ผีเลี้ยงลูกคน(ธรธร สิริพันธ์วราภรณ์ /2007) : SIMPLY IS THE BEST

กลายเป็นหนังสุด surprise เรื่องหนึ่งของปี เพราะด้วยความตั้งใจเดิมแค่คิดว่าจะเข้าไปดูน้องโฟกัสเท่านั้น หนังเล่าเรื่องผู้หญิงคนหนึ่งที่ต้องขายปาท่องโก๋ น้ำเต้าหู้เลี้ยงหลานสามคน หลังจากพี่ชายถูกฆ่า แต่ก็ถูกพวกเมาเฟียตามมาฆ่าจนได้ ตายแล้วก็ยังกลับมาดูแลหลานต่อไป พร้อมทั้งป้องกันครอบครัวจากอันตราย และตามล้างแค้นไปด้วย โดยมีนายตำรวจหนุ่มมีอดีตคอยสืบคดีอีกแรง
พลอตหนังนั้น cliche' มากๆ และหนังก็ไม่ได้ปิดบังตัวเองในเรื่องนี้ เรื่องทั้งหมดถูกเล่าไปตั้งแต่ในตัวอย่างภาพยนตร์แล้ว หนังเองก็เล่าเรื่องไปแบบสามัญมากๆ ไม่มีอะไรโดดเด่น ทุกอย่างคาดเดาได้เกือบหมดจากต้นจนจบ ไม่มีอะไรเหนือความคาดหมาย และไม่มีอะไรเป็นพิเศษ
แต่ความสามัญคือสิ่งที่ทำให้ผมชอบหนังเรื่องนี้อย่างยิ่ง หนังเรื่องนี้เป็นหนังผีไทยบ้านๆ ที่ไม่มีตลกมาวิ่งหนีผีแม้แต่น้อย ตัวหนังเป็นหนังผีชีวิตบัดซบแบบที่เราอาจเคยเห็นเมื่อครั้งหนังไทยยุค แปดสิบ ความซื่อตรงของหนังทำให้หนังสามัญเรื่องนี้มั่นใจในการเล่าเรื่องทีเดียว ที่สำคัญหนังกล้าหาญพอที่จะไม่ทำ-ผีสมัยนิยม- แบบ ผีญี่ปุ่นหน้าขาว ผีในเรื่องนี้ปรากฏตัวไม่มากนัก ฤทธิ์เดชในการหลอกหลอนก็ไม่ได้มากอะไร (มายืนหน้าเขียวเสียเป็นส่วนใหญ่) แต่ด้วยข้อนี้เองทำให้เรารู้สึกว่า นางเอกกลายเป็นผีไปจริงๆ ด้วยการไปๆมาๆ หลังจากตาย กระทั่งในบ้าน เราก็เห็นเธอวูบไปวูบมา
หนังถ่ายภาพกรุงเทพออกมาได้ถูกใจผมมากนั่นคือ เป็นกรุงเทพสามัญแบบตาเห็น ซอกซอนชอนไชลงไปในชีวิตชนชั้นล่าง โดยไม่พยายามปรุงแต่ง ภาพไม่สวยคือการตัดสินง่ายๆ แต่มันดูจริงมากด้วยเช่นกัน (แม้จะทำใจได้ยากว่าอั้ม และน้องโฟกัส จะขายปาท่องโก๋จริงๆ)
ที่น่าสนใจคือหนังเต็มไปด้วยภาพ โคลสอัพ เยอะมาก ทั้งแป้งปาท่องโก๋ ผ้าขี้ริ้วจนถึงหน้าตานักแสดง ราวกับผู้กำกับจะโชว์พาวด้านภาพ แต่ภาพที่ออกมาก็ทำให้มันเป็นหนังสยองขวัญที่มีภาพแปลกตาดี
อั้ม เลิกเล่นใหญ่เหมือนที่เธอเล่นละคร เธอไม่ต้องเป็นนางเอกมาดร้ายที่ส่งเสียงโวยวายหรือเซกสะบึมอีกต่อไป บางฉากเธอทำได้ดีทีเดียว และนั่นทำให้หนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการให้เราเข้าไปดูหน้าตาเธอ แต่ไปดูการแสดงของเธอ (อย่างไรก็ดี ออย ธนา ยังคงเล่นแข็งมากกกกอยุ่ดี และน้องโฟกัสก็ยังบทไม่เยอะ)
ฉากที่ชอบมากๆในหนังคือฉากงานวันแม่ เพราะมันสะท้อนค่านิยมเรื่องแม่ในสังคมไทยได้น่าสนใจมาก เราต้องกรายแม่ทุกวันแม่ (โดยโรงเรียนเป็นคนจัด) แต่จากมุมมมองของเด็กที่ไม่มีแม่ ใช่หรือไม่ว่ามันเป็นวันที่บาดใจมากๆ ฉากที่เด็กชายธง หลานคนเล็ก ยืนเก้ๆกังๆขณะเพื่อนๆขึ้นเวที ทำให้ผมตระหนักคิดว่า พิธีซึ่งใจของคนบางคนมันแสนจะโหดร้ายเพราะมันสามารถย้อนไปทิ่มแทงคนอื่นได้อย่างรุนแรง (เหมือนที่น้องสาวบอก คนไม่มีแม่จะถูกล้อจนร้องให้!!!)
หนังเลือกจบโดยอ้างอิงพุทธศาสนา แต่ข้อดีคือ แทนที่จะใส่เข้ามาเพื่อเป็นฉากจบตามระเบียบ หนังกลับเลือกใช้มันในการอธิบายเรื่องทั้งเรื่องได้เลย (และตั้งคำถามย้อนไปด้วย เช่นตอนที่หลวงพ่อบอกให้ปล่อยวาง แต่ออยตั้งคำถามหน้าศพว่า ในเมื่อไม่มีใครสนใจคดีนี้มันจะปล่อยวางได้ยังไง) โดยส่วนตัวการให้พระเอกตระหนักรู้ความเป็นผีด้วยการนั่งสมาธิเป็นเรื่องที่รับได้ มันอธิบายตัวหนังได้ เพียงแต่ไม่ใช้หลักคิดวิทยาศาสตร์แต่ใช้วิธีคิดแบบพุทธแทน การมีอยู่ของวัด
จาก www.deknang.com
_________________
