะคะว่าซิงเกิ้ลนี้เป็นิงเกิ้ลแรกของมาดอนน่าที่ไม่กระแทกต่อมความรู้สึกใดๆของเดี๊ยนเลยแม้แต่น้อย โดยส่วนตัวถือว่าเป็นการคัมแบ็คที่ซึมเซาจนน่าสลดใจด้วยซ้ำไม่ว่ามันจะได้อันดับ1ไปกี่ประเทศก็ตามเถิด ซิงเกิ้ลถัดไป Give It To Me Feat. Pharrell Williams (3/5) ในรูปแบบยูโรพ็อพเต้นรำเจืออิเล็คโทรนิคผสานการนำเสนอแบฟั้งค์กี้ย์ฮิพฮอพอาร์แอนด์บีในสไตล์ที่ฟาร์เรลล์ถนัดโดยส่วนตัวรู้สึกว่าภาคการนำเสนอเหมือนภาคต่อที่อ่อนกว่าของSorryหนึ่งช่วงตัว ต่อด้วย Miles Away (5) ซิงเกิ้ลล่าสุดที่ภาคดนตรีเปรียบเสมือนการปลุกวิญญาณพ็อพโฟล์คที่เราคุ้นเคยกันดีจากอัลบั้ม Music ให้ผสานชีวิตใหม่เข้ากับความเป็นเออร์บันทั้งบีทเต้นรำแบบสตรีทอารืแอนด์บี แอมเบี้ยนท์ลอยละล่องและอิเล็คโทรนิคได้อย่างลงตัวส่วนตัวคิดว่าเป็นแทร็คที่ดีที่สุดของงานชุดนี้แล้ว เสียดายที่เพลงๆดีๆแบบนี้ไม่ได้รับการโปรมตมากเท่าที่ควรจะเป็น
สำหรับดาวจรัสแสงดวงอื่นๆในอัลบั้ม ที่โดดเด่นที่สุดจนไม่สามารถเลี่ยงที่จะกล่าวถึงได้คงหนีไม่พ้น She's Not Me (4.5/5) ที่แรงจัดทั้งภาคเนื้อหาและมีชั้นเชิงในการผสมผสานดนตรีโดยภาพรวมยืนพื้นที่พ็อพอาร์แอนด์บีเต้นรำเสริมทัพด้วยโอลด์สคูล โซล ฟั้งค์กี้ย์ ดิสโก้ อาร์แอนด์บีกึ่งๆเทคโนไปจนถึงซาวนด์บีทบ็อกซ์ สตรีทอาร์แอนด์บี คลับแดนซ์และซินธ์พ็อพได้อย่างเจิดจรัสสุดๆ เริ่ดมาก ต่อด้วย Heartbeat (4/5) ต๊ายยยยยย กลิ่นจิ๋มน้าไข่หึ่งเชียวค่ะ ภาคดนตรีเป็นยูโรอิเล็คโทรแดนซ์พ็อพที่ดำเนินบทบาทภายใต้โครงสร้างของบีทไลท์เทคโนก่อนจะตบด้วยความเป็นฟั้งค์และบีทฮิพฮอพอาร์แอนด์บีแน่นๆเข้าไปเพิ่มเสน่ห์อย่างถึงขีดสุด สำหรับ Devil Wouldn't Recognize You (3.5/5) ก็เป็นพ็อพอาร์แอนด์บีละเมียดละไมกึ่งบัลลาดสไตล์ทิมบาแลนด์ สำหรับใครที่ชอบเพลง Cry Me A River หรือ What Goes Around...ของจัสตินก็คงจะชอบได้ไม่ยาก (แต่ไม่เหมาะกับหล่อนเลยนะคะอีเจ๊ ให้ตายกลับมาเป็นออริจินัลเหมือนเดิมเถอะ) ปิดท้ายเก๋ๆกับแทร็คเริ่ดๆอย่าง Beat Goes On Feat. Kanye West (5) โอลด์สคูลพ็อพอาร์แอนด์บีเต้นรำผสานอิเล็คโทรพ็อพ ดิสโก้ ฟั้งค์กี้ย โซล ฮิพฮอพและจังหวะแบบมิดเทมโพช่วงยุค80ได้อย่างเหนือชั้นสุดๆ ยังเชียร์ให้เป็นซิงเกิ้ลจนถึงทุกวันนี้นะคะถ้าตัดมานี่กะเทยเตรียมตัวกันเอาไว้ให้ดีนะคะซ่องระเบิดแน่ๆ
แม่มาลัยเราวางคอนเส็ปท์ไว้ให้อัลบั้มชุดนี้เปรียบเสมือนภาคต่อจากงานชุดที่แล้ว The Emancipation Of Mimi นะคะ ดังนั้นภาคดนตรีโดยรวมใน E = MC 2 ก็ยังคงยืนพื้นที่ความเป็นพ็อพอาร์แอนด์บีผสานฮิพฮอพตามธรรมเนียมก่อนจะต่อยอดรสชาติที่หลากหลายทั้งแดนซ์ ฟั้งค์ ดิสโก้ โอลด์สคูล โซล เร็กเก้ บัลลาด แจ๊ซซ์ไปยันกอสเพลได้อย่างมีชั้นเชิง ในระยะยาวนับว่าเป็นภาคต่อที่เหนือขึ้นมาจากงานชุดที่แล้วอักระดับเลยทีเดียว
แม้ว่าส่วนตัวจะไม่คิดว่าเป็นแทร็คที่เด็ดเด้งอะไรแต่ Touch My Body (2/5) ซิงเกิ้ลเปิดตัวของเธอก็สามารถทะยานไปสู่อันดับหนึ่งบนบิลด์บอร์ดชาร์ตได้สร้างสถิติอันดับหนึ่งเป็นเพลงที่18ให้แก่มาลัยเอาชนะราชาร็อแอนด์โรลอย่างเอลวิส เพรสลีย์ไปได้อย่างสง่างาม (งวดหน้า4เต่าทองแก่ระวังไว้ให้ดีนะคะ หึหึหึหึ) ทั้งๆที่ตัวเพลงเป็นพ็อพอาร์แอนด์บีเนิบๆเพราะๆที่หาได้มีอะไรแรงหรือโดเด่นในตัวเองไม่ส่วนตัวขอเดาเอางว่าคงเป็นเพราะบารมีและความประสาทแดกชนะใจจากเอ็มวีล้วนๆ ที่น่าแปลกคือซิงเกิ้ลที่สองอย่าง Bye Bye (5) พ็อพอาร์แอนด์บีบัลลาดที่โดเด่นทั้งภาคเนื้อหาที่กระแทกกระทั้นไปถึงก้นบึ้งของหัวใจและภาคการนำเสนอที่ไพเราะละเมียดละไมในสไตล์ที่เราเคยได้ยินจาก We Belong Together กลับทำอันดับได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น มาที่ซิงเกิ้ลที่สาม I'll Be Loving You Long Time (4/5) ถือว่าเป็นม้ามืดเลยนะคะเนื่องจากคนส่วนหญ่ไม่คาดคิดว่าเธอจะกล้าตัดแต่ส่วนตัวเดียนแอบคิดไว้ตั้งแต่แรกแล้วล่ะค่ะว่าเพลงนี้ต้องได้เป็นซิงเกิ้ลแน่ๆแต่ไม่คิดว่าจะตัดออกมาเป็นซิงเกิ้ลต้นๆ ตัวเพลงเป็นโอลด์สคูลพ็อพโซลอาร์แอนด์บีหวานๆผสานความเป็นอดัลท์คอนเทมโพลารีย์ แจ๊ซซ์แอละโมทาวน์โซลได้อย่างลงตัว เป็นแทร็คที่เพราะที่สุดแทร็คหนึ่งในอัลบั้มเลยทีเดียว จ่อด้วย I Stay In Love (4/5) ซิงเกิ้ลล่าสุด พ็อพโซลอาร์แอนด์บีบัลลาดหวานหยดที่ไพเราะและลงตัวทุกองค์ประกอบ เข้าทางมารายห์และลูกแกะมากๆ
สำหรับแทร็คอื่นๆที่เป็นตัวชูโรงของอัลบั้มสำหรับเดียนคงหนีไม่พ้น Migrate Feat. T-Pain (3/5) แทร็คเปิดอัลบั้ม พ้อพอาร์แอนด์บีเต้นรำผสานซาวนด์ฮิพฮอพอาร์แอนด์บีและจังหวะจะโคนแบบอาราเบียนอาร์แอนด์บีอ่อนๆ แม้ว่าจะไม่ได้โยกแรงถึงขั้นเอาคนฟังตีลังกาตามแต่ก็ชวนขยับไม่หน่อยหากแต่เสียดายอย่างเดียวที่มันควรจะแรงและชัดเจนได้มากกว่านี้ ต่อด้วย Love Story (3.5/5) สโลแจมดาวน์เทมโพพ็อพอาร์แอนด์บีบัลลาดเนิบๆนาบๆ ที่ส่วนตัวรู้สึกไม่ค่อยถุกหูในการฟัง2-3รอบแรกๆเท่าไรแต่ระยะยาวสะท้อนความมีมิติในการนำเสนอรอบด้านออกมาได้ดีพอควร จะตัดเป็นซิงเกิ้ลก็คงไม่ขี้เหร่เท่าไร และแน่นอนค่ะแทร็คนี้ไม่พูดถึงไม่ได้ I'm That Chick (4.5/5) โอลด์สคูลแดนซ์-พ็อพ ดิสโก้สุดเปรี้ยวที่เดี๊ยนสถาปนาตัวเองเป็นแม่ยกเชียร์ให้นังมาลัยมันตัดเป็นซิงเกิ้ลเสียที (อีหมีนี่ก็ลีลาวดีเหลือเกินนะคะที่จะมีผัวไม่เห็นท่ามากแบบนี้เลย) เจ้าแม่บัลลาดเขย่าสามโลกก็เป็นมาแล้วสับรางลงไปเป็นสาวอาร์แอนด์บีก้ได้รับการยอมรับเป็นเบอร์ต้นๆนี่ถ้าทศวรรษหน้าแม่มาลัยทำเก๋ลงไปเป็นแดนซ์ซิ่งควีนแดนซ์กระจายกับเข้าล่ะก็ เจ๊แม่ น้าไคย์ นังบี หนูหอก น้องห่านและอีติ๊ ระวังตัวกันไว้ให้ดีนะคะ หนาวจิ๋มแน่พวกหล่อน หึหึหึหึหึ ปิดอัลบั้มด้วย I Wish You Well (5) บลูส์โซลอาร์แอนด์บีบัลลาดผสานความเป็นไลท์แจ๊ซซ์และคอนเทมโพลารีย์กอสเพลจัดๆพร้อมกับภาคเนื้อหาลุ่มลึกเชิงปรัชญาที่บรรจงร้อยเรียงภาษาออกมาได้ได้อย่างเหนือคำว่าวาทะศิลป์งดงามประณีตสุดๆ ฟังแล้วขนลุกที่มรายห์กลั่นเนื้อหาที่เริ่ดล้ำขนาดนี้ออกมาได้
ต๊ายยย ฟังแล้วแถสำลักค่ะกับ Whatchulookinat (3/5) ซิลเกิ้ลเปิดตัวในแนวพ็อพอาร์แอนด์บีเต้นรำผสานบีทอาร์แอนด์บีฮิพฮอพชนิดกระชากวัยผิดหูผิดตา ต๊ายตาย ขอสารภาพนะคะว่าตอนที่ได้ยินครั้งแรกที่ปล่อยก๊ากออกมาดังลั่นเลยแหมๆๆๆป้าวิทนี่แอบเก๋ลงมาแร็พโย่วเด็ดสะมีย์เช้าจิกตีกับบรรดาสาวอาร์แอนด์บีรุ่นลูกกับเขาด้วยนะคะ หึหึหึหึ เอาเถอะค่ะฟังวนานๆไปก็ติดหูหนึบชนิดลืมไม่ลงทีเดียว เปรี้ยวป่วงมากค่ะป้า ต่อด้วย One Of Those Days (3.5/5) ซิงเกิ้ลที่สองที่เป็นอัพเทมโปพ็อพอาร์แอนด์บีชิลล์ๆใสๆน่ารักผสานโซลหวานๆได้อย่างลงตัวแม้ว่าจะถูกค่อนขอดว่าแลดูป่วยอย่างไรก็ตามถ้ามองในแง่มุมการนำเสนอวิทนีย์ในมุมมองใหม่แล้วจัดว่าลงตัวทีเดียว มาที่ Love That Man (3/5) โอลด์สคูลแดนซ์-พ็อพสวยๆผสานความเป็นโซลในน้ำเสียงและกลิ่นอายฟั้งค์กี้ย์ยุค70เข้ากับอาร์แอนด์บีและดิสโก้ได้อย่างลงตัว บรรดาป้าๆคุณนายแม่ยกทั้งหลายคนชอบได้ไม่ยากน่ะค่ะ สำหรับแทร็คที่ดีที่สุดสำหรับงานชุดนี้คงหนีไม่พ้น On My Own (5) อดัลท์คอนเทมโพลารีย์พ็อพโซลบัลลาดสูตรสำเร็จที่เพียบพร้อมทั้งความทรงพลังและไพเราะติดหูเข้าทางแฟนๆป้าวิทแน่นอนค่ะแม้ว่าจะไม่ได้แผดกังวานเหนือมนุษย์เทากับบัลลาดแล้วๆมาของป้าแต่ก็ขอชมที่สามารถทำออกมาได้เอื้อำนวยศักยภาพทางน้ำเสียงวินาทีปัจจุบันอย่างถึงขีดสุดแถมยังคงความเป้นบัลลาดที่สมบูรณ์แบบเหนือชั้นและคลาสสิคเช่นเดิม อีกแทรคที่โดนใจเป็นการส่วนตัวคงเป็น My Love Feat. Bobby Brown (4/5) แทร็คที่เธอดูเอ็ทคู่กับสามีตาบ็อบบี้ บราวน์ได้อย่างน่ารักน่าฟังทีเดียวภายใต้ภาคดนตรีที่เป็นพ็อพอาร์แอนด์บีใสกิ๊งผสานบีฮิพฮอพและสรรพสำเนียงความเป็นโซลเพราะๆหวานลอยละล่องคุมทิศทางได้อย่างอยู่หมัด ต๊ายยยย ป้านี่วัยรุ่นพอๆกับอีเจ๊แม่ของเดียนเลยนะคะ หึหึหึหึ ปิดท้ายกับ You Light Up My Life (3.5/5) ในณุปแบบอดัลท์คอนเทมโพลารีย์ที่คงความเป็นสแตนดาร์ดพ็อพสูตรเดิมๆของป้าไว้อย่างครบถ้วนแม้ว่าจะไม่ได้เด็ดเด้งเทียบเท่ากับบรรดาสารพัดฉบับคัฟเวอร์ที่ทำออกมาซะเกลื่อนล้มประดาตายแต่พิจารณาในมาตรฐานความเป็นวิทนีย์ก็ถือว่ร้องออกมาได้น่าประทับใจเลยทีเดียว
2 Hearts (4/5) ต๊ายยยย เจ๊ไคย์ของหนูครั้งนี้เปิดตัวได้เปรี้ยวเกิดเริ่ดแรงฤทธิ์มากเชียวค่ะกับภาคดนตรีที่จับเอาพ็อพร็อคมาผสานเข้ากับอิเลคโทรพ็อพ แกลมร็อคและแดนซ์ได้อย่างเหนือชั้นสุดๆผลลัพธ์ออกมาเป็นแดนซื-พ็อพอ่อนๆผสานอิเล็คโทรนิคและแกลมร็อคอ่อนๆสุดเซ็กซี่ที่แม้ว่าจะไม่ได้เด้งถึงขั้นอิเล็คโทรแกลมแต่ก็ออกมาน้องๆGoldfrappเหมือนกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของเจ๊ไคย์หลังจากผ่านมรสุมร้ายๆในชีวิตด้วยการฉีกออกไปทำภาคดนตรีและการนำเสนอที่ค้อนข้างแปลกใหม่พอตัวสำหรับไคย์ลีย์เลยทีเดียว ซึ่งก็ให้ผลลัพธ์ออกมามีชั้นเชิงเป็นที่น่าประทับใจสำหรับเดี๊ยนมากๆ ไม่เสียเวลาที่รอคอยค่ะ หึหึหึหึ ต่อด้วยด้วย In My Arms (3.5/5) ที่เห็นแววเป็นซิงเกิ้ลตั้งแต่การฟังรอบแรกๆ พ็อพเต้นรำโชยกลิ่นอายเรทรแบบยุค80ที่ทรงเสน่ห์ตลบอบอวนทั่วเพลงมากๆรวมถึงผสานเอาจังหวะมิดเทมโพอ่อนๆและตบด้วยเสียงสังเคราะห์ ซินธิไซเซอร์และบีทอิเล็คโทรนิคเข้ากับกลิ่นอายของฟั้งค์กี้ย์อ่อนๆปลิวว่อนเป็นแบ็คกราวนด์ทั่วเพลง เริ่ด มาที่ All I See (4/5) กรี๊ดดดดดดๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่น่าเชื่อว่าเจ๊ไคย์จะกล้าทำเพลงนี้ออกมารวมถึงกล้าตัดเป้นซิงเกิ้ลด้วยนะคะ พ็อพอาร์แอนด์บีใสๆคลุมทิศทางโดยโซลหวานๆลอยละล่อง แอร๊ยยยย มะกันมากๆๆๆๆ แม้ว่าแฟนๆไคลีย์ส่วนใหญ่จะไม่ชอบแต่ส่วนตัวเดี๊ยนชอบมากๆเลยทีเดียว สำหรับซิงเกิ้ลล่าสุด The One (4) ต๊ายยยยย กะเทยมากกกกกกกกก ตัวเพลงเป็นอิเล็คโทรแดนซ์-พ็อพที่เสริมทัพด้วยบีทไลท์เทคโนกับยูโรแดนซ์แรงๆผสานซินธิไซเซอร์และตบด้วยกลิ่นดิสโก้สมัย70-80จางๆปิดท้ายได้อย่างสง่างาม แม้ว่าฟังแล้วอาจจะไม่ได้โฉ่งฉ่างซ่องระเบิดแบบซิงเกิ้ลแดนซืกระจายหลายๆเพลงก่อนหน้านี้ของเจ๊แต่กพิสูจน์ตัวเองได้ดีว่าเก๋จิกแบบลึกๆชนิดที่ถ้าเผลออาจะฆ่า Heartbeat ของอีเจ๊แม่เดี๊ยนตายไปเลยทีเดียว
สำหรับแทร็คที่โดดเด่นที่สุดในงานชุดนี้คงหนีไม่พ้น Like A Drug (5) ที่ภาคดนตรีเป็นอิเล็คโทรแดนซ์พ็อพล่อกะเทยแรงๆพร้อมกับการหยอดจริตจก้านสรรพสำเนียงกรีดกรายกระตู้วู้ในแบบฉบับที่อีเจ๊ไคย์คนเดียวในโลกเท่านั้นที่ทำเพลงแบบนี้ได้ เข้าทางสาวกเจ๊แบบสุดๆนะคะ ถ้าตัดเป็นซิงเกิ้ลล่ะก็ฟลอร์แตกซ่องกระจุยแน่นอนค่ะ พวกกะเทยฟังแล้วต้องลงไปดิ้นเร่าๆเพราะโปรเจสเตอโรนเทียมมันร้อนรนจนอักเสบแน่นอน หึหึหึ ปิดท้ายกับ Cosmic (4/5) บัลลาดสวยๆในแบบฉบับโอลสคูลพ็อพออเครสตร้าบัลลาดผสานบีทอาร์แอนด์บีและอารมณ์โซลหวานๆสุดอลังการได้อย่างลงตัว ขอเชียร์ให้เป็นบัลลาดขึ้นหิ้งเพลงต่อไปของบรรดานางโชว์ในอัลคาซ่าร์เลยค่ะ
สรุป
แม้ว่าจะไม่ได้เก๋ในระดับเดียวกับ Light Years ไม่ได้แดนซ์แรงเว่อร์ฟลอร์แตกเหมือน Fever และไม่ได้กรีดกรายไฮโซเทียบเท่ากับ Body Language ก็ตามแต่การบูรณาการงานเหล่านั้นเข้าด้วยกันพร้อมกับหยอดจริตจก้าน ชั้นเชิงและความเป้นไคลีย์ในปัจจุบันลงไปให้ผู้ฟังใน X นั้นก็ยังคงเปี่ยมด้วยเสน่ห์และมนต์ขลังแบบไม่มีตก ถือว่าเป็นการเริ่มต้นการผจญภัยบทใหม่ที่ดีสำหรับชีวิตของเธอภายใต้ท้องฟ้าอันแสนสดใสงดงามอีกครั้ง (No More Rain!)
ในส่วนของงานอัลบั้มนี้ก็แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่เด่นชัดขึ้นเช่นกัน เริ่มด้วย Out Of Under (3.5/5) อดัลท์คอนเทมโพลารีย์พ็อพบัลลาดที่มีสูตรสำเร็จเป็นเมนท์สตรีมที่ติดหูและครบเครื่องในแบบฉบับของบริทนีย์จัดว่าร้องได้ไพเราะและลงตัวมากๆ ส่วน Blur (3.5/5) ก็เป็นตัวแทนที่ดีของบริทนีย์ในยุคที่ก้าวสู่ความเป็นเออร์บันเต็มตัวยิ่งขึ้น สโลแจมดาวน์เทมโพพ็อพอาร์แอนด์บีบัลลาดสุดเซ็กซี่และติดหูกระชากใจหนึบหนับจัดว่าเป็นอีกหนึ่งตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีของบริทนีย์ทีเดียว และทิ้งท้ายได้อย่างน่าประทับใจกับ My Baby (5) บัลลาดที่เธอร่วมงานกับวาเนสซ่า คาร์ลทันที่ภาคดนตรีงดงามระยิบระยับบนความเป็นสแตนดาร์ดเพียโนพ็อพบริสุทธิ์ไปกันได้ดีกับการใช้เสียงสังเคราะห์ที่ช่วยหยอดสรรพสำเนียงการร้องแบบกึ่งแอมเบี้ยนท์ลอยๆที่นุ่มนวลแต่ทรงพลังกรีดความรู้สึกเข้ามาขับขานภาคเนื้อหาบริสุทธิ์ทรงพลังกึ่งกอสเพล ซึ่งหลอมรวมถ่ายทอดความรักอันปราศจากเงื่อนไข ความอบอุ่นและความรู้สึกบริสุทธิ์งดงามออกมาจากจิตวิญญาณของคุณแม่ผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ได้อย่างเกินคำว่าน่าประทับใจ
เรื่องเพลงนี่ก็ไม่รู้จะไปติอะไรนะคะเนื่องจากอัลบั้มชุดนี้เป็นงานรวมฮิตคือทุกแทร็คล้วนแต่แข็งและก็ประสบความสำเร็จในการโลดแล่นบนชาร์ตเพลงนะคะ แต่อย่างไรก็ตามมีใครรู้สึกบ้างมั้ยคะว่ารวมฮิตชุดนี้มันดูป่วงๆประสาทๆยังไงก็ไม่รู้เป็นเครื่องยืนยันได้ดีนะคะว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควรที่คริสทิน่าจะออกงานรวมฮิตแม้ว่าจะมีเพลงมากมายถึง16เพลงก็ตามเถิด ไม่รู้ต้นสังกัดคิดกันยังไงนะคะถึงได้ปฏิบัติกับอีติ๊นาของเดี๊ยนราวกับเป็นตัวจำอวดตั้งแต่งานชุด Back To Basic แล้วโปรโมตได้ตลกมากๆจากอัลบั้มเรโทรดีๆทำให้กลายเป็นอะไรที่ถ่อยสนิทได้โดยปริยายขอคารวะฝ่ายการตลาดอีติ๊จากใจค่ะ และแน่นนอนนะคะฝ่ายการตลาดยังสืบสานเจตนารมณืในการโปรโมตงานรวมฮิตชุดนี้ได้อย่างต่ำช้าเช่นเดิม ยกตัวอย่างเช่น Keep Gettin' Better ช่วงแรกนับว่ากระแสดีเกินคาดเลยทีเดียวตัวเพลงดูมึนๆเบลอๆเอ๋อขนาดนั้นยังเปิดตัวได้สูงถึงอันดับ7หลังจากสัปดาห์เปิดตัวก็อันตรธานหายไปเสร้ออยู่ที่ท็อป30อย่างรวดเร็วหลังจากนั้นต้นสังกัดกะดหลกกะลากับนางติ๊นาจอมขี้เกียจจึงจะเกี่ยวก้อยกันมาโปรโมต นี่พวกหล่อนคิดว่ากำลังนั่งแคะหนมครกกันอยู่รึไงคะ แอร๊ยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ยังค่ะยังด่าไม่จบแล้วไม่รู้จะอะไรนักหนานะคะจะออกรวมฮิตทั้งทีแต่เพลงดีๆอย่าง Can't Hold Us Down กับ The Voice Within'ก็ช่างใจกว้างตัดออกไปได้ ไม่ทราบว่ามันงกตามประเพณีหรือว่าจะเอาเก็บไว้ยัดในรวมฮิตชุดหน้าคะหล่อน อันนี้ก็ไม่ทราบนะคะสุดแท้แต่อีติ๊ไม่สามารถเดาเจตนารมณืมันได้แต่อย่างไรก็ตามเห็นด่ามายาวๆเนี่ยจริงๆก็ไม่ปฏิเสนะคะว่าแอบชื่นใจอีนังติ๊จนออกนอกหน้าที่อย่างน้อยก็ยังมีแก่ใจออกมาออกงานคั่นเวลาให้แฟนๆหายคิดถึงบ้าง ถึงงวดนี้จะดูประดักประเดิดไปนิดแต่ก็ยังดีกว่าทะลึ่งหายหน้าหายตาไปสิงอยู่ในอเวจีแล้วปล่อยให้แฟนๆรอแล้วรอเล่าอนย่างไม่มีจุดหมายอย่างช่วงStripped กับ Back To Basic อ่ะค่ะ
รูปแบบเพลง+แทร็คเด็ด
แหมมมม จะว่าไปมันก็เด็ดทุกแทร็คนั่นแหละค่ะก็เพราะว่ามันเป็นรวมฮิตนี่คะ ตั้งแต่แทร็คแรกยันแทร็คสุดท้ายสามารถบ่งบอกถึงความหลากหลายทางภาคดนตรี พัฒนาการและความไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ตลอดการผจญภัยอันแสนหฤหรรษ์บนถนนสายดนตรีของศิลปินนางนี้ได้ดีเลยทีเดียว เริ่มต้นกับบรรดาซิงเกิ้ลจากงานชุดแรกอย่าง Genie In A Bottle (5) ซิงเกิ้ลแรกในแบบฉบับอาร์แอนด์บี พ็อพที่โดเด่นลบนภาคการนำเสนอที่ใช้สรรพสำเนียงแบบโซลในการถ่ายทอดขับขานพร้อมกับภาคเนื้อหาและจริตจก้านอันหาตัวจับยากยิ่ง หรือจะเป็น What A Girl Wants (3/5) ทีนพ็อพบับเบิ้ลกัมจังหวะสนุกๆที่ท่อนคอรัสสามารถจับคุณได้อย่างอยู่หมัดตั้งแต่รอบแรกที่ฟังไปจนถึง Come On Over (All I Want Is You) (4/5) พ็อพแดนซ์สไตล์ทีนดิว่าน่ารักๆที่เจือความเป็นอาร์แอนด์บีจางๆและทีนพ็อพดิสโก้สดใสๆได้อย่างลงตัว นับเป็น3แทร็ค3สไตล์ที่นอกจะจะโดดเด่นจนดาหน้าขึ้นไปถึงอันดับหนึ่งบนบิลด์บอรืดชาร์ตเป็น3เพลงแรกของเธอแล้วยังจัดว่าเป็นตัวแทนที่ดีสำหรับพ็อพสไตล์ทีนดิว่าปลายทศวรรษ90เลยทีเดียว เช่นเดียวกับ I Turn To You (4/5) พ็อพบัลลาดสุดทรงพลังที่เจือความเป็นอาร์แอนด์บี โซลและอดัลท์คอนเทมโพลารีย์ไว้ในสัดส่วนที่พอเหมาะแม้ว่าจะพลาดอันดับ1ไปอย่างน่าเสียดายแต่ก้ถือว่าเป็นหนึ่งในเพลงที่ประสบความสำเร็จในฐานะการเป็นที่จดจำของผู้ฟัง เป็นมิตรกับสถานีวิทยุรวมทั้งเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีสำหรับจำพวก Easy Listening หรือ Forever Love จะสามารถเห็นได้ว่าเพลงนี้ไม่เคยห่างหายไปจากการเป็นแทร็คลิสต์ในบรรดาอัลบั้มดังกล่าวเลยแม้กาลเวลาจะผ่านไปร่วมเกือบสืบปีก็ตาม
สำหรับช่วงคั่นเวลาที่คริสทิน่าได้ไปร่วมงานกับศิลปินท่านอื่นๆนั้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่า2เพลงที่โดดเด่นที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Nobody Wants To Be Lonely (4/5) ละทินพ็อพบัลลาดเซ็กซี่หวานหยดและทรงพลังที่เธอดูเอ็ทคู่กับริคกี้ย มาร์ทินได้อย่างไพเราะน่าประทับใจและแน่นอนจะขาดเพลงนี้ไม่ได้ Lady Marmalade (5) อีกหนึ่งงานเพลงที่ดีและยิ่งใหญ่ที่สุดของเธอซึ่งร่วมงานกับมิสซี่ เอเลียต/พิ้งค์/ลิล คิมและมายาในซาวนด์แทร็คประกอบภาพยนตร์เรื่อง Moulin Rouge ซึ่งระบาดไปทั่วโซนเกย์ซอยสองสีลมยันบ้านผีโสเภณีซอย4พัทยาใต้ โดยตัวเพลงได้ทำการคัฟเวอร์ปลุกวิญญาณมาจากต้นฉบับเก่าของ3ป้าLabelleและเนรมิตต้อนรับศักราชใหม่ด้วยการบีบความเป็นพ็อพอาร์แอนด์บีเต้นรำผสานบีทอาร์แอนด์บีฮิพฮอพที่โดเด่นบน4น้ำเสียง4สรรพสำเนียงที่แตกต่างไม่ว่าจะเป็นอาร์แอนด์บีหวานๆนุ่มๆสไตล์มายา เสียงดิบกร้าวทรงเสน่ห์กึ่งร็อคกึ่งโซลในแบของพิ้งค์ไปจนถึงการหยอดท่อนแร็พเจ็บๆเก๋ๆของลิล คิมและโดเด่นที่สุดกับการใช้ลูกเล่นการ้องแบบบลูส์อายส์โซลที่เข้าทางคริสทิน่า ก่อนจะปิดฉากได้อย่างนาประทับใจด้วยการที่ป้าอึ่งมิสซี่ เอเลียตร่ายชื่อให้แต่ละนางโชว์ลูกเล่นเอกลักษณ์เฉพาะตัวชนิดที่ไม่มีใครยอมใคร แรงขนาดนี้จึงไม่ประหลาดใจที่จะขึ้นอันดับ1เป็นเพลงที่4ของคริสทิน่า (และหวังว่าจะไม่ใช่เพลงสุดท้ายนะคะ อันดับหนึ่งสี่เพลงมาร่วม8ปีแล้วหล่อน ทำอะไรซักอย่างสิคะ)
ต่อกันด้วยบรรดาซิงเกิ้ลจากอัลบั้ม Back To Basic งานที่เธอหวนกลับสู่ภาคดนตรีที่เป็นแรงบันดาลใจอย่างโซล บลูส์และแจ๊ซซ์พร้อมทั้งปรุงแต่งเข้ากับจังหวะจะโคนร่วมสมัยทั้งฟั้งค์ ฮิพฮอพ อาร์แอนด์บี แดนซ์ลงสู่พ็อพได้อย่างลงตัวพิสูจน์ได้ใน Ain't No Other Man (5) ซิงเกิ้ลแรกเพลบงเก่งประจำอัลบั้ม มาที่งานบัลลาดอย่าง Hurt (3.5/5) ที่ภาคดนตรีเปนเมนท์สตรีมพ็อพบัลลาดผสานบลูส์อายส์โซลยุค50 แม้ว่าส่วนตัวจะคิดว่าเะอเข้าได้ไม่ถึงความดิบสดในการถ่ายทอดภาคดนตรีดังกล่าวเท่าที่ควรแต่มองในแง่ของการนำเสนออย่างมีมิติสมยุคแล้วก็ถือว่าทำได้ดีไปอีกแบบเลยทีเดียว (ส่วนตัวไม่ชอบเพลงนี้เลยค่ะไม่รู้จะหน้ามืดรีบตัดออกมาทำไม) และโดเด่นสุดๆกับ Candy Man (5) คืนบรรยากาศหวานๆช่วงยุค30ด้วยดนตรีสวิงแจ๊ซซ์ที่ชวนให้นึกถึงศิลปินสวิงในยุคนั้นอย่างบิลลี่ ฮอลิเดย/เอลล่า ฟิทซ์เจอรัลด์/แอนนิต้า โอเดย์ไปจนถึงเค้านท์แบสซี่เลยทีเดียว เริ่ดมากๆ
สำหรับ4เพลงสุดพิเศษที่เธอมอบให้แฟนๆในงานชุดนี้นอกจากจะเป็นไปตามรรมเนียมอัลบั้มรวมฮิตที่ควรมีการคืนกำไรให้แก่ผู้ฟังแล้วยังเปรียบเสมือนเมนูเรียกน้ำย่อยก่อนที่จะไปพบกันแบบเต็มๆในงานชุดหน้าเปรียบเสมือนสัญญาณเตือนให้แฟนๆเตรียมตัวในการปรับระดับหูไปกับการเปลี่บนแปลงภาคดนตรีครั้งใหม่ของเธออีกครั้งกับก้าวใหม่ในคอนเส็ปท์ Futuristic เริ่มด้วย Keep Gettin' Better (3/5) ไทเทิ่ลแทร็คที่เพิ่งตัดเป็นซิงเกิ้ลล่าสุดกับภาคดนตรีอิเล็คโทรพ็อพแดนซ์ผสานบีทดิสโก้ตึ้บๆ ยูโรพ็อพและลูกเล่นแบบอิเล็คโทรแกลมอ่อนๆในแบบฉบับที่ชวนให้นึกถึง Goldfrapp/มาดอนน่า/เกว็น สเทฟานีและแน่นอนไคลีย์ มิโน้กแม้ว่าช่วงแรกๆจะรู้สึกแปลกๆกับมันแต่นานๆไปแล้วปฏิเสธไม่ลงว่าติดหูจนหลอนเข้าไปในหัวเลยทีเดียว มาที่ Dynamite (3/5) อิเล็คโทรพ็อพเต้นรำเสริมทัพด้วยความเป็นคลับแดนซ์ ฟั้งค์แลัจังหวะดั๊บอ่อนๆได้อย่างลงตัวนับว่าเป็นอีกแทร็คที่ติดหูได้ง่ายเช่นกัน ส่วนอีสองแทร็คเป็นการหยิบซิงเกิ้ลเก่าๆของเธอมาปรุงแต่งต้อนรับยุคอนาคต เริ่มที่ Genie 2.0 (4/5) ซึ่งเป็นภาค Futuristic ของ Genie In A Bottle ซิงเกิ้ลแรกและอันดับหนึ่งเพลงแรกของเธอในแนวแดนซ์-พ็อพ เทคโนจัดๆเจืออิเล็คโทรนิคเข้มข้น เฮ้าส์ลอยๆ แทรนซ์และยูโรดิสโก้อวกาศตึ้บๆ นับว่าเป็นการปรุงแต่งที่เก๋เข้าขั้น ปิดท้ายด้วย You Are What You Are (Beautiful) (4.5/5) ต๊ายยยย เปลี่ยนแปลงชนิดพลิกตีนเลยทีเดียวค่ะจากพ็อพบัลลาดทรงพลังมาเป็นดีพเฮาส์อิเล็คโทรนิคแอมเบี้ยนท์บัลลาดลอยๆก่อนจะนำบีทไลท์เทคโนและไซคลีเดลฃิกแบบเจือจางมาเนรมิตสภาพแวดล้อมแบบเคลติคขลังๆเย็นๆ อู๊ยยย ฟังแล้วขนลุกนึกว่าเอ้นย่าหนีตายมาร้องอิเล็คโทรนิคนะคะเนี่ย เริ่ดมาก
แม้ว่าจะไม่ได้สร้างความประทับใจเท่าที่ควรแต่เมื่อฟังภาพรวมของอัลบั้มทั้งชุดแล้วต้องนับว่าซิงเกิ้ลแรก Come On Over (2.5/5) เป็นการเลือกเปิดตัวที่บ่งบอกภาพรวมของงานชุดนี้ได้อย่างดีเลยทีเดียวกับภาคดนตรีคันทรีย์พ็อพร็อคจังหวะสนุกๆเจือกีตาร์โฟล์คบลูส์ใสๆเพราะๆที่แม้ว่าการนำเสนอจะดูแปร่งๆพิกลแต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าเพราะติดหูรวมถึงเป็นแทร็คที่แสดงอิทธิพลของความเป็นคันทรีย์ในตัวงานออกมาได้อย่างชัดเจนมากกว่าหลายๆแทร็ค สำหรับผู้ที่ประทับใจงานบัลลาดสไตล์เจสซิก้าคงจะชอบ Remember That (3/5) ได้ไม่ยาก พ็อพบัลลาดที่ภาคการนำเสนอและเรียบเรียงดนตรีคงความเป็นคันทรีย์ในแบบเดียวกันกับชาไนญ่า ทเวน/เฟธ ฮิลและแคร์รีย์ อันเดอร์วู้ดเพียงแต่ว่าในแนวทางของเจสนี่ความเป็นพ็อพจะสูงโด่ชนิดที่กลบกลิ่นคันทรีย์จางๆในตัวเพลงมิดไปเลย ต่อด้วย Still Beautiful (3/5) ต๊ายยยย พ็อพคันทรีย์จังหวะสนุกๆน่ารักเชยลากตามธรรมเนียมคันทรีย์นั่นแหละค่ะแต่ส่วนตัวแล้วจัดว่าเป็นแทร็คที่เพราะติดหูและโด่นมากๆเลยทีเดียว แทร็คถัดไป When I Loved You Like That (3.5/5) เมนท์สตรีมพ็อพบัลลาดมฃที่ผสานลูกเล่นของการเรียบเรียงดนตรีงดงามระยิบระยับในแบบฉบับคันทรีย์ โฟล์คและบลูส์ลงไปแต่งแต้มยกระดับความไพเราะได้อย่างดีทีเดียว
แทร็คที่ดีที่สุดสำหรับงานชุดนี้เดี๊ยนขอยกให้ Pray Out Loud (4/5) เมนท์สตรีมคันทรีย์พ็อพบัลลาดติดกลิ่นอดัลท์คอนเทมโพลารีย์และพ็อพร็อคเชยๆกอสเพลอ่อนๆที่มีสูตรสำเร็จอันไพเราะติดหูจากท่อนคอรัสและภาคเนื้อหาสะท้านใจผนวกเข้ากับน้ำเสียงทรงพลังหวานหยดที่ทุกองค์ประกอบสานเสน่ห์และเอกลักษณ์ในการนำเสนอเพลงคันทรีย์ตามธรรมเนียมออกมาได้อย่างเหนือชั้น มาที่ Man Enough (3.5/5) คุมคนฟังอยู่หมัดกับพ็อพโฟล์คคันทรีย์เพราะๆผสานบลูส์เหงาๆ ร็อคจางๆและน้ำเสียงโซลสุดทรงพลัง จัดว่าเป็นแทร็คบัลลาดอีกแทร็คที่น่าสนใจและโดดเด่นออกมามากกว่าแทร็คบัลลาดเอือ่ยๆน่าเบื่ออีกค่อนอัลบั้ม ปิดท้ายด้วย Do You Know Feat. Dolly Parton (3/5) ไทเทิ่ลแทร็คที่ร่วมงานกับระดับราชินีคันทรีย์อย่างป้าดอลลี่ พาร์ทันโดยส่วนตัวไม่ปฏิเสธความโดดเด่นและความไพเราะค่ะคันทรีย์พ็อพโฟล์คบัลลาดผสานบลูส์ร็อคสวยๆละเมียดละไมที่ทั้งคู่ร้องออกมาได้เพราะเอาเรื่องเลยทีเดียว หากแต่ส่วนตัวแอบผิดหวังนะคะ แหม ได้ร่วมงานกับเจ้าป้าราชินีลูกทุ่งตัวจริงแล้วทำไมงานมันถึงออกมาได้แกนๆแบบนี้ล่ะคะเจสเอ๋ย?ยิ่งเรื่องเสียงนี่ไม่ต้องพูดถึงเลยค่ะไปกันคนละทิศละทางเลยทีเดียวอีเจสอาศัยเรนจ์เสียงพ็อพดิว่าทรงพลังตะโกนแผดแว๊ดๆๆๆๆๆๆขโมยซีนเป็นซีลิน ดิออนเลยทีเดียวส่วนเจ้าป้าก็ร้องซะหลบเสียงหลานเต็มที่เลย ฟังๆไปก็ตลกดีเหมือนกัน ออกมากลายเป็นเพราะแบบเพลียๆป่วงๆไปซะได้
แน่ล่ะคะคงไม่มีแทร็คไหนเหมาะที่จะหยิบมาเปิดงานได้ดีไปกว่า So What (3/5) ซิงเกิ้ลเปิดตัวที่เป็นพ็อพร็อคกวนๆผสานบีทเต้นรำ อัลเทอเนทีฟและอิเล็คโทรนิคป่วงๆที่ผลลัพธ์ออกมาดนใจวัยรุ่นจนยอดโหลดถล่มทลายจนทะยานไปปรากฏตัวที่อันดับ3 ณ บิลบอร์ดชาร์ตก่อนจะก้าวไปสู่อันดับหนึ่งได้อย่างงดงามสร้างสถิติอันดับหนึ่งเพลงที่2หลังจากLady Marmaladeในปี2001ที่เธอต้องไปแชร์เครดิตกับอีก3นางที่เหลือน่ะค่ะ ส่วนตัวต้องขอเรียนตามตรงนะคะว่าเป็นอีกหนึ่งซิงเกิ้ลที่เหนือความคาดหมายเดียนมากๆเพราะส่วนตัวคิดว่าออกจะธรรมดาไปจนถึงแลดูไม่มีอะไรมากมายด้วยซ้ำแต่กลับประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจ ต๊ายยย น่าเห็นใจซิงเกิ้ลดีๆเพลงอื่นอย่างพวกMost Girl/There You Go/Just Like A Pill อะไรพวกนี้นะคะ หึหึหึหึ มาที่ Sober (4/5) ที่วางไว้เป็นซิงเกิ้ลที่สองกับภาคดนตรีอัลเทอเนทีฟพ็อพร็อคบัลลาดที่ผสานอารมร์ฮาร์คร็อค พั้งค์และลูกเล่นการนำเสนอที่ให้อารมณ์กรั๊นจ์แบบNirvanaอ่อนๆ ฟังแล้วนึกถึง Long Way To Happy ในงานชุดที่แล้วขึ้นตะหงิดๆแต่อย่างไรก้ตามเพราะชนะเลิศค่ะ อีกแทร็คที่เดี๊ยนเดาว่ามีแววเป็นซิงเกิ้ลคือ Please Don't Leave Me (3/5) พ็อพร็อคผสานโฟล์คใสๆที่ติดหูชะงัดตั้งแต่รอบแรกที่ฟังใครที่ชอบเพลงเก่าๆของเธอแบบ Who Knew/Leave Me Alone (I'm Lonely)/Walk AwayหรือSave My Lifeคงจะชอบเพลงนี้กันได้ไม่ยาก
ย่อหน้าอุทิศให้ในส่วนของงานบัลลาดซึ่งเป็นไฮไลท์ที่โดเด่นมากๆของงานชุดนี้ ประเดิมความไพเราะกันด้วย Crystal Ball (4.5/5) ที่คุมคนฟังอยู่หมัดด้วยภาคดนตรีเรียบง่ายแต่ประณีตงดงามด้วยการปูพื้นด้วยความเป้นพ้อพโฟล์คใสกระจ่างบริสุทธิ์กรีดกรายด้วยอารมณ์คันทรีย์เจือจางเรียบง่ายแต่อยู่หมัด ต๊ายยยย นี่หล่อนทำเพลงสอนมวยอีเจสได้เริ่ดมากๆค่ะ หรือจะเป็น I Don't Believe You (4/5) อดัลท์คอนเทมโพลารีย์เมนท์สตรีมพ้อพบัลลาดผสานสรรพสำเนียงโล อาร์แอนด์บี โฟล์คและร็อคอย่างพอเหมาะสูตรสำเร็จเดียวกันกับที่ได้ยินใน Nobody Knows นั่นแหละค่ะ แทร็คถัดไป Mean (5) กรี๊ดดดดดดดดดๆๆๆๆๆๆๆๆเริ่ดสุดฤทธิ์จตัวเพลงเป็นโอลด์สคูลโมทาวน์พ็อพโซลอาร์แอนด์บีบัลลาดเพราะที่เปิดตัวด้วยกีตาร์บลูส์เข้มๆก่อนจะต่อยอดสู่ความเป็นบลูส์โซลคันทรีย์ฟั้งค์หนักๆผสานพ็อพโฟล์คหรูและบิ๊กแบนด์อลังการได้อย่างมีมิติ เพราะมากๆ และปิดท้ายอัลบั้มได้อย่างโดดเด่นสุดๆกับ Glitter In The Air (5) สแตนดาร์ดเพียโนพ็อพบัลลาดบริสุทธิ์ยืนพื้นแต่งแต้มด้วยความประณีตแบบฟล์คสวยๆก่อนจะเสริมทัพด้วยความเป็นแจ๊ซซ์ โซล อาร์แอนด์บีตามแบบฉบับของพิ้งค์ แอร๊ยยยย เรียบง่ายแต่ไพเราะชนิดที่เล่นเอาคนฟังจุกไปหลายนาทีเลยทีเดียว เริ่ดมากๆๆๆๆๆๆๆๆ
ลงความเห็นกันหลายเสียงรวมทั้งเดี๊ยนด้วยนะคะว่างานชุดนี้เป็นงานที่ดีทั้งในแง่ของพัฒนาการ ความแปลกใหม่และคอนเส็ปท์ในการนำเสนอตัวงานอันเด่นชัดหากแต่ขาดความสมูทและอารมณปะติดปะต่อในการฟังไปอย่างน่าเสียดายเนื่องจากทั้ง2แผ่นนี่เป็นอะไรที่คนละชั้วกันชนิดเล่นเอาคนฟังปรับประสาทหูรับไม่ทันเลยทีเดียว ใน I Am... ส่วนตัวขอยอมรับนะคะว่ามีพัฒนาการในการนำเสนอรอบด้านทั้งมิติในภาคดนตรี ชั้นเชิงในการใช้เสียงที่สูงขึ้นมากๆรวมถึงความไพเราะประณีตและละเมียดละไมจนเข้าขั้นน่าประทับใจอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว งานนี้คอดิว่าบัลลาดมีกรี๊ดค่ะแต่อย่างไรก็ตามถ้าฟังในช่วงที่ประสาทไม่แข็งล่ะก็มีสิทธิ์สลบคาสเตอริโอได้แน่นอน มาที่อีกแผ่น Sasha Fierce ที่เอาใจขาแดนซ์ (แน่สิยะ ลองอีบีกล้าทำบัลลาดล้วนหมด16แทร็คล่ะก็กะเทยสาวกหล่อนต้องพร้อมใจโดดตึกกันแน่ๆ หึหึหึหึ) สำหรับเดียนคิดว่าภาคการนำเสนอด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียวฟังไปฟังมาแล้วรู้เลยว่าเป็นงานลองผิดลองถูกแถมเป็นซาวนด์ทดลองแบบประดักประเดิดขาดความลงตัวและทิศทางในการนำเสนอเพลงเต้นรำที่ทรงพลังในแบบที่บียอนเซ่เคยทำได้ในก่อนหน้านี้น่ะค่ะ คืดมันดูไม่ค่อยเป็นออริจินัลเท่าไรอ่ะค่ะ โชคดีนะคะที่เมื่อเอาเนื้องานโดยรวมมาประเมินแล้วยังช่วยๆอุดรูรั่วได้มิดอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตามต้องยอมรับนะคะว่าภาคการนำเสนอยังไม่ลงตัวจนน่าประทับใจในแบบเดียวกับศิลปินอาร์แอนดืบีที่ออกอัลบั้มคู่หลายอื่นๆอย่าง Speakerboxx....ของ Oustkast/Sweat&Suitของเนลลีย์ไปจนถึงงานของดิว่าในสังเวียนเดียวกันอย่าง Back To Basic ของคริสทิน่า อากิเลร่าที่ทำออกมาได้ลงตัวและกลมกลืนในระดับที่เรียกความน่าฟังกว่ามาก
รูปแบบเพลง+แทร็คเด็ด
สำหรับแผ่นแรก I Am... ให้ภาพรวมออกมาเป็นงานอดัลท์คอนเทมโพลารีย์อาร์แอนด์บี พ็อพบัลลาดเพราะๆละเมียดละไมตามธรรมเนียมดิว่าบัลลาดนุ่มลึกทรงพลังอลังการ ที่เรียกว่าเป็นอาร์แอนด์บี พ็อพเนื่องจากเนื้องานมีความเป็นพ็อพสูงขึ้นและโดเด่นขึ้นมากจนน่าตกใจลบความทรงจำเกี่ยวกับภาคการนำเสนอแบบโซลฟูลอาร์แอนด์บีเนิบนาบฟังยากจากงานชุดก่อนๆไปเลยเนื่องจากทิศทางในงานชุดนี้เป็นอดัลท์คอนเทมโพลารีย์บัลลาดที่ยังคงสรรพสำเนียงแบบอาร์แอนด์บีและโซลจากความเป็นคนผิวสีของบียอนเซ่อยู่ เปิดงานด้วย If I Were A Boy (4/5) ซิงเกิ้ลแรกที่เป็นพ็อพอารืแอนด์บีบัลลาดโครงสร้างเรียบง่ายสานด้วยการถ่ายทอดด้วยน้ำเสียงแบบบลูส์โซลนุ่มละมุนคอไปกับภาคเนื้อหาที่ทรงพลังเชือดเฉือนกรีดขั้วหัวใจสตรีทั้งโลกเลยทีเดียว เริ่ด มาที่ Halo (5) แทร็คที่สร้างความประทับใจให้เดี๊ยนมากที่สุดในงานชุดนี้กับงานอดัลท์คอนเทมโพลารีย์บัลลาดเจือความเป็นคลาสสิคและเมนท์สตรีมพ็อพหวานๆอลังการลงไปแยืนพื้นได้อย่างดีก่อนจะตบอารืแอนด์บีและโซลติดกอสเพลเข้าไปเสริมทิศทางให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ถือ ว่าเป็นการนำเสนอภาคดนตรีของบียอนเซ่ในมุมมองใหม่ที่มีมิติสูงขึ้นอย่างเห้นได้ชัดเลยทีเดียว อีกแทร็คที่น่าจับตามองคงจะหนีไม่พ้น Ave Maria (5) อดัลท์คอนเทมโพลารีย์อาร์แอนด์บีพ็อพบัลลาดเพราะๆที่โดเด่นด้วยภาคดนตรีคลาสสิคอารืแอนด์บี สแตนดารืดเพียโนพ็อพบริสุทธิ์และอารมณ์กอสเพลขลังๆเหนือสิ่งอื่นใดน้ำเสียงที่อบอุ่นนุ่มนวลทรงพลังบาดลึกสุดๆ ต่อด้วย Broken-Hearted Girl (3.5/5) น่าจะถูกใจแฟนๆบียอนเซ่ไปจนถึงคนที่ชอบบัลลาดของเลโอน่า ลูอิส/เดลทา ก พ็อพโซลอาร์แอนด์บีบัลลาดทรงพลังที่ผสานอารมณืคลาสสิคอารืแอนด์บี ไลท์แจ๊ซซ์และบลูส์โซลลงมาได้งดงามระยิบระยับกับท่อนคอรัสที่ไพเราะตามสูตรสำเร็จดิว่าบัลลาดมาก
ในส่วนของ Sasha Fierce เป็นการนำเสนออีกด้านที่ดุดันและเปรี้ยวปราดขึ้นบนดนตรีเต้นรำหลากหลาที่ไม่ได้ยืนพื้นที่ความเป็นอาร์แอนด์บีดังเดิมหากแต่ปรับเข้าหาความหลากหลายกับอารฒณืแดนซ์-*พ็อพผสานอาร์แอนด์บี ฮิพฮอพ ฟั้งค์ ดิสโก้ อิเล็คโทรนิค เทคโนไปจนถึงสรรพสำเนียงเร็กเก้แดนซ์ฮอลล์ที่ได้ยินกันใน Single Ladies (Put A Ring On It) (3/5) ซิงเกิ้ลแรกที่อัดอย่างละนิดอย่างละหน่อยที่ได้กล่าวมาข้างต้นเว้นแต่ดิสโก้กับเทคโนที่ไม่มีให้เห็นนะคะ ฟังๆแล้วนึกถึงGet Me Bodiedในงานชุดที่แล้วอยู่เหมือนกันเห็นป่วงๆแบบนี้แต่ฟันอันดับหนึ่งบิลด์บอร์ดเพลงล่าสุดให้เะอไปแล้วนะคะ ต๊ายยยยยย สมควรจะเลิกเชื่อถือชาร์ตนี้ได้แล้ว แทร็คถัดไป Radio (3/5) ต๊ายยยย ฟังแล้วฮาค่ะใครจะไปคิดว่าจะได้ยินหล่อนทำพ็อพเต้นรำอิเล็คโทรนิคแบบนี้ให้ฟังโดยตัวเพลงใส่ควาสมเป็นเออร์บัน ฟั้งค์ ดิสโก้และเทคโนอ่อนๆในส่วนผสมที่พอเหมาะแต่เดี๊ยนว่าพอหล่อนเป็นคนร้องแล้วมันออกมาไม่ค่อยเหมาะเท่าไรเลยค่ะ พูดจริงๆนะคะมันดูไม่ใช่เธออ่ะบี มาที่ Diva (4.5/5) กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จะต้องระเบิดเปรี้ยงในคลับแน่นอนค่ะ ฮิพฮอพอารืแอนด์บีคลับแดนซ์แรงๆผสานเออร์บันแดนซ์พ็อพจัดๆ กิ๊บเก๋ล่อกะเทยมากๆถ้าตัดมาล่ะก็มีหวังกรุงลงกา(เทย)แตกแน่นอน อีพวกกะเทยฮิพฮฮพแร็พโย่วจิกฝรั่งอย่าแม่อีบิดหนีในบอร์ดเราฝึกเซิ้งกันไว้ให้ดีนะคะ หึหึหึหหึ จะว่าไปเพลงนี้เสียงหล่อนคล้ายน้องห่านในPon De Replay มากๆแอร๊ยยยเพลงเริ่ดแล้วแต่อย่าวอนน่าบีได้มั้ยคะนังบี ต่อด้วย Sweet Dreams (3.5/5)แดนซ์-พ็อพ เทคโนสวยๆติดกลิ่นฟั้งค์กีย์อ่อนๆจัดว่าเป็นอีกแทร็คที่ติดหูชะงัด น่าตัดเป็นซิงเกิ้ลอยู่นะคะ
สรุป
โดยส่วนตัวแล้วใน I Am สำหรับเดี๊ยนคืองานคัมแบ็คที่ยิ่งใหญ่ระดับดิว่าจากเธอ ในขณะที่ Sasha Fierceเป็นงานเต้นรำตามประเพณีที่เธอทำออกมาเอาใจแฟนเพลงขาแดนซ์จัดว่าเป็นของแถมเล่นๆขำๆ ที่ต่อยอดความเหนือชั้นในแทร็คแรกได้สมศักดิ์ศรีเลยทีเดียว
งานเพลงของอลิช่าส์ คียส์ใน As I Am ยังคงยืนพื้นอยู่ที่ความเป็นพ็อพโซลอาร์แอนด์บีผสานบลูส์ แจ๊ซซ์ ฟั้งค์และคลาสสิคเช่นเดียวกับ2อัลบั้มที่ผ่านมา หากแต่ได้ลดทอนบทบาทของภาคความเป็นเออร์บันดิบๆหม่นๆลงและหยอดความเป็นพ็อพเข้าไปแทนที่ค่อนข้างมาก ผลลัพธ์ออกมาเป็นอัลบั้มแบล็คมิวสิคที่หวานละมุนนุ่มหูและเพิ่ขอบเขตความฟังง่ายขั้นไปอีกระดับและไม่ดิบกร้าวจนเล่นเอาผู้ฟังแถบหอบอีกต่อไป ถือว่าเป็นย่างก้าวใหม่ที่นำพาพ้นงานของตนเองและเพลงแนวโซลอาร์แอนด์บีฟังยากให้เข้าสู่ความเเป็นสากลมากขึ้นอย่างน่าประทับใจเลยทีเดียว
เริ่มต้นด้วย No One (4/5) ซิงเกิ้ลเปิดตัวในแบบฉบับพ็อพโซลอาร์แอนด์บีละเมียดละไมกึ่งบัลลาดติดกลิ่นฟั้งค์และบีทฮิพออพอ่อนๆผสมกันเป้นเนื้อเดียวได้อย่างนวลเนียนมากๆ แม้ว่าส่วนตัวในช่วงแรกๆจะรู้สึกว่าธรรมดาเกินกว่าจะเป็นซิงเกิ้ลเปิดตัวของศิลปินระดับอลิช่าส์ คียส์แต่ในระยาวติดใจในความสวยงามของภาคดนตรีที่ประณีตและไพเราะติดหูจัดๆ ต่อด้วย Wreckless Love (4/5) ที่ชวนให้นึกถึง Heartburn งานจากชุดที่แล้ว โอลดืสคูลฟั้งคโซลอาร์แอนด์บีผสานบลูส์ สวิงและสแตนดาร์ดแจ๊ซซ์ได้อย่างลงตัวฟังแล้วได้อารมณืเพลงพ็อพโซลสมัยยุคโมทาวน์อย่างมาก เช่นเดียวกันกับ The Thing About Love (4.5/5) บลูส์โซลอาร์แอนด์บีบัลลาดเจือความเป็นสแตนดาร์ดเพียโนแจ๊ซซ์และคลาสสิคเมนท์สตรีมพ็อพส่วนผสมเดียวกันกับบัลลาดในยุค50ของป้าซาร่าห์ วอห์นดิว่าแจ๊ซซืชื่อก้องโลกไล่ลงมาจนถึงช่วงยุค60-70นั่นแหละค่ะ เป็นหนึ่งในแทร็คที่ไพเราะอลังการที่สุดในอัลบั้ม Superwoman (4/5) บลูส์โซลอาร์แอนด์บีบัลลาดความหมายเริ่ดๆที่ภาคการนำเสนอชวนให้นึกถึง A Woman's Worth จากงานชุดแรก Song In A Minor เรียกได้ว่าเป็นภาคต่อของกันและกันได้เลยหากแต่เพลงนี้มาในรูปแบบที่พ็อพกว่ามากก็เท่านั้น
Lesson Learned Feat. John Mayer (4.5/5) กรี๊ดๆๆๆๆๆมันต้องเริ่ดอยู่แล้วล่ะค่ะเพราะว่าได้สามีเดี๊ยนอย่างจอห์น เมเยอร์สุดหล่อน่ารักมากถึงมากที่สุดมาร่วมงานด้วย งานนี้จึงเป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างความเป็นบลูส์โซลอารืแอนด์บีในแบบฉบับอลิช่าผสานเข้ากับบลูส์ร็อคเข้มๆโฟล์คและคันทรีย์หม่นๆสไตล์จอห์น เมเยอร์ งานนี้ก็ไม่รู้นะคะว่าจะนิยามออกมาเป็นศัพท์ทางดนตรีว่าอะไรเพราะว่านี้มันก็เข้าขั้นจะน้องๆบลูส์กราสแล้วนี่ถ้าใส่บลูส์ที่ดิบกว่านี้เหยาะคันทรีย์และร็อคเข้าไปให้จัดจ้านกว้าที่ได้ยินล่ะก็อีอลิช่ากลายร่างแน่ๆค่ะ หึหึหึ แทร็คถัดไป Tell You Something (Nana's Reprise) (5) นี่ไม่พูดถึงไม่ได้นะคะ อดัลท์คอนเทมโพลารีย์พ็อพโซลอาร์แอนด์บีหวานนุ่มอบอุ่นที่เหยาะความเป็นพ็อพร้อคอ่อนๆเข้าไปเพิ่มความไพเราะและมนตขลังของตัวเเพลงให้เกิดความน่าประทับใจอย่างถึงขีดสุดเลยทีเดียว พ็อพที่สุดและเพราะที่สุดในชีวิตการทำงานของเธอแล้ว ปิดอัลบั้มอย่างทรงพลังด้วย Sure Looks Good To Me (5) ที่ภาคดนตรีเป็นบลูส์โซลอาร์แอนด์บีบัลลาดเสริมทัพด้วยความเป็นแจ๊ซซ์ คลาสสิคและกอสเพลได้อย่างมีชั้นเชิงพร้อมกับภาคเนื้อหาและการขับขานสุดเชือดเฉือนใจปิดมหากาพย์บทที่3อำลาผู้ฟังได้อย่างสง่างาม
ใน Good Girl Gone Bad ริฮานน่าได้ลดบทบาทของภาคดนตรีแบบเร็กเก้แดนซ์ฮอลล์จากงาน2ชุดที่แล้วลงและคงเหลือไว้เฉพาะสรรพสำเนียงก่อนจะขยับเข้าสู่ความเป็นพ็อพมากขึ้นโดยภาคดนตรียืนพื้นที่มีความเป็นพ็อพอาร์แอนด์บีผสานฮิพฮอพและแดนซ์ก่อนจะต่อยอดสู่ความเปนบัลลาด ซอฟต์ร็อค อิเล็คโทรนิค อคูสติคแลบะเทคโนเป็นต้น นับว่าเป็นย่างก้าวทดลองที่ประสบความสำเร็จล้นหลามเลยทีเดียว
Don't Stop The Music (5) ฟังแล้วตกใจมากๆๆๆค่ะ เพราะส่วนตัวไม่คิดว่าจะได้ยินเธอทำเพลงเต้นรำที่แข็งในระดับนี้ออกมาได้ตัวเพลงเป็นแดนซ์พ็อพ เทคโนที่ผสานดิสโก้และเออร์บันได้อย่าลงตัวสุดๆ ฟังแล้วซูฮกค่ะ เป็นเพลงที่ล่อกะเทยที่สุดแล้วในชีวิตการทำงานของเธอ เริ่ด ต่อด้วย Shut Up And Drive (3/5) ซิงเกิ้ลที่สองที่ภาคดนตรียืนพื้นที่ซอฟต์ร็อคผสานบีทเต้นรำแบบอิเล็คโทรพ็อพแดนซ์จางๆน่ะค่ะ แม้ว่าจะไม่ได้ลงตัวมากมายหรือดีจนถึงขั้นแปะป้ายแต่ก็ถือว่าเป็นเพลงที่เท่ห์และแปลกใหม่พอตัวสำหรับเธอเลยทีเดียว มาที่ Push Up On Me (3.5/5) เออร์บันอิเล็คโทรพ็อพแดนซ์เก๋ๆที่ใส่บีทอาร์แอนด์บีและนำซาวนด์อิเลคโทรนิอคมาวาดความเป็นดิสโก้อย่างเหนือชั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเพลงเต้นรำที่น่าสนใจมากๆแทร็คหนึ่งเลยทีเดียว น่าตัดเป็นซิงเกิ้ล สลับมาฟังเพลงช้ากันบ้างดีมั้ยคะขอแนะนำ Hate That I Love You Feat.Ne-Yo (4/5) อคูสติคพ็อพอาร์แอนด์บีบัลลาดเนียนๆเตจือความเป็นโซลหวานๆคุมทิศทางได้อย่างอยู่หมัด คออาร์แอนด์บีต้องถูกใจแน่ๆเพราะมากๆ หรือจะเป็น Good Girl Gone Bad (3/5)ไทเทิ่ลแทร็ค พ็อพอาร์แอนด์บีกึ่งบัลลาดความหมายดีๆเจือบีทกีตาร์อคูสติคแกร่งๆเท่ห์ๆลงไปได้อย่างมีเสน่ห์ ภาคเนื้อหาเยี่ยม! และจะไม่พูดถึงไม่ได้กับ Take A Bow (3/5) พ็อพอาร์แอนด์บีบัลลาดในเดอลุกซ์อิดิชั่นที่จัดว่าเธอร้องได้เพราะและเข้าถึงอารมณ์เลยทีเดียว ความสมบูรณ์แบบในตัวเพลงมีสูงพอๆกับพัฒนาการในการนำเสนอและความเป็นมิตรกับหูผู้ฟังทุกคลื่นวิทยุ ไม่แปลกใจที่มันจะดัง สำหรับแทร็คที่โดเด่นที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Umbrella Feat. Jay-Z (4/5) ซิงเกิ้ลเปิดตัวอัลบั้มกับภาคดนตรีพ็อพอาร์แอนด์บีเต้นรำผสานฮิพฮอพแรงๆที่เปนกระแสและปรากฏการณืไปทั่วทุกมุมโลกน่ะค่ะ เป็นอีกหนึ่งแทร็คที่ความดังแทรกซึมไปถึงระดับรากหญ้าโดยแท้
เปิดงานได้อย่างมีเสน่ห์สุดๆกับ Bleeding Love (5) พ็อพอาร์แอนด์บีบัลลาดเนื้อหายอดเยี่ยมที่โดเด่นบนการใช้ลูกเล่นและการให้มิติของเสียงในรูปแบบกึ่งๆอาร์แอนด์บีโซลโหยหวนที่ยกระดับภาคเนื้อหาที่เชือดเฉือนและท่อนคอรัสที่บรรจงนำเสนออกมาได้ติดหูเข้าขั้นอัจฉริยะเลยทีเดียว ส่วนตัวเป็นหนึ่งในแทร็คที่ปลื้มและฟังบ่อยที่สุดแทร็คหนึ่งในปีนี้เลยนะคะ แทร็คถัดไป Whatever It Takes (4.5/5) อดัลท์คอนเทมโพลารีย์เมนท์สตรีมพ็อพเย็นๆผสานความเป็นอาร์แอนด์บี คลาสิคและตบท้ายด้วยอารมณ์ความเป็นโซลจากการประสานเสียงแบบกอสเพลเข้ามาเสริมทัพได้อย่างลงตัวนับว่าเป็นแทร็คที่มีมิติและไพเราะติดหูเข้าขั้นแนวหน้าของงานชุดนี้เลยทีเดียว ต่อด้วย Homeless (3.5/5) ต๊ายยยย ฟังอินโทรมานี่นึกถึงI Don't Wanna Cryของนังมาลัยเพื่อนสาวงเดียนลอยมาแต่ไกลเลยทีเดียวค่ะ ตัวเพลงเป็นเมนท์สตรีมพ็อพโซลอาร์แอนด์บีบัลลาดที่เจือความเป็นบลูส์โซลหม่นๆดิบๆในน้ำเสียงและภาคดนตรีลงไปการนำเสนอแบบนี้ทำให้คิดถึงโอลด์สคูลบัลลาดแบบมารายห์ในยุคแรกๆมากๆ เช่นเดียวกันกับ Here I Am (4/5) บลูส์โซลอาร์แอนด์บีบัลลาดผสานเข้ากับอดัลท์คอนเทมโพลารีย์เมนท์สตรีมสแตนดาร์ดพ็อพเพียโนหวานละมุนพร้อมกับการโชว์พลังเสียงได้เริ่ดอลังการมากๆ(แล้วก็มารายห์มากๆพอกันค่ะ) สลับมาฟังอะไรน่ารักๆสดใสๆกันบ้างดีมั้ยคะนี่เลย Angel (4/5) อดัลท์คอนเทมโพลารีย์อาร์แอนด์บี พ็อพใสๆที่ติดหูชะงัดตั้งแต่รอบแรกที่ได้ยิน เป็นสูตรสำเร็จในโลกพ็อพและอารืแอนด์บีที่ขุดมาใช้ได้ผลทุกยุคสมัยชนิดไม่มีวันตายเลยนะคะ หึหึหึหึหึ สำหรับแทร็คที่เดียนประทับใจมากที่สุดในSpiritคงจะหนีไม่พ้น Better In Time (5) อีกหนึ่งเพลงเก่งจากเธอที่ภาคดนตรีเป็นพ็อพอาร์แอนด์บีบัลลาดที่เดินท่วงทำนองอย่างสง่างามบนท่วงทำนองของสแตนดาร์ดพ็อพเพียโนสวยๆก่อนจะผสานเมโลดี้ย์โซลฟูลอาร์แอนด์บีหวานละมุนลอยละล่องควบคุมทิศทางได้อย่างอยู่หมัด ประทับใจถึงขั้นที่ไม่รู้ว่าจะต้องนั่งฟังไปอีกกี่รอบถึงจะเพียงพอกับความอิ่มเอมใจจากความไพเราะอบอุ่นและเนื้อหากรีดแทงหัวใจขนาดนี้ ปิดท้ายกับ The First Time Ever I Saw Your Face (4/5)บลูส์โซลอาร์แอนด์บีบัลลาดผสานอารมณ์คอนเทมโพลารีย์เมนท์สตรีมพ็อพบัลลาดก่อนจะบีบความหวานลงไปด้วยท่วงทำนองของไลท์แจ๊ซซืเพียโนและอารมณ์คลาสสิคโซลฟูลอาร์แอนด์บีได้อย่างมีชั้นเชิง (นังมาลัยบินมาฉีกยิ้มอีกแร๊ววว)
เมื่อปี1999เราได้รู้จักเธอครั้งแรกจาก Genie In A Bottle ซิงเกิ้ลดังตีตลาดโลกกระเจิงพร้อมกับภาพลักษณ์สาวน้อยผมบลอนด์สวยใสผู้ถ่ายทอดบทเพลงแนวพ็อพบับเบิ้ลกัมติดหูติดตลาดบริโภคง่ายตามกระแสนิยม เรารู้จักทุกเพลงฮิตของเธอดีไม่ว่าจะเป็น What A Girl Wants/I Turn To You/Come On Over/Lady Marmalade ฯลฯ รวมถึงรู้จักเธอดีในฐานะทีนดิว่ารวมถึงชื่อที่สื่อขนานามให้ต่างๆนานาไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งของบริทนีย์ สเปียรส์ หรือ มารายห์วอนนาบี เป็นต้น แต่แล้วเมื่อได้มีโอกาสมาทำความรู้จักกับเธออีกครั้งในStrippedคิดว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเคยสัมผัสจากผู้หญิงคนนี้มันเปลี่ยนไปมากทั้งแนวเพลงที่มาพร้อมหับพัฒนาการขึ้นไปอีกหลายระดับชนิดก้าวกระโดดแบบผิดหูผิดตาเช่นเดียวกับภาพลักษณ์และภาคการนำเสนอบทบาทความเป็นศิลปินของเธอที่ฉีกต่างออกไปจากรูปแบบเดิมๆโดยสิ้นเชิง โดยภาคดนตรีในอัลบั้มนี้ได้สลัดความเป็นพ็อพบับเบิ้ลกัมออกอย่างหมดจดแล้วเบนเข็มมายืนพื้นที่ความเป็นพ็อพอาร์แอนด์บีที่ต่อยอดสู่การผสมผสานทางดนตรีที่หลากหลายด้วยฮิพฮอพ ร็อค โซล ละทิน แจ๊ซซ์และกอสเพลลงสู่พ็อพได้อย่างลงตัวจนกลายเป็นเอกภาพที่น่าทึ่ง ที่เชื่อว่าหลายคนที่ได้ทำความรู้จักกับงานชุดแรกของเธอเมื่อได้ลองฟังงานชุดนี้แล้วคงจะต้องหันกลับไปมองเธอและประเมินค่าเสียใหม่โดยสิ้นเชิง
Can't Hold Us Down Feat. Lil' Kim (4/5) ซิงเกิ้ลถัดไป สุดยอดค่ะเพลงนี้ อาร์แอนด์บีฮิพฮอพแรงๆบนภาคเนื้อหาที่ว่าด้วยการเรียกร้องสิทธิของสตรีเพศรวมถึงเป็นการตั้งคำถามเบื้องลึกแก่สังคมกลายๆต่อศักดิ์ศรี ทัศนคติและสถานภาพของเพศหญิงแถมสื่อหัวสียังเม้าท์กันว่าเพลงนี้อีติ๊ตั้งใจจะมอบให้เอมิเน็มกับเฟร็ด เดิร์สซี้เก่าแต่ชาติปางก่อนโดยเฉพาะเลยทีเดียว สำหรับแร็พเพอร์รับเชิญก่อนหน้านี้ต้นสังกัดได้เลือก "อีฟ" ไว้ในลิสต์ช่วงแรกๆน่ะค่ะก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็นลิล คิม ด้วยเหตุผลที่ว่าช่วงนั้นเจ๊คิมเราคั่วกับสก็อท สทอร์ทโปรดิวซ์เซอร์หลักในอัลบั้มนี้ของอีติ๊อยู่แล้วไหนชีจะเป็นซี้ย่ำปึ้กกับนางติ๊นาตั้งแต่ร่วมทำโปรเจ็กต์เลดี้ มาร์มาเลดด้วยกันอีก ถึงขั้นออกมาด่าอีพิงค์ว่าถ้าหล่อนยังเห่าใส่ติ๊นาที่น่ารักของฉันอีกแม่จะตามไปแหกเยี่ยวรดถึงหน้าบ้านหล่อนจริงๆด้วย ว่าแล้วสบโอกาสงามอีเจ๊คิมก็เลยเล่นใช้เส้นซะเลย (ใช้เส้นหมี่ดำซะด้วยนะคะ หึหึหึหึ) ก็ไม่ผิดหวังค่ะทำสถิติท็อป20บนบิลด์บอร์ดให้เจ๊คิมถ้าจำไม่ผิดรู้สึกจะได้ที่12นี่แหละและทำสถิติท็อป5บนเกาะอังกฤษอีก ไม่น่าล่ะรีบเสนอตัวเชียะ
The Voice Within' (4.5/5) ซิงเกิ้ลปิดตัวในรูปแบบพ็อพบัลลาดบนท่วงทำนองหวานหูอลังการแบบเมท์สตรีมออเครสตร้าแบบฉบับบัลลาดดิว่ายุค90ตบด้วยอารมณ์โซล โกธิคและกอสเพลอย่างมีชั้นเชิง ปิดท้ายการโปรโมตงานคุณภาพชุดนี้ได้อย่างสง่างาม
แทร็คอื่นๆ
Make Over (3/5) แม้จะถูกค่อนขอดว่ามีส่วนคล้ายกับ Overload ของ Sugababe อยู่มาก แต่ก็ต้องยอมรับนะคะว่าในแง่ของการสื่ออามร์ ความเข้าถึงตัวเนื้อหาและความแปลกใหม่นี่ถือว่าติ๊นาทำได้ดีเลยทีเดียว ตัวเพลงยืนพื้นที่พ็อพร็อคผสานอินดี้ แดนซ์ พั้งค์รวมถึงกลิ่นอายอันเดอกราวนด์ได้อย่างลงตัว แม้ว่าความชัดเจนยังจะไม่เข้าขั้นแต่ส่วนตัวแล้วชอบนะ มาที่ Loving Me 4 Me (4/5) อาร์แอนด์บีพ็อพหวานๆเย็นๆที่เคลือบด้วยกลิ่นอายไลท์แจ๊ซซ์และคลาสสิคอาร์แอนด์บีได้อย่างกลมกล่อมบนภาคเนื้อหาที่ระบายนิยามส่วนตัวของคำว่า "รัก" ออกมาได้อย่างมีวาทธศิลป์และสลวยสวยงามทุกตัวอักษร ในขณะที่ Walk Away (3.5/5) เป็นการถ่ายทอดความปวดร้าวและตัดพ้อตัวเองบนภาคดนตรีพ็อพอาร์แอนด์บีผสานบลูส์โซลหม่นๆได้อย่างลงตัว โดยคงความประณีตและชั้นเชิงในการใช้ภาษาได้สละสลวยไม่แพ้กัน ต่อด้วย Get Mine,Get Yours (3/5) ก็เป็นพ็อพอาร์แอนด์บีเต้นรำที่ตอบโจทย์ภาพลักษณ์สาวแสบของคริสทิน่าในช่วงนั้นรวมถึงภาคเนื้อหาที่สะกิดใจประชสชนลัทธิ Free Will กับ One Night Stand ไม่มากก็น้อยแม้ว่าจะแลดูไม่ค่อยลงตัวแต่ภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งที่สัมผัสมาตั้งแต่ต้นอัลบั้มก็สามารถประคับประคองผู้ฟังให้ร่วมหฤหรรษ์ไปกับเพลงนี้ได้ไม่ยาก
มารายห์ได้ฉีกตัวเองจากแนวพ็อพบัลลาดเมนต์สตรีมที่สร้างชื่อเสียงและความสำเร็จให้เธออย่างมหาศาลจากอัลบั้มแรก โดยที่อัลบั้มนี้เธอนำเสนอดนตรีในรูปแบบของแนวอาร์แอนด์บี โซล เสริมทัพด้วยดนตรีเต้นรำ กอสเพลและกลิ่นอายแบบบลูส์ โดยภาพรวมของงานยังคงยืนพื้นอยู่ที่ความเป็นพ็อพและดิว่าบัลลาดเช่นเดียวกับอัลบั้มแรกแต่บรรยากาศของเนื้องานต่างกันอยู่พอสมควร (จะเรียกว่าโดยสิ้นเชิงคงไม่ถึงขั้นนั้น) นอกจากนี้เธอยังได้ขึ้นแท่นเป็นโปรดิวซ์เซอร์ของอัลบั้มอีกด้วยหลังจากที่ต้นสังกัดไม่ยอมมอบโอกาสนี้ให้ตอนอัลบั้มแรก นอกจากนี้เจ๊มาลัยยังดื้อแพ่งใส่ต้นสังกัดสุดฤทธิ์ด้วยการไม่รับพิจารณาโปรดิวซ์เซอร์ชุดเก่าจากอัลบั้มแรกตามที่ต้นสังกัดแนะนำโดยครั้งนี้เจ๊ลงมือบินไปจิก Walter Afanasieft คนที่โปรดิวซ์เพลง Love Takes Time จากอัลบั้มชุดแรกให้กับเธอในขณะที่เขากำลังร่วมทัวร์อยู่กับ Michael Boltonเป็นผลสำเร็จจนได้ค่ะ (เลือดดิว่าแรงตั้งแต่เป็นลุคกี้เลยนะตัว) ก่อนที่จะถลาไปหนีบเอา David Cole และ Robert Civillies จากค่าย C&C Music เพื่อมาโปรดิวซ์เพลงอาร์แอนด์บีเต้นรำเก๋ๆที่ได้ยินกันในอัลบั้ม (เพลงเต้นรำในที่นี้ไม่ใช่แดนซ์จ๋านะคะ) ก่อนจะรวมพลังเฮือกสุดท้ายไปลาก Carole King ผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับอัลบั้มแรกของเธอ (แนวเพลงบัลลาดกลิ่นอายยุค50น่ะค่ะ) มาร่วมแต่งเพลงสุดทรงพลังอย่าง If Its Over ด้วยค่ะ (ป้านี่มีบุญนะคะได้ร่วมงานกับอีมาลัย เพราะแม่ผีเสื้อสมุทรยุคนี้ชีเป็นโรคกลัวการร่วมงานกับไม้ป่าเดียวกันน่ะค่ะ)
Emotion (5) ซิงเกิ้ลแรกและเป็นไทเทิ่ลแทร็ค จากการที่ต้นสังกัดไม่ไฟเขียวให้เจ๊ทำฮิพฮอพ เพลงเต้นรำจึงเป็นตัวเลือกที่สองของมารายห์ โดยเพลงนี้ถุกนำเสนอมาในรูปแบบลูกผสมของโซล อาร์แอนด์บี กับ พ็อพเต้นรำที่มีกลิ่นอายของอิทธิพลดนตรีแบบโซลดิสโก้ (ไม่แน่ใจว่าเป็นที่นิยมในยุคโมทาวน์หรือเปล่า)โดยตัวเพลงได้รับแรงบันดาลใจมากจากเพลง Best Of My Love ของวงดนตรีแนวโซลดิสโก้ The Emotions ที่ต้องชมคือมารายห์สามารถทำให้โลกเห็นถึงความสามารถในการร้องเพลงและเทคนิคการใช้เสียงอันแพรวพราวของเธอทั้งแผด ทั้งหอน ทั้งหวีด ครบสูตร เหนือชั้นจนสามารถคว้าอันดับหนึ่งเป็นเพลงที่ห้าในชาร์ตบิลด์บอร์ดให้เธอสำเร็จจนได้ จริงๆแล้วก่อนหน้านี้เพลงที่จะถูกตัดมาเป็นซิงเกิ้ลแรกคือ Youre So Cold (3.5/5) ซึ่งโปรดิวซ์โดย David Cole และ Robert Civillies รูปแบบดนตรีทำออกมาในรูปแบบเดียวกันแต่เพลงนี้มีทีเด็ดเฉพาะตัวคือช่วงอินโทรมารายห์ใช้ลูกเล่นเสียงแบบคนดำทั้งแผดทั้งหวีด (กังวานและดุสุดๆดูดิบมากๆ) ก่อนที่จะปรับอารมณ์เข้าเป็นเพลงอาร์แอนด์บี พ็อพโซลเหวี่ยงๆมารายห์ร้องได้สะใจมากๆ จริงๆแล้วอยากให้เธอทำเพลงโซลเพียวๆดิบๆไปเลยคงได้ฟังป้าหอนตับฉีกแน่ๆ
Cant Let Go (3/5) ซิงเกิ้ลที่สองซึ่งมารายห์ยังคงไม่ได้ทิ้งกลิ่นอายงานบัลลาดจากอัลบั้มแรกไปไหน โดยส่วนตัวคิดว่าแม้ความอลังการของตัวเพลงจะเทียบบัลลาดซิงเกิ้ลจากอัลบั้มแรกไม่ได้แต่พัฒนาการในการสื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงอารมณืของตัวเพลงเธอทำได้ดีขึ้นมากๆ การันตีได้ดีว่ามารายห์เป็นเซียนในเพลงบัลลาดแบบดิว่าช้ำรักที่ใครๆก็กินเธอลงได้ยากยิ่ง ในซิงเกิ้ลมีเพลง To Be Around You (3/5) ในอัลบั้มแถมเป็นบีไซส์ตัวเพลงก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากเพลงเร็วอื่นๆในอัลบั้มคือเป็นพ็อพผสมโซลอาร์แอนด์บีและดึงกอสเพลมาเป็นสีสัน พร้อมวางขายทันที
Make It Happen (5) ซิงเกิ้ลปิดอัลบั้ม อาร์แอนด์บี พ็อพเริ่ดๆเพลงนี้มารายห์ทำเก๋นำลูกเล่นของกอสเพลเข้ามาใช้ถือว่าแปลกใหม่เพียงพอสำหรับงานเพลงของเธอในยุคนั้น (จนปัจจุบันกลายเป็นเอกลักษณ์ในทุกๆเวทีของเธอ) โดยส่วนตัวเป็นหนึ่งในเพลงที่ชอบที่สุดตลอดกาลของเธอ น่าเสียดายที่ไม่ได้อันดับหนึ่งให้รู้แล้วรู้รอดไป
เพลงอื่นๆ :
If Its Over (4.5/5) เพลงที่เธอแต่งกับแคโรล คิง ซึ่งก่อนหน้านี้ตอนแรกป้าแคโรลเสนอให้มาลัยคัฟเวอร์เพลง (You Make Me Feel Like) A Natural Woman ของเธอแต่มาลัยต้องการที่จะมีเพลงเริ่ดๆเป็นของตัวเองมากกว่าโปรเจ็คนั้นเลยพับไป (ดีนะไม่โดนอีด่าเอา) เพลงนี้ทำออกมาในแนวโซลย้อนยุคมีกลิ่นอายบลูส์เข้มๆจากการโชว์พลังเสียงของมารายห์ (โดยส่วนตัวถ้าเทียบกับImpossibleของคริสทิน่าคิดว่ามาลัยออกโซลได้ถึงอารมณ์กว่ามาก) ตอนจบเพลงเล่นเอาขนลุกไปเลย เสียงมารายห์ทรงพลังมากๆใช้เสียงได้อย่างเหนือชั้นสมศักดิ์ศรี The Voice ค่ะ
บัลลาดที่เหลือก็มี And You Dont Remember (3.5/5) So Blessed (3/5) ที่ตัวเพลงคล้ายๆกับ Love Takes Time คือเป็นพ็อพบัลลาดหวานๆเย็นๆเจือกลิ่นอายบลูส์อ่อนๆ ฟังได้เพลินๆและเพราะด้วย Till The End Of Time (3.5/5) พ็อพบัลลาดเจือสรรพสำเนียงโซลฟูลอาร์แอนด์บี (แบบอ่อนมากๆค่อนไปพ็อพบัลลาดแบบดิว่าโชว์พลังเสียงเลยด้วยซ้ำ) น้ำเสียงเพราะและเซ็กซี่มากๆเป็นบัลลาดสูตรสำเร็จเพื่อสืบเจตนารมณ์อัลบั้มแรกอีกเพลงจากมารายห์
ปิดตัวเก๋ด้วย The Wind (4/5) ไลท์แจ๊ซซ์บัลลาดแบบที่ บลอสซั่ม เดียร์รีย์ (ดิว่าเพลงแจ๊ซซ์ยุค50) ชอบทำ เจ๊ได้แรงบันดาลใจเพลงนี้จากการสูญเสียเพื่อนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ซึ่งตอนแรกจะนำแรงบันดาลใจนี้ไปเป็นไทเทิ่ลแทร็คโดยใช้ชื่อว่า They Call The Wind Mariah ต๊ายย ยังกับชื่อหนังยอดมนุษย์น่ะค่ะเจ๊
อัลบั้มของมาดอนน่าที่แนสทิน่าชอบที่สุด :
Bedtime Story เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่7ของมาดอนน่า (ปี1994) แม้จะไม่ใช่อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่จนสามารถเทียบชั้น Ray Of Light , Like A Prayer หรือ Confessions On A Dancefloorก็ตาม แต่โดยส่วนตัวแล้วเดี๊ยนสามารถเข้าถึงตัวตนและสัมผัสอะไรหลายๆด้านของผู้หญิงที่ชื่อ มาดอนน่า ก่อนหน้านี้เราได้สัมผัสเธอในด้านของสาวนักปฏิวัติผู้ที่กล้านำเสนอในทุกๆเรื่องตั้งแต่การตีแผ่เรื่องพรหมจรรย์ของตนเองในเพลง การเสียดสีศาสนา ไปจนถึงการแสดงความเสมอภาคทางความคิดเรื่องค่านิยมทางเพศ (อย่างโจ่งครึ้ม) แต่อัลบั้มนี้สิ่งที่ผู้ฟังจะได้รับคือ มาดอนน่า กล่าวคือเปรียบเสมือนการที่เธอเปิดใจให้เราท่องไปในอีกด้านของเธอที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน (ด้านที่นุ่มละมุน) หลังจากที่เรารู้จักแต่มาดอนน่าในโลกแห่งอุตสาหกรรมดนตรีสากล
Take A Bow (3.5/5) เพลงนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบัลลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมาดอนน่าไปแล้วนะคะ โดยส่วนตัวคาดว่าส่วนหนึ่งมาจากการที่เพลงนี้สามารถทำอันดับบนบิลบอร์ดชาร์ตได้นานที่สุดของมาดอนน่าและในช่วงนั้นเป็นช่วงที่เจ๊เราต้องฝ่าฟันกับคำครหาที่ว่าหมดยุคของเธอแล้ว
แต่เพลงนี้กับสัมผัสอันดับหนึ่งได้อีกครั้งเป็นการการันตีความนิยมในตัวเธออย่างยิ่งยวดเชียวค่ะ สำหรับเดี๊ยนส่วนตัวไม่ได้รู้สึกประทับใจหรือยกย่องเพลงนี้จนถึงขั้นยกให้เป็นสุดยอดบัลลาดของเธอ แต่ก็ยอมรับว่าเป็นอีกบัลลาดระดับดิว่าที่เพราะมากๆของมาดอนน่า ที่สำคัญผ่านการเรียบเรียงดนตรีที่ดีกว่าบัลลาดหลายๆเพลงของเธอ ส่วนความรู้สึกที่มีต่อเพลงนี้คือ น่าเบื่อมากๆค่ะ
Bedtime Story (4/5) ไทเทิ่ลแทร็คที่Bjorkลงมือแต่งเนื้อร้องให้เลยนะคะ เจ๊ทำออกมาเป็นซาวนด์แบบพ็อพเทคโนผสานด้วยลูกเล่นของซาวนด์อิเล็คโทรนิค ที่เก๋มากๆเลยคือเนื้อหาแบบจิตวิเคราะห์ที่ว่าด้วยการจมดิ่งสู่โลกแห่งจิตไร้สำนึกที่ถ่ายทอดโดยการใช้สำนวนภาษาเหนือระดับที่อัจฉริยะของBjork เรียกได้ว่าทั้งเนื้อหาและดนตรีเป็นการปูทางสู่ Ray Of Lightเลยก็ได้นะคะ แม้ว่าเพลงนี้จะเป็นเพลงเต้นรำที่ดีมากๆแต่จุดด้อยมีอยู่จุดเดียวคือตรงที่เมื่อมันมารวมอยู่ในอัลบั้มแล้วขัดต่อภาพรวมของอัลบั้มอยู่มาก
Human Nature (3/5) แซมเพิ่ลเพลง What You Need ของกลุ่มศิลปินฮิพฮอพ Main Sourceนะคะ สำหรับตัวเพลงถูกนำเสนอมาในแนวของอาร์แอนด์บี พ็อพ ที่มีการใช้เทคนิคของทริพฮอพเข้ามาเป็นสีสันในแง่ของเนื้อหายังคงยืนหยัดถึงความแสบสันยอมหักไม่ยอมงอ
และสงวนไว้ซึ่งความเสมอภาคของเพศสภาพตามแบบฉบับของมาดอนน่าครบถ้วนค่ะ (ทราบมาว่าสาวกของมาดอนน่าหลายคนไม่ชอบเพลงนี้เหรอคะ มาตอบด่วน) จริงๆแล้วต้นสังกัดเจ๊ไม่ได้คิดจะตัดเพลงนี้หรอกค่ะ เห็นว่าทีแรกจะตัด Dont Stop (3/5) ออกมาโปรโมตค่ะว่าแล้วขอพูดถึงเลยนะคะ เพลงนี้ออกแนวพ็อพแบบพ็อพใสๆทั้งดนตรี เสียงร้อง และเนื้อหาเลยค่ะ เป็นเพลงที่แสดงด้านที่หวานแหววและเป็นPositive Thinkingของมาดอนน่าในแบบที่หาฟังได้ค่อนข้างน้อย (ถ้าไม่นับอัลบั้มแรกนะคะ) คาดว่าตัดมาคงเป็นเพลงที่ตลาดนิยมบริโภคอยู่นะคะ เพียงแต่บุญน้อยที่อีเจ๊ดันเม้งใส่ต้นสังกัดและเลือกตัดเพลงที่ตัดอนาคตตัวเองมาโปรโมตค่ะ
Id rather be your lover (4//5) อาร์แอนด์บีดำๆเก๋ๆ อีกหนึ่งเพลงที่มีศักยภาพในการเป็นซิงเกิ้ลมากที่สุดในอัลบั้มช่วงกลางเพลงมีการให้นักร้อง
ฮิพฮอพมาแร็พซึ่งไม่แน่ใจว่าเจ๊หรือมารายห์เป็นนักร้องหญิงคนแรกในยุคนั้นที่เริ่มการฟีทเจอริ่ง มาดูที่เนื้อหาอันนี้โดนมากค่ะเจ๊แสดงให้โลกเห็นถึงความเป็นดิว่าและความเป็นผู้ชนะตลอดกาล
ที่แท้จริงลองแม่เล็งไว้แล้วล่ะก็แม่ต้องได้ค่ะ เกย์มากๆค่ะเพลงนี้
Inside Of Me (3.5/5) ซอฟท์ลัลลาบายที่มีกลิ่นอายของทริพฮอพเก๋มากๆค่ะ เพลงนี้เจ๊แต่งให้แม่ของเธอ (นี่แหละนะที่เขาว่าเงินหรือชื่อเสียงมากมายแค่ไหนมันลบแผลเป็นในใจไม่ได้หรอกค่ะ) เดโมตอนแรกใช้ชื่อว่า I will always love you (เสร่อจริงๆค่ะเจ๊จากใจ) เห็นว่าเวอร์ชั่นก่อนที่จะรีรีสออกมาเจ๊ทำเป็นดิว่าบัลลาดโชว์พลังเสียงแบบCrazy for you เลยนะคะ อยากฟังจัง
Forbidden Love (4/5) ยกให้เป็นเพลงที่ดีที่สุดของอัลบั้มและเป็นเพลงที่ศักยภาพสูงที่สุดที่สมควรจะตัดเป็นซิงเกิ้ลคือ
มีครบทั้งคุณภาพของเนื้องาน ความโดนใจของเนื้อหา(สีม่วงสุดพลังค่ะเพลงนี้) และเชื่อว่าขายได้แน่ๆ เพลงนี้เป็นบัลลาดที่เหนือชั้นในด้านการนำเสนอและทรงพลังในแง่ของการเล่นและสื่ออารมณ์ เป็นอีกหนึ่งในขุนพลบัลลาดแนวหน้าของเจ๊ที่ได้รับเลือกไปใส่ในอัลบั้ม Something To Remember อัลบัมรวมเพลงบัลลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมาดอนน่า
Love tried to welcome me(4.5/5) กับ Sanctuary(4/5) เป็นอีกสองบัลลาดที่ดีมากๆในแง่ของการเรียบเรียงดนตรีและสรรพสำเนียงการร้องที่แปลกใหม่พอดูสำหรับมาดอนน่า พูดได้แค่นี้แหละค่ะอยากให้ลองฟังมากกว่าเพราะเพลงดีมากๆ บัลลาดอัลบั้มนี้ทรงพลังมากๆค่ะ