˹���á Forward Magazine

ตอบ

ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
เรตติ้ง พระจันทร์สีรุ้ง VS บ่วงหส์ ตอนล่าสุด เพราะแบบนี้เอง
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ เรตติ้ง พระจันทร์สีรุ้ง VS บ่วงหส์ ตอนล่าสุด เพราะแบบนี้เอง 

สำหรับ เรตติ้งละครประจำค่ำคืนวันพุธที่ 1 ก.ค.52


พระจันทร์สีรุ้ง Ch.3 เรตติ้ง 5


บ่วงหงส์ Ch.7 เรตติ้ง 16


เรตติ้ง รายการหลังละคร (22.30 น.)


ข่าว 3 มิติ เรตติ้ง 3


ประเด็นเด็ด 7 สี เรตติ้ง 6


สำหรับ เรตติ้งละครประจำค่ำคืนวันพฤหัสบดีที่ 2 ก.ค.52


พระจันทร์สีรุ้ง Ch.3 เรตติ้ง 5


บ่วงหงส์ Ch. 7 เรตติ้ง 16


เรตติ้งรายการหลังละคร (22.30 น.)


ข่าว 3 มิติ Ch.3 เรตติ้ง 4 VS ประเด็นเด็ด 7 สี Ch.7 เรตติ้ง 8


เป็นต่อ Ch.3 เรตติ้ง 2 VS เรื่องจริงผ่านจอ Ch.7 เรตติ้ง 4


Source By AGB Nielsen Media Research

Presented By Riyo model change

PANTIP.COM



......................



เพราะตัวเลขมันออกมาแบบนี้นี่เอง ผู้บริหารช่อง 3 เลยออกมาพูด ก็นะ ตัวเลขยิ่งน้อย สปอนเซอร์ก็ถอนหมด โฆษณาก็ไม่ลง รายได้หลักมันก็ต้องหายไป -*-

ล็อตใหม่ สู้ใหม่









แก้ไขล่าสุดโดย Roddick เมื่อ Wed Jul 08, 2009 2:25 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง

_________________
ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
ช่อง 3 มีแต่ข่าวเยอะจัง

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
ช่อง 3 สู้เค้านะ คิกๆๆคักๆๆ Happy


_________________
CLICK

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
เป็นต่อ คนดูน่าจะเยอะ กว่าเรื่องจริงผ่านจอนะค๊ะ!!


ในความรู้สึกเดี้ยน



_________________

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
อยากรู้วิธีการวัดอ่ะว่าวัดยังไง


_________________

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว ชมเว็บส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
สงสารคุณประวิทย์จัง


_________________
ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว MSN Messenger
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
Lovegood พิมพ์ว่า:
อยากรู้วิธีการวัดอ่ะว่าวัดยังไง




ประวัติการตรวจวัดในประเทศไทย

ใน ประเทศไทย เริ่มการตรวจวัดจำนวนคนดูโทรทัศน์ ประมาณ ปีค.ศ.1980 โดยบริษัท ดีมาร์ จำกัด ซึ่งเริ่มการตรวจวัดด้วยการทำแบบสอบถาม และ การกรอกเวลาในการดูโทรทัศน์ของแต่ละคนลงไปในสมุดจดบันทึก ที่เรียกว่า "TV Diary" ซึ่งครอบคลุมเฉพาะ กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งต้องใช้แรงงานคนในการจัดเก็บเอกสารกลับมาเพื่อประมวลผล

หลังจาก นั้น ประมาณปี ค.ศ.1985 ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บจากการจดบันทึกลงสมุด มาเป็นการใช้เครื่องมือที่ได้จากประเทศอังกฤษ ชื่อว่า "People Meter 4800" โดยประมวลผลผ่าน มินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเข้ามาแทนที่การจดบันทึกแบบ TV Diary ทั้งหมด และ ได้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะใช้ หน่วยความจำภายนอกในการจัดเก็บทั้งเวลาการเปลี่ยนสถานีโทรทัศน์ การกดปุ่นคนดู แต่ก็ยัง ใช้พนักงานเก็บหน่วยความจำเหล่านี้กลับมายังบริษัทฯเพื่อประมวลผล

ใน ปี ค.ศ.1997 ต้องการตรวจวัดจำนวนคนดูทั่วประเทศไทยขึ้นซึ่งต้องใช้บ้านตัวอย่างมากขึ้น จึงต้องเปลี่ยนเครื่องเป็น ACN6000 ซึ่งเป็นเครื่องล่าสุดในสมัยนั้น เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย ซึ่งตอนนั้นตรวจวัดด้วย บ้านตัวอย่างประมาณ 865 บ้านทั่วประเทศไทย และ ใช้คนเป็นคนเก็บหน่วยความจำและส่งกลับมายังบริษัทฯแม่ที่กรุงเทพฯ

ใน เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ.2002 ได้มีการเพิ่มบ้านตัวอย่างจาก 865 บ้านมาเป็น 1000 บ้าน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นตามความต้องการของอุตสาหกรรมโฆษณา

ใน ช่วง ปี ค.ศ.2005 มีการเปลี่ยนแปลงองค์กร และต้องการเพิ่มจำนวนบ้านตัวอย่างเพิ่มมากขึ้น จึงได้นำเอาเครื่อง TVM5 ซึ่งเป็นเครื่องของทางฝั่งยุโรป เข้ามาใช้ในประเทศไทย ประเทศแรกในโลก เป็นระบบที่ดึงข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ และ เพิ่มบ้านตัวอย่างเป็น 1200 บ้านในต้นปี ค.ศ.2006 ในช่วงระหว่างนี้ ได้ทำการใช้ทั้งระบบคนเก็บข้อมูล และ ระบบดึงข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ ไปพร้อมๆกัน และ ยกเลิกการใช้คนเก็บข้อมูลในเดือน เมษายน ค.ศ.2007

หรือจะอ่านเต็มๆก็เชิญนะจ๊ะที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wbj&month=03-2009&date=18&group=18&gblog=3

Credit : ภูลับฟ้า (เฉลิมไทย)




_________________

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  



ถ้าจะกล่าวถึง จำนวนคนดูโทรทัศน์ ทั่วประเทศไทย หรือ ในภูมิภาคใด หรือ ในจังหวัดใดๆ หรือ แม้นแต่ในระแวกบ้านของคุณว่า มีใครบ้างที่ดูโทรทัศน์ในช่องต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลาได้บ้าง ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีใครสามารถรู้ได้เลยว่า มีผู้ชายกี่คนในระแวกนั้นดู รายการนี้ รายการนั้น เป็นเวลาเท่าใด?

แต่เนื่องจากอุตสาหกรรม โทรทัศน์ ต้องการทราบว่า รายการแต่ละรายการมีใครบ้างที่ดูรายการนั้นๆ มีจำนวนคนมากน้อยเพียงใดที่ดูโทรทัศน์ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อที่จะหารายการโทรทัศน์ ได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ดูโทรทัศน์ ในช่วงเวลานั้นๆ คนดูจะได้ดูในสิ่งที่อยากดู และ คนโฆษณา ก็จะได้สื่อโฆษณาได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาต่อไป และ ในวงการอุตสาหกรรมโฆษณา เองก็ต้องการทราบว่า โฆษณาที่ออกไป มีกลุ่มคนที่มีโอกาสซื้อสินค้า ที่โฆษณา มากน้อยเท่าใดที่ดูโทรทัศน์ในช่วงเวลานั้น ซึ่งเขาขายเวลากันเป็น วินาที

เพราะ เหตุนี้เอง การตรวจวัดว่า มีคนดูโทรทัศน์ในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด จำนวนเท่าใด จึงเป็นความต้องการของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ เพื่อไปตอบโจทย์ให้กับ อุตสาหกรรมโฆษณา และ อุตสาหกรรมโฆษณา ก็ต้องไปตอบโจทย์ให้กับ เจ้าของสินค้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เพื่อให้การขายสินค้าของเขาได้ดีมากยิ่งขึ้น

แต่เนื่องจากเราไม่ สามารถตรวจวัดจำนวนคนดูโทรทัศน์จริงๆได้ เพราะเครื่องโทรทัศน์ เป็นเครื่องที่รับสัญญาณไม่มีเครื่องส่งสัญญาณกลับ ถึงแม้นว่า การส่งสัญญาณกลับจะมีในระบบสายเคเบิ้ลนำแสงก็ตาม แต่วิทยาการเหล่านี้มาหลังจากระบบการตรวจวัดเรตติ้งถึง 20 กว่าปี ดังนั้น เมื่อความต้องการในการตรวจวัดคนดูโทรทัศน์มีมาก จึงต้องใช้หลักสถิติเข้ามาช่วยถึงการตรวจวัดให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมาก ที่สุดเท่าที่จะทำได้

ถ้าพูดถึงสถิติ ก็แน่นอนว่า เราใช้ตัวอย่างในการตรวจวัดเพื่อหาว่าแนวโน้มของคนกลุ่มตัวอย่าง ย่อมเป็นแนวโน้มของคนทั่วไปด้วย ดังนั้น ค่าที่ได้จากสถิติ ไม่ได้บอกว่า จำนวนคนดูโทรทัศน์ในช่วงเวลานั้นจริงๆมีจำนวนเท่าใด แต่สามารถบอกได้เพียงค่าประมาณการคนดูโทรทัศน์ในช่วงเวลานั้นๆได้ว่ามี ประมาณเท่าใดเท่านั้น อย่างเช่น ถ้าผลงานวิจัยพบว่า คนไทย 76% กินอาหารรสจัด เขาไม่ได้สอบถามคนไทยทั่วประเทศทุกคนว่า กินอาหารรสจัดหรือไม่ เขาเพียง สุ่มตัวอย่างเพื่อมาสอบถามเท่านั้น แต่จะอ้างอิงกลับไปยังภาพรวมโดยใช้แนวโน้มทางตัวเลขที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง อาจจะสรุปง่ายๆคือ การตรวจวัดทางสถิติ ไม่ได้ตรวจวัดคนทั้งหมดจริงๆ เป็นเพียงการตรวจวัดเพียงคนบางกลุ่มที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น

การ จะตัวแทนเพื่อมาให้ข้อมูลนั้น ก็ต้องมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกัน มากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้น ถ้าต้องการตรวจวัดบ้านที่มีโทรทัศน์ ก็ต้องทราบก่อนว่ามีบ้านที่มีโทรทัศน์ จำนวนกี่หลังคาเรือนทั่วประเทศ แต่ถ้าพูดในวันนี้ แต่ละคนคงอยากจะหัวเราะ เพราะว่า ไม่ว่าเดินไปที่ใด ทุกๆบ้านก็มีโทรทัศน์ ใช้กันอยู่แล้ว ราคาก็ไม่แพง แต่ถ้าคุยถึงเมื่อ 25 ปีก่อน คุณจะเห็นว่า บ้านใดก็ตามที่มีโทรทัศน์ จะเป็นบ้านของคนมีเงิน มีฐานะ เท่านั้นถึงจะมีได้ และ งานวิจัย เรตติ้งโทรทัศน์ ก็เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 โดย "Arthur Nielsen" ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด ในสหรัฐอเมริกา

ดังนั้น สิ่งแรกที่จะมีการตรวจวัด ก็ต้องทราบให้ได้ก่อนว่า มีจำนวนบ้านจำนวนเท่าใดที่มีโทรทัศน์ ซึ่งข้อมูลที่ต้องการนั้น ต้องแยกย่อยออกเป็น แต่ละพื้นที่ของประเทศ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และ ภาคใต้ จากนั้น ก็ต้องแบ่งแต่ละพื้นที่ออกเป็น ในเขตเทศบาล และ นอกเขตเทศบาล เมื่อแบ่งแยกเช่นนี้ ก็ต้องแบ่งจังหวัดออกเป็น จังหวัดขนาดใหญ่ จังหวัดขนาดกลาง และ จังหวัดขนาดเล็ก และ แบ่งย่อยตามพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ จนถึงระดับ หมู่บ้านเลยทีเดียว

นอกจากข้อมูลของแต่ละพื่นที่แล้ว เรายังต้องเก็บข้อมูลในแต่ละบ้านว่ามีจำนวนโทรทัศน์กี่เครื่อง มีโทรทัศน์ขาวดำ หรือ สี กี่เครื่อง มีจำนวนคนในบ้านกี่คน ชายเท่าไหร่ หญิงเท่าไหร่ และ แบ่งออกเป็นสัดส่วนแยกย่อยออกมา ตามพื้นที่อีก เพื่อให้ได้ภาพของความเป็นจริงที่มีจำนวนประชากรให้ได้ชัดเจนมากที่สุด ซึ่งการทำทุกขั้นตอนเหล่านี้เราเรียกว่า "Establishment Survey"

เมื่อ ได้ภาพของคนและบ้านทั่วประเทศแล้ว เราถึงต้องมากำหนดว่าเราจะจัดสรรจำนวนบ้านเท่าใดในแต่ละพื้นที่ให้มีความสอด คล้องกับจำนวนบ้านทั้งหมด และ มีลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนบ้านทั่วประเทศมากที่สุดเช่นกันก่อนที่จะทำ การตรวจวัดใดๆขึ้น

จาก ภาพด้านบน คุณจะเห็นว่าแผนที่ประเทศไทย ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่ หรือ ขนาดเล็ก เราก็จะสามารถบอกได้ว่า เป็นแผนที่ประเทศไทย ที่เราสามารถมองเห็นได้ แต่ความละเอียดที่สามารถมองเห็นได้นั้น อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป

การ วิจัยทางด้านสถิติ ก็จะมีผลเหมือนรูปแผนที่ประเทศไทย การตรวจวัดคนกลุ่มเล็กๆที่มีลักษณะเหมือนกัน กลุ่มขนาดใหญ่ จะทำให้มองเห็นภาพรวมได้ แต่อาจจะขาดรายละเอียดของภาพในบางจุดอย่างภาพที่เราได้เห็นตามข้างบน
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wbj&month=03-2009&date=18&group=18&gblog=3

การสุ่มตัวอย่าง

การสุ่มตัวอย่างของ การติดตั้ง เราใช้ Multistage Random ก่อนที่จะทำการ Probability Sampling และมีการกำหนด Target ในแต่ละส่วน ด้วยสัดส่วนทั้งของบ้านตัวอย่าง และ คนที่สำรวจ ด้วยครับ

อธิบายอย่างละเอียดให้เห็นภาพละกันนะครับ

เราจะเลือกบ้านก่อนว่าเราจะต้องติดตั้งในจุดใด และ มีจำนวนบ้านที่จะเลือกเป็นบ้านตัวอย่างมากน้อยเพียงใด จากนั้นก็สุ่มพื้นที่

ภาค -> จังหวัดขนาดใหญ่/กลาง/เล็ก -> เลือกจังหวัด -> ในเมือง หรือ นอกเมือง -> เลือกอำเภอ -> เลือกตำบล -> เลือกหมู่บ้าน

การ สุ่มพื้นที่ มีข้อจำกัดเกี่ยวกับ ตำแหน่งของบ้านตัวอย่าง ซึ่งต้องห่างกันตามที่กำหนด เราใช้ GPRS เป็นตัวบ่งบอกว่า บ้านตัวอย่างแต่ละบ้านห่างกันมากน้อยเพียงใด และ ควรจะกระจายมากน้อยเพียงใด เป็นการกำหนดตำแหน่งบ้านใหม่ที่จะหาอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อได้พื้นที่ แล้ว ก็จะส่งให้ทาง Panel Recruiter (ฝ่ายภาคสนามในการหาบ้านตัวอย่าง) เป็นค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลที่ได้จาก Establishment Survey ก่อน แต่ถ้าไม่มีข้อมูลดังกล่าว ก็จะเข้าไปพื้นที่ทำการหาบ้าน ด้วยการสัมภาษณ์ เพื่อเลือกบ้านที่ต้องมีคนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

การเลือกบ้าน จะกำหนด Target ในการเลือกตาม
- จำนวนเครื่องโทรทัศน์ภายในบ้าน
- ปริมาณการดูโทรทัศน์ในบ้านว่า ดูมาก ดูปานกลาง หรือ ดูน้อย
- รายได้ของครอบครัว
- จำนวนคนที่อยู่ในบ้าน

เมื่อเลือกบ้านได้แล้วก็ต้องตรวจว่า บ้านนั้นมีลักษณะของคนที่อยู่ในบ้านตรงกับที่ต้องการหรือไม่ โดยเลือกตาม
- เพศ
- ช่วงอายุ
- ระดับการศึกษา
- อาชีพ

ถ้า มีตรงกับที่เราต้องการ และ ระยะห่างจาก GPRS ได้มาตรฐานแล้ว ทางองค์กรก็จะขอเข้าไปติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด โดยส่งทีมช่างเข้าไปติดตั้ง แต่หากมีปัญหาทางด้านติดตั้งก็ต้องหาบ้านใหม่ต่อไป

กว่าจะหาบ้านได้ สักหลังอาจจะเข้าไปหลายสิบบ้านกว่าจะได้บ้านที่ตรงกับความต้องการ 1 หลัง บางวันเข้าไปก็ไม่สามารถหาบ้านที่ต้องการได้เลย และ บางพื้นที่ใช้เวลา 2-3 วันก็ไม่สามารถหาบ้านที่ต้องการได้ ดังนั้น วิธีการที่เราใช้เพื่อป้องกันบ้านตัวอย่างตกกว่า Target ที่ตั้งไว้ เราจึงหาบ้านตัวอย่างเผื่อไว้ในระบบ ทำให้จำนวนบ้านตัวอย่างจริงๆ มากกว่า Target ที่เราตั้ง แต่ก็จะไม่มากเกินไป ซึ่งจะควบคุมด้วย Tolerance อีกระดับหนึ่ง ผลดีคือ ลูกค้าจะได้บ้านตัวอย่างมากกว่า หรือ อย่างน้อยก็เท่ากับที่ได้ตั้ง Target ไว้ครับ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=25-03-2009&group=18&gblog=7

Credit : phokar (เฉลิมไทย)

ว้ายย เยอะเว่อละ อ่านพอประดับความรู้นะคะเพื่อน ๆ



_________________

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
ยังไงก็ชอบหยกลายเมฆมากกว่าคร่ะ


_________________
ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
ตอบ หน้า 1 จาก 2
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
  


copyright : forwardmag.com - contact : forwardmag@yahoo.com, forwardmag@gmail.com