˹���á Forward Magazine

ตอบ

ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
Christina Aguilera : Bionic : 78%
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ Christina Aguilera : Bionic : 78% 


Christina Aguilera : Bionic : 78%


มากว่า2ปีนั่นคือ "การเขียนรีวิวถึง Bionic อัลบั้มล่าสุดของคริสทิน่า อากิเลร่า" ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ดิฉันรอคอยมากที่สุดในปี2010เลยทีเดียว ก่อนอื่นต้องขอสารภาพว่านี่เป็นอีกหนึ่งอัลบั้มที่ทำให้ดิฉันตื่นเต้นและเกร็งจนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนจากจุดไหนดีซึ่งก็ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงทีเดียวกว่าจะรวบรวมสมาธิและเริ่มต้นร่างโครงเขียนถึงบทนำได้ ส่วนตัวดิฉันก็ขอมอบความตั้งใจทั้งหมด ประสบการณ์ตลอดจนจิตวิญญาณตลอด8ปีในฐานะนักรีวิวเพื่ออุทิศงานเขียนอัลบั้มนี้ให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่ความสามารถของดิฉันจะทำได้ในฐานะเป็นการต้อนรับการหวนคืนสู่สังเวียนดนตรีกระแสหลักอีกครั้งของศิลปินหญิงที่ดิฉันชื่นชอบที่สุดรวมถึงเป็นการมอบรางวัลเล็กๆน้อยๆให้แก่ตัวเองหลังจากที่วินาทีแห่งการรอคอยๆได้สิ้นสุดลงเสียที

จุดเริ่มต้นของความผูกพันทางความรู้สึกที่ดิฉันมีต่อ "คริสทิน่า อากิเลร่า" มันเริ่มมาจากการที่ส่วนตัวสัมผัสได้ว่าเธอคือศิลปินที่ "ใช่" ตั้งแต่วินาทีแรกทั้งในแง่ของการเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ไม่ว่าจะทางดนตรีหรือภาพลักษณ์ ความทรงอิทธิพลทางการหล่อหลอมทัศนคติและจุดยืนทางการแสดงออกของพฤติกรรมตลอดจนการที่เธอเป็น "ภาพสะท้อนทางจิตวิญญาณ" ที่แจ่มชัดของตัวดิฉันเองโดยความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่ได้ "สบตา" กับเธอเพียงแค่เสี้ยววินาที เรียบง่ายและไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ใดๆให้มากความเพราะคนเราถ้าใจกับใจมันถึงกันความผูกพันทางจิตใจมันก็เริ่มขึ้นได้ง่ายๆเสมอ มาถึงวันนี้ส่วนตัวก็รู้สึกดีใจมากๆที่การสื่อสารทางจิตวิญญาณระหว่างเราก็ได้ก้าวผ่านหลายสิ่งหล่ายอย่างอย่างมั่นคงมาด้วยกันตลอดระยะเวลา10ปีและทุกครั้งที่ย้อนกลับไประลึกถึงความประทับใจและความสุขจากการติดตามทุกย่างก้าวบนถนนสายดนตรีของศิลปินหญิงท่านนี้ควมรู้สึกเหล่านั้นยังคงสดใหม่และให้มโนภาพแจ่มชัดอยู่เสมอ นับตั้งแต่วินาทีแรกที่รู้จักเธอในฐานะ "ทีนดิว่า" สัญลักษณ์แห่งดนตรีพ็อพช่วงต้นทศวรรษสองพันซึ่งเป็นวินาทีอันรุ่งโรจน์ของดนตรีพ็อพบับเบิ้ลกัมวัยรุ่นและภาพลักษณ์หวานแหววสวยใสผมบลอนด์ตามสไตล์ขวัญใจอเมริกันชนจากศิลปินวัยรุ่นหน้าใหม่ที่ทยอยแจ้งเกิดกันในวงการช่วงนั้นอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งคริสทิน่าก็สามารถก้าวมาเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับดิฉันจากท่ามกลางศิลปินหญิงหลายสิบท่านด้วยภาพลักษณ์สวยใสน่ากหากแต่ดูลึกมีมิติน่าค้นหา ความโดดเด่นจากน้ำเสียงที่ทรงพลังเกินตัวตลอดจนบทเพลงพ็อพจัดๆสุดติดหูตามกระแสนิยามหากแต่มีเสน่ห์อย่างร้ายกาจเชื่อว่าหลายท่านคงไม่ปฏิเสธนะคะว่าบรรดาเพลงฮิตของเธอในช่วงนั้นไม่ว่าจะเป็น Genie In A Bottle,What A Girl Wants หรือ Come On Over ก็ล้วนแต่เป็นตัวแทนที่ดีของวัฒนธรรมทีนพ็อพช่วงต้นยุคมิลเลเนียมเลยทีเดียว ในขณะที่ Stripped สตูดิโออัลบั้มชุดที่สองของเธอก็ได้ฉีกภาพลักษณ์ทีนพ็อพไอค่อนสดใสน่ารักและดนตรีพ็อพวัยรุ่นหวานๆเอาใจตลาดทิ้งสู่การห่มภาพลักษณ์และภาคดนตรีที่ดุขึ้นและโตขึ้นผิดหูผิดตากับการขยายไปเล่นกับแนวเพลงที่หลากหลายทั้งอารแอนด์บี ร็อค โซล แจ๊ซซ์ยันฮิพฮอพพร้อมกับภาคเนื้อหาสุดหมองหม่นเกรี้ยวกราดจากการะบายด้านมืดในจิตในและมรสุมจากโศกนาฏกรรมของชีวิตในอดีตซึ่งขับขานไปได้ดีกับภาพลักษณ์ดิบร้ายที่แสดงออกถึงพฤติกรรมสุดโต่งที่ปราศจากการแยแสใดๆทั้งสิ้นต่อสังคม ส่วนตัวขอยกให้งานชุดนี้เป็นงานที่ดีที่สุดของคริสทิน่าในแง่ของการระเบิดศัยภาพทางดนตรี ก้าวกระโดดของพัฒนาการที่เหนือควมคาดหมายจากพ็อพไอค่อนสู่การสวมบทบาทใหม่ในฐานะศิลปินได้อย่างเหนือชั้นและการผนวกจิตวิญญาณเข้าเป็นนหึ่งเดียวกับทุกสุนทรียภาพของเนื้องานได้อย่างสมบูรณ์แบบเหนือสิ่งอื่นใดเป็นอัลบั้มที่ทรงอิทธิพลที่สุดของคริสทิน่า อากิเลร่าต่อแฟนๆของเธอและอาณาจักรดนตรีกระแสหลัก ถัดขึ้นไปอีกระดับกับอัลบั้มชุดที่3อย่าง Bck To Basics ที่หวนคืนสู่รากฐานของจิตวิญญาณทางดนตรีจากการปรุงแต่งแรงบันดาลใจของภาคดนตรีโบราณอย่างโซล บลูส์และแจ๊ซซ์เข้ากับภาคดนตรีร่วมสมัยอาทิฮิพฮฮพ ฟั้งค์และอาร์แอนด์บีที่ดำเนินอยู่ภายในกรอบของดนตรีพ็อพระดับสูง (คอนเทมโพลารีย์) พร้อมทั้งสลัดภาพลักษณ์ดิบหยาบสู่ความหรูหราสูงส่งสง่างามที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากฮอลลีวูดไอค่อนช่วงยุค30-50ซี่งแน่นอนว่าภาพลักษณ์ของ "มาริลีน มอนโรล" เซ็กส์ซิมโบลสุดคลาสสิคตลอดกาลย่อมเปล่งประกายรัศมีออกมาได้เด่นชัดที่สุดซึ่งก็นับว่าไปได้ดีกับการนำเสนอดนตรีระดับสูงในอัลบั้มพร้อมถึงภาคเนื้อหาที่สะท้อนในมุมกลับจากด้านที่มืดหม่นอนธกาลสู่ด้านที่เปี่ยมสุขของชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ชีวิตรัก" ที่สมบูรณ์แบบและประสบความสำเร็จของคริสทิน่าแลดูเหมือนจะเป็นกลไกสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนส่วนของวาทะศิลป์ในงานชุดนี้เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามความขบถเชือดเฉือนในแบบฉบับของคริสทิน่ารวมถึงภาคเนื้อหาที่ล้อเลียนชีวิตอย่างเจ็บแสบกรีดลึกไปสุดใจก็ยังคงมีให้ดื่มด่ำประทับใจอยู่ในหลายๆแทร็ค มาที่ในแง่ของความสำเร็จก็คงต้องยอมรับว่าในแง่ของกระแสตอบรับและความแรงของตัวเพลงยังทำออกมาได้ไม่เท่า Stripped อาจจะด้วยเพราะภาคเนื้อหาส่วนมากที่เรียกได้ว่าทำออกมาสนองเฉพาะวินาทีแห่งความสุขของเธอคนเดียวล้วนๆโดยแท้ในขณะที่แฟนๆและผู้ฟังส่วนมากตั้งหน้าตั้งตารอคอยอะไรที่มันรงๆตลอดจนความเป็นInspirationในตัวเพลงของเธอซึ่งเป็นสิ่งที่อัลบั้มนี้ขาดไป การตลาดที่อ่อนยวบลงจนน่าตกใจรวมถึงการเล่นกับภาคดนตรีที่ยากและแถบจะไม่เป็นที่นิยมในตลาดกระแสหลักแล้วซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็ล้วนมีอิทธิพลที่มำให้ภาพรวมของงานชุดนี้ดูดร็อปลง อย่างไรก็ตามถ้าวัดกันในแง่ของการแสดงวิสัยทัศน์ทางดนตรีคิดว่างานชุดนี้ทำได้ลึกลงไปอีกระดับเลยทีเดียวโดยเฉพาะช่วงแผ่นที่สองที่เปรียบเสมือนการ Tribute ไฮไลท์เด็ดๆให้แก่ดนตรีช่วงยุค20-60นี่นับว่าเป็นอะไรที่สุโค่ยเด็ดดวงสำหรับดิฉันสุดๆเพราะครบรสตั้งแต่การผสานธีมละครสัตว์โบราณช่วงยุค30เข้ากับมิติของดนตรีที่ซับซ้อนเข้มข้นของมิวสิคคัลบรอดเวย์ช่วงยุค50ไปยันดนตรีแจ๊ซซ์เก่าๆทั้งสวิง คาบาเร่ต์ ไลท์แจ๊ซซ์ยันสแตนดาร์ด พ็อพบริสุทธิ์แท้ๆไร้สิ่งใดเจือปน บลูส์ดิบๆแบบเบสซี่ สมิธตลอดจนพวกดนตรีจำพวกโซลช่วงยุค60-70แบบโมทาวน์หน่อยๆยันคอนเทมโพลารีย์บัลลาดที่มีทั้งกอสเพลและเมนทสตรีมออเครสตร้า เป็นต้น พอทำความเข้าใจกับงานชุดนี้ในระยะยาวแล้วส่วนตัวขอออกตัวว่าเป็นการโชว์กึ๋นทางดนตรีเนื้อๆของแท้ที่เด็ดดวงกว่า Stripped หลายช่วงตัว (หากแต่เข้าถึงยากก็เลยซวยไปตามระเบียบ) จนนับว่าเป็นมาสเตอร์พีซทางดนตรีของคริสทิน่า อากิเลร่าในแง่ของความสมบูรณ์แบบทางดนตรีเลยทีเดียว และล่าสุดกับ Keeps Gettin' Better : A Decade Of Hits อัลบั้มรวมฮิตชุดแรกของเธอที่นอกจากจะนำซิงเกิ้ลฮิตตลอดระยะเวลา10ปีของคริสทิน่ามารวมไว้ให้แฟนๆได้ฟังแล้วยังทำเก๋เป็นใบเบิกทางสู่การนำเสนอภาพลักษณ์และดนตรีแบบ Futuristic ซึ่งเป็นธีมหลักของสตูดิโออัลบั้มชุดถัดไปได้อย่างแยบยลซึ่งก็นับว่าเพลงพิเศษที่เธอทำออกมาเซอร์ไพร์สแฟนๆทั้ง4เพลงนั้นเป็นการลองเชิงกับดนตรีอิเล็คโทรนิคก่อนจะลงสนามจริงได้ดีโดยแท้ตลอดจนเปรียบเสมือนเข็มทิศที่ช่วยให้แฟนๆสามารถประเมินทิศทางรวมถึงวิสัยทัศน์ในกาทำดนตรีพ็อพเต้นรำยุคอนาคตของตัวศิลปินตลอดจนรูปแบบดนตรีทั้งซาวนด์และบรรยากาศที่มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะมีอิทธิพลต่อ Bionic บทพิสูจน์ครั้งที่4ของเธอกับอีกครั้งของย่างก้าวแห่งความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางดนตรีรวมถึงภาพลักษณ์ที่มีมิติเหนือชั้นขึ้นไปอีกระดับเพื่อต้อนรับมหากาพย์ครั้งที่4ของคริสทิน่า อากิเลร่าที่จะมาผงาดเล่นกับวัฒนธรรมดนตรีพ็อพกระแสหลักอีกครั้ง



Bionic ตามความหมายที่ดิฉันเข้าใจคือการประยุกต์หลักการทางชีววิทยาเข้ากับการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์โดยเน้นความสำคัญไปในเรื่องของกลวิธีทาง "อิเล็คโทรนิค" เป็นสำคัญ ซึ่งก็นับว่าเป็นไทเทิ่ลที่สามารถสะท้อนจุดยืนและภาพรวมของการผจญภัยครั้งที่4นี้ของคริสทิน่า อากิเลร่าได้อย่างกระช่างชัดเลยทีเดียว จากคอนเส็ปท์การนำเสนอที่ประยุกต์ความเป็นชีวะของน้ำเสียงไปยันจุดอันเป็นนามธรรมที่มนุษย์พึงมีทั้งอามณ์ความรู้สึก จินตนาการสร้างสรรตลอดจนจิตวิญญาณของตัวศิลปินเองที่ครั้งนี้เลือกจะหวนกลับมาผูกติดกับจิตวิญญาณของวัฒนธรรมกระแสหลัก (Pop Culture) เข้ากับการนำเสนอดนตรีพ็อพในทิศทางใหม่ของเธอโดยมีดนตรี "อิเล็คโทรนิค" เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินเรื่องและควบคุมทิศทางของมหากาพย์ทางดนตรีชุดที่4นี้เคียงคู่ไปกับภาคดนตรีอื่นๆที่มี่อิทธิพลอย่างสูงต่อตลาดดนตรีกระแสหลักในปัจจุบันและมีความเป็นไปได้สูงว่าจะมีบทบาทโดดเด่นบนเวทีของอุตสาหกรรมดนตรีสากลในยุคอนาคต อาทิ "อาร์แอนด์บี" ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นแนวดนตรีที่ได้กลับมาครอบครองความนิยมเป็นอันดับหนึ่งอีกครั้งจนเป็นดนตรีที่มีบทบาทมากที่สุดในทศวรรษนี้เลยทีเดียว "แด๊นซ์" อีกหนึ่งภาคดนตรีซึ่งส่วนตัวดิฉันเห็นว่าโดดเด่นขึ้นเรื่อยๆในเกือบทุกแขนงบนชาร์ตเพลงมั้ง2ฝากใหญ่ในช่วง2-3ปีที่ผ่านมา โดยงานชุดนี้มีจุดเด่นคือการดึงเอาเสน่ห์ของรสชาติดนตรีเต้นรำที่หลากหลายมาผสานกันได้อย่างเฉียบขาดตั้งแต่รสชาติของพ็อพแด๊นซ์ติดตลาดธรรมดาไล่ไปจนถึงระดับอัลเทอเนทีฟ แด๊นซ์ฮอลล์ ยูโร ฟั้งค์กี้ย์ดิสโก้ แทรนซ์ ดั๊บ เฮ้าส์ ละทิน เทคโน ฮิพฮอพ นิวเวฟยันไต่กลายร่างไปเป็นอินดี้แด๊นซ์-พั้งค์ติดอิเล็คโทรแกลมผสานซินธิ์ตึ๊บๆเท่ห์ๆแบบฝั่งอังกฤษ "เรโทร" โดยเฉพาะแฟชั่นและธรรมเนียมดนตรีจากยุค80นะคะที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายังคงโลดแล่นวนเวียนอยู่ในวัฏจักรดนตรีเสมอไม้กาลเวลาจะผ่านไปกว่า2ทศวรรษแล้วก็ตาม ที่สำคัญเห็นได้ชัดนะคะว่าศิลปินจากดนตรีเกือบทุกแขนงก็มักจะทำการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการคืนชีวิตและมนตร์เสน่ห์ของซาวนด์เรโทร80ให้กลับมาเฉิดฉายส่งกลิ่นอายบนโลกแห่งเสียงดนตรีอยู่เสมอๆ นับว่าเป็นดนตรีที่ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีและเป็นที่นิยมเสมอไม่เว้นแม้แต่สำหรับศิลปินที่ทำดนตรีอิเล็คโทรนิคแบบFuturisticจริงๆก็ตาม และแน่นอนจะขาดไปไม่ได้กับแนว "พ็อพ" ซึ่งใครว่าร็อคเป็นดนตรีแนวเดียวที่ไม่มีวันตายบนโลกนี้ดิฉันกล้าเถียงว่าไม่จริงนะคะเพราะพ็อพก็ได้พิสูจน์ตัวเองมายาวนานอย่างดีแล้วว่าเปรียบเสมือน "เส้นเลือดใหญ่" และ "ลมหายใจ" ของอุตสาหกรรมดนตรีเลยทีเดียวซึ่งจากรูปแบบการนำเสนรอของคริสทิน่าในชุดนี้ที่สลัดมาทำดนตรีพ็อพจ๋าและวิ่งลงมาสู้กับกระแสของตลาดดนตรีในยุคปัจจุบันขนาดนี้ก็นับว่าเป็นการตอกย้ำได้อย่างสมบูรณืแบบนะคะว่าไม่ว่าอนาคตจะเดินหน้าไปไกลถึงยุคสมัยไหนแต่ความเป็น "พ็อพ" ไม่ว่าจะในแง่ของดนตรีหรือวัฒนธรรมจะยังคงความเป็นที่นิยมอยู่เหนือกาลเวลาทุกยุคทุกสมัยอย่างแน่นอน นอกจาในเรื่องของดนตรีแล้วสิ่งที่ดิฉันคิดว่าน่าสนใจมากๆหรับงานชุดนี้คงหนีไม่พ้น "บรรดาผู้ร่วมงาน" ที่พอเห็นลิสต์ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่ไม่ธรรมดาและส่วนตัวดิฉันเองก็ขออนุญาติให้เครดิตแนะนำโปรดิวซ์เซอร์ทุกท่านโดยขอจำแนกการแนะนำออกเป็น3ส่วนตามธีมการนำเสนอของงานชุดนี้จากมุมมองที่ดิฉันวิเคราะห์นะคะ ส่วนแรกดิฉันขอเรียกว่า "Pop Art" ซึ่งเป็นส่วนที่ภาคดนตรีมีความเป็นเมนท์สตรีมสูงมากโดยเป็นส่วนที่ทำออกมาเพื่อลงไปเล่นกับตลาดเพลงและวัฒนธรรมการบริโภคดนตรีพ็อพในยุคนี้รวมไปถึงภาคดนตรีสนุกสนานสีสันสดใสลายพร้อยเปรียบเสมือนการทริบิวต์ให้แก่ศิลปะของคำว่า "พ็อพ" กลายๆ โดยโปรดิวซ์เซอร์ที่มาดูแลส่วนนี้ก็มี Polow Da Don โปรดิวซ์เซอร์แนวฮิพฮอพอาร์แอนด์บีและเพลงจำพวกพ็อพเต้นรำติดกลิ่นเออร์บันทลายคลับทั้งเลยที่เคยผ่านการร่วมงานกับทั้งอัชเชอร์,เฟอร์กี้ และ PCD มาแล้ว Ester Dean ที่มีเครดิตร่วมแต่งเพลงกับท่านแรกแถมยังเป็นคนโปรดิวซ์แทร็คสุดเก๋อย่าง Vanity แกด้วย Tricky Stewart โปรดิวซ์เซอร์มือทองคำเนื้อหอมซึ่งโดดเด่นบนชาร์ตเพลงฝั่งบิลบอร์ดและเป็นที่ต้องการตัวสุดๆท่านหนึ่งในวินาทีนี้เลยทีเดียวก่อนหน้านี้คุณเขาก็เคยมีดีกรีร่วมงานกับระดับอรหันต์อย่างบียอนเซ่ ริฮานน่าหรือแม้กระทั่งมารายห์ แครีย์มาแล้วและ Le Tigre วงอินดี้จากฝากอเมริกาซึ่งเป็นที่เลื่องลือกับภาคดนตรีซินธิ์พั้งค์ อิเล็คโทรแคลชติดแด๊นซ์เจ๋งๆอันเป็นเอกลักษณ์อันเอกอุของทางวงตลอดจนภาคเนื้อหาเสียดสีสังคม การเมืองและเรียกร้องสิทธิให้แก่สตรีเพศ ถัดมา "Classic Christina" ที่เป็นงานในฝากของเมนทสตรีมบัลลาดเพราะๆในอัลบั้มซึ่งเป็นภาพสะท้อนถึงตัวตนและจิตวิญญาณที่แท้จริงของคริสทิน่าตลอดจนเป็นเครื่องหมายการค้าและเอกลักษณ์มี่มุกวันนี้ทุกคนก็ยังต้องการจากเธอ นำทัพโดยเจ้าป้ามหาภัย Linda Perry โปรดิวซ์เซอร์คู่บุญของเจ๊ติ๊มาตั้งแต่งานชุดStripped Focusโปรดิวซ์เซรอ์สายฮิพฮอพอาร์แอนด์บีที่มาคุมงานในแทร็คคอนเทมโพลารีย์อาร์แอนด์บีเพราะๆอย่าง Sex For Breakfast ถัดมากับ Sia Furler ศิลปินสาวจากออสเตรเลียที่มาทำหน้าที่จัดแจงเขียนบัลลาดหลายเพลงในงานชุดนี้รวมถึงควบด้วยตำแห่งพิเศษฐานะ "ฝ่ายประชาสัมพันธ์กิตติมศักดิ์" ให้คุณนายคริสทิน่าอีกด้วย มีความเคลื่อนไหวใดๆแม้แต่นิดเดียวแม่จะรีบอัพลงทวิตเตอร์ทันที เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของแฟนๆนางติ๊นามากและเท่าที่ดิฉันดูโหงวเฮ้งแม่คนนี้ไว้ก็อยากจะขอเตือนเจ้าป้าลินดาให้ระวังเก้าอี้ของท่านไว้ให้ดีเพราะนางเซียนี่แหละมีแววจะเขยิบมาเป็นExecutive Producer คู่บุญคนถัดไปของคีฃริสทิน่าในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน ปิดท้ายด้วย Samuel Dixon ซึ่งดิฉันไม่แน่ใจนะคะว่าคนนี้เป็นหนึ่งในสมาชิกของ Zero 7 รึเปล่าซึ่งนายคนนี้ก็ร่วมติดสอยห้อยตามเพื่อนสนิทอย่างเจ๊เซียมาร่วมโปรดิวซ์ให้คุณแม่ติ๊ของดิฉัน 4-5 เพลงในอัลบั้มนี้เลยทีเดียว ป้าลินดาหนาวบ้างรึยังล่ะค่ะ? ท้ายสุดกับ "Futuristic" ส่วนที่เป็นที่พิพาทและมีปัญหากันมากที่สุดในงานชุดนี้เนื่องจากการตีความคำๆนี้ของแต่ละท่านมีสโคปไม่เท่ากันนะคะ สำหรับคำว่า Futuristic ในงานชุดนี้เท่าที่พิจารณาดูแล้วก็ไม่ได้ล้ำถึงขั้นเป็นการบุกเบิกสิ่งอัศจรรย์ใหม่ของดนตรีโลกอย่างที่เธอโฆษณาไว้หากแต่เป็น Futuristic ตามเทรนด์การนำเสนอดนตรีที่ร่วมสมัยในยุคปัจจุบันจากการนำอิเล็คโทรนิคนอกกระแสในบางจุดผสานเข้าสู่โลกของดนตรีกระแสหลักซึ่งฟิวช่นเข้ากับการนำเสนอดนตรีโดยผ่านภาพลักษณ์ของความเป็น "พ็อพไอค่อน" จากตัวเธอและสีสันรสชาติอันหลากหลายของดนตรีเมนท์สตรีมอื่นๆที่ได้กล่าวไปข้างต้นซึ่งก็ต้องอนุโลมยอมรับว่างานชุดนี้มีความเป็น Futuristic จริงแต่เป็นเพียงแค่ส่วนประกอบหนึ่งและเป็น Futuristic ในแบบฉบับที่ศิลปินพ็อพในกระแสหลายท่านก็ทำงานประมาณนี้ออกมาให้เห็นกันพอตัวมากกว่าจะเป็นการวาดโครงสร้างทางจินตภาพของดนตรีที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคตอย่างที่เธอทำให้เราเข้าใจ มาที่โปรดิวซ์เซอร์ในส่วนนี้ก็มี Switch ดีเจจาก Major Lazer ที่มาวาดลวดลายอัลเทอเนทีฟแด๊นซ์เก๋ๆที่เจ้าตัวถนัดควบคู่ไปกับ John Hill ที่เข้ามาช่วยควบคุมทิศทางและรักษาภาพรวมให้เนื้องานออกมาไม่โต่งจนหลุดความเป็นพ็อพเกินไป (ว่าแต่Diploสุดหล่อของดิฉันนางติ๊เอาไปทิ้งไว้ซะที่ไหนล่ะเจ้าคะ?) รวมถึงวงอิเล็คโทรนิคสุดเท่ห์จากเกาะอังกฤษอย่าง Ladytron ที่มีเครดิตร่วมแต่งบางเพลงและโปรดิวซ์ Birds Of Prey ในงาน Deluxe Edition และ Little Dreamer ที่เป็นโบนัสแทร็คเฉพาะในItunesด้วยนะคะ (สำหรับ M.I.A กับ Santigoldนี่มาแค่ร่วมแต่ง ส่วงวงสุดเปรี้ยวขวัญใจของดิฉันอย่าง Goldfrapp ได้อันตรธานไปโดยปราศจากคำอธิบายอันดีใดๆทั้งสิ้นจากนางศิลปิน หึหึหึ) ซึ่งทุกท่านที่กล่าวมาทั้งหมดก็สามารถที่จะบูรณาการเอกลักษณ์ทางดนตรีสุดแตกต่างเข้ากับความเป็นพ็อพและตัวตนของคริสทิน่า อากิเลร่าจนสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้งานดนตรีของเธออีกครั้งใน Bionic ชุดนี้เลยทีเดียว จากที่ได้กล่าวไปจึงไม่แปลกนะคะถ้าคุณจะสัมผัสได้ถึงสไตล์และอิทธิพลของศิลปินท่านอื่นในงานรชุดนี้เพราะส่วนตัวเท่าที่ฟังภาพรวมแล้วดิฉันรู้สึกถึงการผสมผสานกันระหว่างความเป็นเซียใน Colour The Small OneและSome People Have Real Problemsเข้ากับภาคดนตรีในงานชุดแรงของซานติโกลด์(สวิตซ์ก็โปรดิวซ์งานชุดนี้ด้วย)ซึ่งรายหลังนี่เหมือนถึงขั้นถอภาคดนตรีออกมาแล้วเปลี่ยนเป็นเสียงคริสทิน่าร้องแทนเลยทีเดียว แถมยังใจเด็ดไต่ระดับไปให้ชวนคิดถึงงานชุด Hard Candy ของเจ๊แม่มาดอนน่าที่แม้ว่าจะไม่ได้มาร่วมงานกันแต่ส่วนตัวฟังแล้วปฏิเสธไม่ลงว่าแรงบันดาลใจที่ออกมามีความใกล้งานของเจ๊แม่ระดับหนึ่งเลยทีเดียวตรงที่ภาพรวมเป็นงานอิเล็คโทรพ็อพเต้นรำผสานเออร์บันเป็นหลักใหญ่ใจความรวมถึงการเลือกที่จะลงไปล้อเลียนตลาดเพลงกระแสหลักยุคปัจจุบันชนิดสุดเหวี่งตลอดจนการเปลี่ยนความฉาบฉวยของเมนท์สตรีมให้กลายเป็นพลังระดับมหาศาลที่ยกระดับงานของตนเองขึ้นได้อย่างมีชั้นเชิง หากแต่ต้องขอชมคริสทิน่าว่าฉลาดที่สามารถฉีกงานของตัวเองให้ดูต่างออกไปได้จากการเลือกทำงานกับศิลปินอินดี้ในบางแทร็ค การใส่สีสันและความหลากหลายทางดนตรีเข้าไปสูงยันบ้าพอที่จะดึงลูกเล่นของศิลปินเมนท์สตรีมตัวแม่ๆในตลาดขณะนี้อย่างพวกPCD จัสติน ทิมเบอร์เลคหรือแม้กระทั่งบริทนีย์ สเปียรส์มาใส่ไว่ในงานชรนิดไม่กลัวโดนด่า อันนี้ยังไม่รวมถึงคุณโปรดิวซ์เซอร์ที่ถูกถอดไปแล้วอย่าง Goldfrapp ซึ่งก็ยังไม่วายอุตส่าห์ตามมาโชยกลิ่นของแรงบันดาลใจในส่วนของการเรียบเรียงแทร็คในอัลบั้มที่มีลักษณะชวนให้นึกถึงสุนทรียภาพในแบบ Black Cherry เพียงแต่ตลทับอีกทีโดยธรรมเนียมการถ่ายทอดนำเสนอเนื้องานในแบบฉบับของคริสทิน่าที่มีการหยอดอินเทอลูดแนะนำเรื่องราวระหว่างแทร็คเหมือนพวกศิลปินฮิพฮอพ อาร์แอนด์บีและโซลซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ของเธอมาตั้งแต่งานชุดStripped จากที่ได้กล่าวมาดูเหมือนว่างานชุดนี้คริสทิน่าจะปล่อยให้ความหลากหลายของดนตรีและอิทธิพลของศิลปินท่านอื่นๆเข้ามามีบทบาทกับตัวเธอเองมาเกินไปหากแต่ต้องขอยืนยันว่าพอภาพรวมออกมาจริงๆกับเป็นงานที่ "สนุก" และ "สีสัน" สูงมากๆเลยทีเดียวและสิ่งหนึ่งที่ประทับใจมากๆก็คือแม้ว่างานชุดนี้จะมีสไตล์ของศิลปินหลายๆท่านรวมอยู่ด้วยกันในระดับที่สูงแต่คริสทิน่าสามารถที่จะเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นให้กลายไปเป็นเอกลักษณ์ใหม่ๆทางดนตรีของเธอได้อย่างเฉียบขาดรวมถึงสามารถดึงตัวตนของเธอเองขึ้นไปยืนเหนืออิทธิพลที่หลากหลายเหล่านั้นพร้อมทั้งรักษาจุดยืนของความเป็น "คริสทิน่า อากิเลร่า" ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ที่สำคัญที่สุดในแง่ของ "คุณภาพ" ที่แม้ว่าจะไม่สามารถทำออกมาในระดับที่เทียบเท่ากับ Stripped หรือ Back To Basics แต่ถ้าพิจารณาถึงความประณีตและวิสัยทัศน์ทางดนตรีเมื่อเทียบกับงานของศิลปินเมนท์สตรีมหลายๆท่านในยุคนี้ก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ว่างานชุดนี้ยังคงไว้ซึ่งชั้นเชิงที่ "ลึก" และมีภาพรวมที่เหนือกว่ามาตรฐานศิลปินแขนงพ็อพหลายท่านอยู่ดี

อย่างไรก็ตามจากความรู้สึกส่วนตัวแล้วคงต้องขอเรียนตามตรงนะคะว่าอัลบั้มชุดนี้เป็นงานของคริสทิน่าที่มีเหตุทำให้รู้สึก "สะดุด" มากที่สุดเมื่อเทียบกับบรรดางานของเธอทั้งหมด เริ่มจากก่อนหน้านี้ที่ "เลื่อน" มาอย่างต่อเนื่องไม่มีกำหนดที่แน่นอนหลายครั้งและเป็นการเลื่อนชนิด "ข้ามปี" ซึ่งส่วนตัวดิฉันก็เข้าใจเหตุผลของเธอนะคะว่าอยากจะประณีตและขัดเกลาเนื้องานชุดนี้ให้ออกมาดีถึงที่สุดหากแต่ต้องขอบอกเลยว่าส่วนตัว "เอือมระอา" กับการที่ไม่สามารถหาความแน่นอนอะไรกับเธอได้สักอย่างเลยจริงๆรวมถึงวิธีการโปรโมตตั้งแต่ก่อนปล่อยซิงเกิ้ล Not Myself Tonight ที่ดูเหมือนจะเก๋ไก๋ตื่นเต้นเร้าใจดีแต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกคือ "ไม่ชอบใจกับวิธีของเธอ" เพราะเป็นอะไรที่ดูใจร้ายกับความรู้สึกของแฟนๆเธอมากๆ ที่สำคัญวิธีทางการตลาดของเธอที่เน้นการทิ้งระยะเวลานานๆแล้วค่อยมาหลุดิอย่างละนิดอย่างละหน่อยซึ่งก็เป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัยงานฃุดแรกแล้ว ตรงจุดนี้ดิฉันคิดว่าเป็นการตลาดที่อันตรายมากที่จะใช้แข่งกับคนอื่นในอุตสาหกรรมดนตรีสากลในยุคนี้เพราะเอาจริงๆ "มันไม่ทันเขาแล้วล่ะค่ะ" เห็นได้ชัดว่าคริสทิน่าทำลายโอกาสที่จะตักตวงกระแสให้กับตัวเองตั้งแต่สมัย Keeps Gettin' Better จนแล้วจนรอดงานชุดนี้ก็ยังแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่หายขาดเสียที ลองคิดกันเล่นๆว่าถ้าซิงเกิ้ลแรกวางบน Itunes หลังจากที่ปล่อยเพลงมาเต็มๆ2วันพร้อมด้วยเอ็มวีและไลฟ์เพอร์ฟอร์มเมนท์แบบทันท่วงทีล่ะก็อนาคตบนอันดับเพลงของเธอย่อมไม่น่าสลดหดหู่ชวนปวดใจขนาดนี้แน่นอนและลองมาคิดกันเล่นๆว่าถ้าเอไม่มัวดึงเกมส์มาจนถึงมิถุนานี้และวางขายอัลบั้มซะตั้งแต่ช่วงต้นปีซึ่งก็เป็นช่วงที่แถบจะไม่มีศิลปินในวงการตัวใหญ่ๆท่านใดที่เป็นไฮไลท์เลยนอกจากนี้ยังเป็นการแก้เกมส์คลิปปริศนาของ Iamamiwhoami อะไรนั่นที่ตอนแรกๆคนเชื่อว่าเป็นเธอและดึงกระแสกลับเข้าหาตัวไปเลยซึ่งก็เชื่อนะคะว่าถ้าเอทำอะไรให้มันเร็วกว่านี้ล่ะก็กระแสความสำเร็จคงจะออกมาน่าพึงพอใจกว่าที่เป็นอยู่แน่นอน (เศรษฐกิจโลกนับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ยังไม่เห็นว่าอะไรมันดีขึ้นเลยจริงๆนะคะเรื่องยอดขายคิดว่าจะขายต้นปีหรือมาขายตอนนี้ก็ไม่ต่างกันเพราะถ้าคนมันคิดจะซื้อมันก็ซื้อ) และขอร้องนะคะคุณคริสทิน่า !!! กรุณาอย่าได้บอกว่า "ไม่สนใจตลาด ไม่แคร์กระแสและอันดับใดๆทั้งสิ้น" ถ้าเป็นสมัยสองงานก่อนที่ทำตัวให้ตลาดวิ่งเข้าหาเป็นสรณะล่ะก็อันนั้นเชื่อแต่ในอัลบั้มนี้เห็นได้ชัดว่าดเธอแคร์ตลาดมากขนาดไหนตั้งแต่ยอมลดเชิงตัวเองมาทำเพลงพ็อพจัดๆซึ่งใน18ออริจินัลแทร็คที่น้ำหนักส่วนมากเทไปหาดปรดิวซ์เซอร์สายเมนท์สตรีมนี่ก็ยืนยันความต้องการอันแท้จริงของเธอได้ดีว่า "อยากกลับมาผงาดในตลาดกระแสหลักขนาดไหน" เพียงแต่ปัญหาของเธอตอนนี้ก็คือ "การเข้าตลาดยุคปัจจุบันไม่เป็น" ก็เท่านั้นแหละ ในส่วนของเนื้องานคงต้องขอสารภาพนะคะว่าตอนแรกที่ฟังรู้สึก "ผิดหวัง" ค่อนข้างมากเลยทีเดียวซึ่งก็ต้องโทษตัวดิฉันเองเนื่องจาก "คิดไปเองและตั้งความหวังกับเธอไว้สูงเกินไป" พองานจริงๆออกมาไต่ไปไม่ถึวงระดับที่คาดการณ์ไว้ก็เลยเกิดอาการ "วัยรุ่นเซ็ง" เป็นธรรมดา ประการแรกคงหนีไม่พ้นการที่อัลบั้ม2ชุดก่อนหน้านี้สามารถพิสูจน์วิสัยทัศน์ทางดนตรีของเธอได้อย่างมีชั้นเชิง ในขณะที่งานชุดนี้เธอเลือกที่จะลงมาเล่นกับกระแสของตลาดเพลงพ็อพแบบชัดเจนเต็มตัวอีกครั้งซึ่งความง่ายและความฉายฉวยในบางจุดนี้เองที่ส่งผลให้ความทรงพลังของเนื้องานดู "ดร็อป" ลงไปโดยปริยายถึงขั้นไปเป็นฐานที่ช่วยส่งเสริมให้ Stripped กับ Back To Basics กลายเป็นมาสเตอร์พีซขึ้นไปอีกระดับ (ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ในรีวิว B2B ที่เคยบอกไว้ว่างานชุดถัดจากนี้น่าเป็นห่วงแน่นอน) ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็คงต้องนับว่าเป็น "กรรม" ของศิลปินที่ทำงานดีมากตลอดทุกรายนะคะเพราะคุณต้องเผชิญกับความคาดหวังของมวลชนในระดับที่สูงอยู่เสมอตลอดจนเป็นการยากที่วันไหนคุฯฃณเกิดพิสดารอยากจะปฏิวัติตัวเองลงมาทำงานง่ายๆสนุกๆผ่อนคลายเบาสบายพ็อพจ๋าขึ้นมาโดยที่จะไม่ถูกสับเละเป็นชิ้นๆเนื่องจากในบรรทัดฐานของผู้ฟังคุณถูกจัดไว้ในกลุ่มของศิลปินที่ต้องมีผลงานเข้าใกล้คำว่า "สมบูรณ์แบบ" เสมอ (จะว่าไปก็แลดูไม่ยุติธรรมกับนักร้องเลยเนอะ!) ประเด็นถัดไปขอยกให้เป็นเรื่องของ "เอกภาพ" ที่ถึงแม้ว่าภาพรวมจะจัดแจงความหลากหลายออกมาได้ลงตัวพอสมควรแต่เมื่อหยิบไปเทียบกับเนื้องานของ Stripped ที่มีความทหลากหลายและเอกภาพในตัวสูงมากๆพอหันกลับมามองงานชุดนี้เลยกลายเป็นอะไรที่ดูประดักประเดิดและไม่เข้าที่เข้าทางไปโดยปริยาย ส่วนตัวเข้าใจความที่งานชุดนี้ใปรดิวซ์เซอร์ขนกันมาชนิดเหลือดเฟือมากๆแดถมแต่ละท่านก็สุดโต่งกับแนวดนตรีเฉพาะทางของตัวเองจนรวมเป็นเนื้อเดียวกันได้ยากเท่านั้นยังไม่พอโชคชะตายังเกิดเล่นตลกจับมาชนกับเจ๊ศิลปินเก่อห้องอัดที่บ้านตัวเองอีกซึ่งตะละแม่ก็บ้าพลังอัดเพลงไม่หยุดเหมือนกันพอมาถึงจุดไฟนอลคัทแล้วปัญหาความไม่ลงตัวก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเป็นธรรมดาด้วยความที่คุณเธอต้องการจะยัดหลายสิ่งหลายอย่างลงมาในเวลาเดียวกันประกอบกับความงกเพลงแถมต้องประดิษฐ์อะไรที่มันเก๋ไก๋สมคำร่ำลือที่ตัวนางเองจีบปากไว้อีกซึ่งก็คงไม่มีปัญหาใดๆนะคะถ้าดันไม่ทะลึ่งมาเจอกับเบื้องบน (RCA) ที่ท่าที่ยึกๆยักๆไม่ค่อยกล้าจะเสี่ยงตายไปไหนไปกันกับเจ้าหล่อนเท่าไรซึ่งพิจารณาจากออริจินัลแทร็คแล้วท่านก็คงจะมีบทบาทในการบีบความเป็นพ็อพตลาดจ๋ากะขายลงสู่ตัวงานมากมายขนาดนี้ ฝากนางศิลปินก็คงสู้สุดใจขาดดิ้น้เหมือนกันบทสรุปจึงออกมามี Deluxe Edition 23แทร็คเปรียบเสมือนโร๊ดแม็ปหาจุดยืนที่เป็นกลางร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีของแฟนๆคริสทิน่านะคะเนื่องจากถ้าพิจารณาเพียงแค่อริจินัลอัลบั้มล่ะก็คงต้องบอกว่าเป็นงานพ็อพดีๆที่ "ขาด" ความจัดจ้านชัดเจนในส่วนของภาคดนตรีหลายขจุดที่ควรจะมีดีกว่านี้ แรงกว่านี้และสมราคุยมากกว่านี้ รวมไปถึงขาดการที่จะสามารถรักษาคอนเส็ปท์ทิศทางของตัวงานที่เคยโปรโมตให้ความหวังไว้ซะบรรเจิดเลิศหรูก่อนหน้านี้ก่อนหน้านี้กับคำว่า "Futuristic" ที่แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการเรียกความสนใจระดับมหาศาลพร้อมกับเป็นกำลังใจให้ชวนติดตามตื่นเต้นกับงานชุดนี้ของเธอชนิดข้ามปีแต่พอตัวงานจริงๆออกมาแล้วก็กลายเป็น "พลาด" เนื่องจากภาพรวมทางดนตรีไม่ได้ล้ำ อนาคตหรือเป็นนิยามใหม่ทางดนตรีอิเล็คโทรนิคระดับสูงที่ไม่เคยเกิดขึ้นก่อนบนโลกนี้อย่างที่เธอเคยพูดไว้แต่อย่างใด ใมนทางกลับกันน่ากลัวว่าอัลบั้มนี้จะสู้ความคาดหวังของแฟนๆบางท่าน (ที่หวังความสมบูรณ์แบบจากเธอมากกกกกก) ไม่ไหวเพราะถ้าพูดกันแบบเปิดใจเลยคือ "ดนตรี" ของงานชุดนี้มันดีหากแต่มันไม่สามารถดีทะลุธีมแฟชั่น บุ๊คเลทส์สวยๆหรือการโปรโมตในช่วงตค้นที่ชวนให้วาดภาพของความคาดหวังไว้สูงมากๆว่าอาจจะมีสิทธิ์ได้ยินดนตรีระดับ Goldfrapp หรือ Ladytron ในภาคพ็อพแต่อย่างใด เหนือสิ่งอื่นใดมันยังดีไม่ทะลุศิลปินท่านอื่นๆ อาทิ มาดอนน่า,ไคลีย์ มิโน๊ค,เกว็น สเทฟานี่หรือแม้แต่บริทนีย์ สเปียรส์ที่งานดนตรีของพวกเธอก็ล้วนแต่มีความเป็น Futuristic ที่สูงในตัวกันทั้งนั้นโดยไม่ต้องมาใช้วิธีการโปรโมตที่เปรียบเสมือนดาบสองคมย้อนกลับไปทิ่มแทงตัวเองให้ขายหน้าแบบคริสทิน่าอีกด้วย นอกจากความขาดดังกล่วแล้วยังชุดนี้ยังค่อนข้างจะแลดู "เกิน" ในส่วนของการวางแทร็คลิสต์ที่ไม่รู้ว่าจับสลากคัดเลือกเพลงหรือใช้ตรรกะใดๆในการเลือกเพราะเท่าที่เห็นคิดว่าเธอให้เครดิตโปรดิวซ์เซอร์สายเมนท์สตรีมบางท่านมากชนิดไม่จำเป็นเสียจนงานออกมาดูเฝือ อาทิ Woo Hoo กับ I Hate Boys นี่ไม่เข้าใจว่าจะยัดเข้ามาให้อัลบั้มมันดูแย่ทำไมเป็นเพลงที่ศิลปินที่มีสิสัยทัศน์ระดับคริสทิน่าไม่จำเป็นต้องชำเลืองมองเลยด้วยซ้ำ หรือจะเป็น Desnudate และ Prima Donna ที่ก็ไม่ได้เข้ากับภาพรวมของคอนเส็ปท์จุดไหนในตัวงานเลยแม้แต่น้อยฟังแล้วเหมือนกับจับยัดๆส่งๆมาให้อัลบั้มมันเต็มเสียมากกว่า เห็นแบบนี้แล้วก็อดที่จะเห็นใจโปรดิวซ์เซอร์ดีๆอย่าง Le Tigre กับล Ladytron ที่เพลงของพวกเขาไม่ได้เข้ามาโลดเฃแล่นในงานชุดนี้มากเท่าที่ควรจะเป็นเช่นเดียวกับ DJ Premiere พรีโมคู่บุญจากงานชุดที่แล้วที่เจอนังติ๊ตัดเดโม9แทร็คที่ทำด้วยกันออกซะราบคาบ ทั้งๆที่เพลงบางเพลงในงานชุดนี้ยังกล้าตัดใจคัดเข้ามาให้เสียภาพรวมได้แล้วทำไมงานของดีเจพรีเมียร์ที่โปรแนวฮิพฮอพและโซลมากกว่าจะใส่เข้ามาไม่ได้ (คิดจะถีบหัวส่งก็บอก?) และที่ตลกมากก็คือไม่เข้าใจว่าไปตกหลุมรักอะไรเซียมันนักหนาเพราะนอกจากบัลลาด4เพลงที่เซียแต่งจะเข้ารอบมาซะครบครันแล้วยังมีบ้าจี้ทำ I Am (Stripped) อุทิศเป็นเพลงปิดงานเดอลุกซ์ด้วย (มากไปหน่อยมั้ย?) ในขณะที่เพลงดีๆอย่าง Little Dreamer กลับกลายเป็นแค่โบนัสแทร็คใน Itunes รวมถึงแทร็คอื่นๆที่ใส่มาแล้วแลดูจะให้รสชาติและความตื่นตาตื่นใจที่ไม่ซ้ำซากมากกว่าอย่าง Kimono Girl,Listen Up หรือ So What You Got กลับไม่ได้รับเลือก ไหนจะ Goldfrapp ที่จีบปากโม้ไว้ซะอย่างดิบดีพอถึงเวลาจริงๆก็เล่นวิชานินจาหายเป็นปริศนาเข้ากลีบเมฆไปซะอย่างนั้น ในขณะที่Polow Da Don ที่ดึงมาร่วมงานด้วยแค่ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน (น่าจะตามคำสั่งของรัฐบาล) กลับได้รับเครดิตล้นหลามในงานมากกว่าทั้งๆที่เพลงไม่ได้ดีอะไรมากมายเลย......ใกล้เกลือกินด่างแท้ๆ!!!

และแล้วเราก็เดินทางมาถึงช่วงที่ดิฉันรอคอยมากที่สุดนั่นคือในส่วนรของการ "วิจารณ์เพลง" ซึ่งไหนๆก็เขียนงานนี้ซะยาวหฤโหดขนาดนี้แล้วก็คงต้องขออุทิศเขียนถึงท่านผู้เข้ารอบทั้ง23เพลงในงานชุดนี้ทั้งหมดตามที่คุณผู้อ่านเรียกร้องนั่นแหละค่ะ โดยอันดับแรกคงต้องขอมอบเกียตริให้แก่ไทเทิ่ลแทร็คเปิดอัลบั้มอย่าง Bionic (3.5/5) ในฐานะที่สามารถสะท้อนจุดยืนของงานชุดนี้ออกมาได้ชนิดกระจ่างชัดสมบูรณ์แบบทั้งภาคดนตรีที่ขยับเข้าไปเล่นกับอิเล็คโทรนิคและซาวนด์ทดลองใหม่ๆที่ผสานกันออกมาได้อย่างมีสีสัน นอกจากนี้ยังรวมถึงในส่วนของทัศนะทางเนื้อหาที่ประกาศถึงจุดประสงค์ ความเป็นมาและจิตวิญญาณแรกเริ่มของงานชุดนี้พร้อมทั้งคารวะวิสัยทัศน์อันเหนือศักยภาพในการรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆให้แก่โลกดนตรีของเธอได้อย่างมีชั้นเชิงในขณะเดียวกัน ตัดสินจากภาพรวมแล้วรู้สึกว่าเพลงนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Creator ของซานติโกลด์ในระดับมหาศาลทีเดียวทั้งภาคเนื้อหาที่ได้กล่าวไป ลักษณะการใช้น้ำเสียงรวมถึงตัวเพลงที่มาในรูปแบบเดียวกันคือเป็นอิเล็คโทร-อัลเทอเนทีฟแด๊นซ์ตึ๊บๆที่แพรวพราวบนลวดลายจากการแต่งแต้มสีสันของดนตรีเต้นรำอันหลากหลาย อาทิ อาร์แอนด์บีเทคโน ดั๊บ แด๊นซ์ฮอลล์ นิวเวฟยันลูกเล่นของดาร์คอัลเทอเนทีฟที่ผสานสรรพสำเนียงโรโบติคยุคอนาคตบีบเข้าความเป็นโซลในน้ำเสียงของคริสทิน่าที่โลดแล่นบนบีทฮิพฮอพติดฟั้งค์ระรัวเจือซาวนด์สแครชหึ่งบีทบ็อกซ์ซึ่งห็นับว่าถอดแบบซานติโกลด์ออกมาเลยทีเดียวหากแต่ต่างกันตรงระดับความเป็นพ็อพที่คริสทิน่าบีบลงมาบังคับทิศทางตัวงานสูงกว่ามากฟังๆไปห็เหมือนกับจับเพลงอิเล็คโทรพ็อพเต้นรำอย่าง Dynamite ในงานรวมฮิตมาปรุงแต่งใหม่บนซาวนด์ดนตรีสไตล์สวิตซ์และฮิลสองโปรดิวซ์เซอร์ที่มาคุมงานให้อยู่เหมือนกัน ฟังแรกๆรู้สึกว่าเพลงนี้ค่อนข้างจะ "จืด" เนื่องจากตัวเพลงเองฉายศักยภาพที่สามารถจะแรงออกมาได้มากกว่านี้อย่างเห็นได้ชัดแต่พอเปิดกรอกหูมากรอบเข้ากับเป็นเพลงที่เก๋ลึกๆบนความฉาบฉวยมีมิติบนซาวนด์แปร่งๆที่ดูไม่ถึงจุดพีคและเท่ห์บนความผิดหวังในรอบการฟังแรกๆโดยแท้ ขณะนี้ชอบมากๆค่ะ อย่างไรก็ตามเมื่อจับมาเทียบกับ Elastic Love (4/5) งานที่ใช้บริการโปรดิวซ์เซอร์เดียวกันก็คงต้องยอมรับว่าเห็นได้ชัดว่าขีดสุดในการดึงศักยภาพของตัวศิลปินในแทร็คนี้มีสูงกว่ามากซึ่งก่อนอื่นดิฉันต้องขอสารภาพว่าตอนฟังครั้งแรกรู้สึกตกใจและประทับใจมากๆเพราะแถบไม่อยากจะเชื่อเลยว่าคริสทิน่าจะสามารถทำเพลงแบบนี้ออกมาได้ดีขนาดนี้กับงานเต้นรำอินดี้แบบอิเล็คโทรแกลมติดพั้งค์ผสานกลิ่นอายยูเคการาจดั๊บสเต็ปแบบ M.I.A จางๆปนกับบีทดิสโก้ตึ๊บๆปะทะนิวเวฟ ยูโร ซินธิไซเซอร์และแกลมร็อคประมาณโกลด์แฟร็ปได้นิ้งและเท่ห์ขาดใจมาก ไม่เสียทีที่ได้ M.I.A มาร่วมแต่งเพราะอิทธิพลของอาเจ๊นี่ส่งกลิ่นหลอนในแทร็คนี้ชนิดถอดวิญญาณมาตีตลาดเมนท์สตรีมมากๆ มาที่ซิงเกิ้ลแรกอย่าง Not Myself Tonight (4/5) งานที่บูรณาการธีมฮิตๆของยุคนี้ไว้อย่างสมคอนเส็ปท์กับอิเล็คโทรพ็อพเต้นรำผสานยูโรและกลิ่นเออร์บันทำให้นึกถึงเพลงเต้นรำของมาดอนน่าใน Hard Candy ที่มีความเป็น Pussycat Dolls ในตัวค่อนข้างสูงจะฉีกต่างออกไปตรงความสดจากความเป็นฟั้งค์หนักๆและบีทดิสโก้กรุยกรายสุดเซ็กซี่ที่แซมเข้าไปได้อย่างลงตัว แม้ว่าชั้นเชิงจะไม่สามารถเทียบเท่ากับบรรดาซิงเกิ้ลเปิดตัวในอัลบั้มชุดก่อนหน้านี้ทั้งหมดได้แต่ก็ต้องชมว่าคิดถูกที่เลือดตัดเพลงนี้ออกมาเป็นซิงเกิ้ลแรกเนื่องจากความจัดจ้านในส่วนของภาคดนตรีและความเป็นคริสทิน่าที่ชัดเจนมากๆในตัวมันเอง นับว่า Polow Da Don สามารถหลอมเอกลักษณ์ดนตรีของตนเองคืนความเป็นคริสทิน่าสู่จิตวิญญาณของดนตรีเมนท์สตรีมจัดๆได้อย่างน่าคารวะโดยแท้ แต่สำหรับเพลงจากน้ำมือของคุณที่เหลือนี่ดิฉันขออนุญาติใช้คำว่า "พลาด" แบบเบ็ดเสร็จทั้งตัวศิลปิน คนคัดเพลงและตัวคุณเองนะคะเริ่มจาก Woohoo (2.5/5) ที่ร่วมงานกับสาวแร็พเพอร์สุดฮอตแห่งปีอย่าง Nicky Minaj กับงานฮิพฮอพอาร์แอนด์บีติดเออร์บันคลับแด๊นซ์หนักๆและสรรพสำเนียงดนตรีจำพวกแด๊นซ์ฮอลล์ดิบดำมันส์หยดปลิดวิญญาณที่แม้ว่าถ้าตัดสินในแง่ของความสนุกติดหูอะไรนี่ก็นับว่าโอเคอยู่หากแต่สำหรับดิฉันเป็นเพลงที่ค่อนไปทางเสี่ยงและด้อยชั้นเชิงที่ควรค่าแก่การจะออกปากชมใดๆเลยทีเดียวด้วยความที่ไม่ใช่เพลงที่เหมาะกับคริสทิน่ารวมถึงเป็นความพยายามอันล้มเหลวในการจะทำเพลงจำพวก Grime หรือ ไบเล่ฟั้งค์แบบ M.I.A ในภาคพ็อพแต่ผลลัพธ์กลับออกมาไม่ถึง ไม่ดีและแลดูตลกชนิดไม่ชวนขำเอาเสียเลย ตามมาติดๆกับ I Hate Boys (2/5) ที่กระชากวัยไปทำพ็อพซะวัยรุ่นแข่งกับพวกเด็กๆทีนควีนทีนดราม่าในยุคนี้เลยทีเดียวจะต่างกันตรงชั้นเชิงที่ตบความเก๋าของฟั้งค์และแกลมร็อคเข้ามาให้ตัวเพลงดูมีภาษีที่เหนือกว่าซึ่งก็เป็นเพลงที่ฟังแล้วติดหูซ้ายแล้วรีบๆไล่ออกไปทางหูอีกข้างชนิดไม่ทันคือส่วนตัวเข้าใจว่างานชุดนี้อยากจะพ็อพอยากจะตลาดอยากจะสนุกแต่ เอ่อ รบกวนกรุณาช้วยทำอะไรให้มันออกมาสมกับที่ยืนค้ำวงการมาร่วม10ปีซะหน่อยบไม่ได้เหรอไงคะ? คือให้มันดูเจริญสมวัยและชั่วโมงบินกว่านี้น่ะค่ะเพราะหล่อนก็คงไม่อยากให้แฟนเดนตายของหล่อนพร้อมใจกันจับแห่เวียนซ้ายขึ้นเมรุเผาเอาซะอีตอนจะ30หรอกเนอะ สลับมาที่งานของฝากทริคกีย์ สจ๊วร์ตโปรดิวซ์เซอร์ที่เมนท์สตรีมที่สุดอีกท่านหนึ่งของอัลบั้มกันบ้างเริ่มต้นด้วย Glam (5) แทร็คที่ก่อนหน้านี้เคยเป็นมือวางอันดับหนึ่งในฐานะซิงเกิ้ลแรกรวมถึงสร้งกระแสให้เป็นที่วิพากษ์จากประโยคเด็ดที่นิตยสารดังฉบับหนึ่งนิยามอย่างเก๋ไก๋ว่า "Poppy,Hip-Hop-Inflected Throwback To Madonna's Vogue" ซึ่งพอมาฟังจริงๆก็เห็นเงาของแรงบันดาลใจจากเพลงของเจ๊แม่อยู่เหมือนกันเพียงแต่ในเรื่องของชั้นเชิงและความคลาสสิคนี่ยังคนละเรื่องกันเลยทีเดียว (กระดูกมันคนละเบอร์กันน่ะค่ะ) อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาในมุมมองเฉพาะคริสทิน่าส่วนตัวก็ขอยกเพลงนี้ให้เป็นหนึ่งในมาสเตอร์พีซของงานชุดนี้เลยทีเดียวนะคะด้วยความที่เก๋ล้ำติดฟูและมีมิติจริงๆจากภาคดนตรีแด๊นซ์-พ็อพ อิเล็คโทรสวยๆที่ร่วมเนรมิตเสน่ห์ของตัวเพลงด้วยจังหวะยูโรอัพบีทสนานใจ เฮ้าส์หรูหรากรีดกรายและสรรสำเนียงอาร์แอนด์บีเย็นๆหากแต่เร่าร้อนสุดๆผลลัพธ์ออกมาเป็นธีมรันเวย์สวยๆที่พร้อมจะเฉิดฉายเพื่อสดุดีวัฒนธรรมอันสุดตระกาของโลกแห่งแฟชั่น จุดประกายไฟให้ปัจเจกชนกล้าที่จะระเบิดความเป็นตัวตนที่แท้จริงซึ่งหลับใหลอยู่ภายใต้จิตวิญญาณให้ประจักษ์แก่สายตาของสาธารณชนและที่สำคัญที่สุดเป็นแทร็คที่เริ่ดสุดๆถ้ามองในแง่ของการ "ทริบิวท์" ให้แก่แรงบันดาลใจอันยิ่งยวดของเธออย่างมหาราชินีเพลงพ็อพมาดอนน่าที่หลายเพลงในระดับขึ้นหิ้งของอีเจ๊นี่ศิลปินเจ๋งๆหลายคนเขาไม่กล้าแตะกันเท่าไหร่หรอกนะคะแต่คริสทิน่ากล้าพอที่จะลองและทำออกมาได้ถึงในแบบฉบับงเธอ ต่อด้วย Desnudate (3/5) ละทินพ็อพเต้นรำที่โดดเด่นจากการร่วมผสานความเป็นFuturisticด้วยบีทอิเล็คโทรนิคและธรรมเนียมละทินเวิลด์ที่คุ้นเคยอย่างจังหวะประจำท้องถิ่นจำพวกซัลช่าและละทินโซล ส่วนคฃตัวฟังครั้งแรกๆแล้วรู้สึกไม่ค่อยถูกชะตาด้วยแต่นานๆไปก็ต้องยอมรับนะคะว่าน่ารักติดหูดีแม้จะออกแกนๆไม่มีอะไรโด่นและไม่น่าจะใช่ตัวเลือกที่หลายคนสนใจจะหันไปมองมากนัก (ถ้าอยากจะทำแนวนี้ให้ล้ำๆขอแนะนำให้ทำกับ Masters At Work!นะคะ) เช่นเดียวกับ Prima Donna (2/5) ที่ภาคเนื้อหาดูทรงพลังได้ใจดีแต่ผิดทุกประการทั้งกาลเทศะ คอนเส็ปท์ยันตัวเพลงที่เลือกมายืนอยูบนธรรมเนียมของอาร์แอนด์บีฮิพฮอพโหลๆผสานโซลซึ่งไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากงานชุดที่แล้วเลยนอกเสียจากมันจะดูแย่กว่ามากก็แค่นั้นไม่เข้าใจว่าเพลงแบบนี้ตัดใจเลือกเข้ามาในอัลบั้มได้ยังไง อย่างที่บอกว่าเพลงแบบนี้ถ้าตัดใจคัดเข้ามาได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรที่จะเลือกงานของดีเจพรีเมียร์เข้ามาซักเพลงด้วยความที่เขาเซียนแนวนี้มากกว่า ให้อารมณ์ที่ออกมาถึงกว่าแม้ว่าจะไม่เข้าพวกพอกันแต่ถ้างานมันดีอะไรๆก็ถูๆไถๆไปได้ เซี่ยนอยากจะร่วมงานกับคนใหม่ๆโดยไม่ดูทิศทางโลกภายนอกแล้วชะตากรรมก็ออกมาเป็นอีแบบนี้แหละค่ะคุณคริสทิน่า มาที่ฝากของบัลลาดซึ่งก็นับว่าเป็นไฮไลท์เด็ดสุดๆของงานชุดนี้ทีเดียวนะคะเพราะส่วนตัวกล้ารับประกันว่าเพราะขั้นเทพทุกเพลงเริ่มจาก Sex For Breakfast (4.5/5) โปรดิวซ์โดยโฟกัสที่ตอนแรกนึกว่าจะเป็นเพลงอาร์แอนด์บีฮิพฮฮพอิเล็คโทรนิคเร็วๆแรงๆที่ไหนได้บทสรุปกลับออกมาผิดคากเป็นคอนเทมโพลารีย์บัลลาดแบบสโลแจมดาวน์เทมโพยกระดับขึ้นไปเป็นโซลฟูลอาร์แอนด์บีไควเอทสตอร์มเนียนๆเมโลดี้ย์บรรเจิดละเมียดละไมท้าชนกับบียอนเซ่ อแชนทิ เจเน็ต มายายันมารายห์ให้รู้กันไปข้าง สำหรับแทร็คนี้ก็ต้องนับ่าเป็นหนึ่งของภาคดนตรีที่เป็นเอกลักษณืของคริสทิน่ามาตั้งแต่งานชุดแรกตั้งแต่สมัยเป็นอาร์แอนด์บีพ็อพเย็นๆใน Blessed ยันขยับไปเป็นอาร์แอนด์บีผสานโซลเต็มตัวอย่างLovin' Me 4 Me และ Without You ในงานชุดถัดๆมา All I Need (4.5/5) งานพ็อพบัลลาดเมโลดี้สวยงามกึ่งซอฟต์ลัลลาบายที่เอร่วมแต่งกับเซียให้ "น้องแม็กซ์" ลูกชายของเธอ แม้จะถูกค่อนขอดว่าเรียบง่ายไปนิดหากแต่เป็นความเรียบง่ายที่เปี่ยมไปด้วยพลังและจิตวิญญาณจากทั้งวาทะศิลป์ด้านเนื้อหาสุดไพเราะเชือดเฉือนคลอเคลียไปกับเสียงโซลสุดอบอุ่นละมุนละไมที่นำพาผู้ฟังเข้าไปสัมผัสถึงความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งปราศจากเงื่อนไขที่แม่คนหนึ่งพึงจะมอบให้ "ลูก" ผู้ที่เป็นเลือดเนื้อ จิตวิญญาณ ลมหายใจและสิ่งดีๆที่มีค่าที่สุดสำหรับชีวิตของเธอ ฟังแล้วก็ชวนคิดถึงเพลง My Baby ในงานชุด Circus ของบริทนีย์ สเปียรส์ที่ไพเราะจับใจสวยงามไม่แพ้กัน ต่อด้วย Lift Me Up (4.5/5) และ You Lost Me (4/5) สองงานบัลลาดที่ถูกจับตามองมากที่สุดในอัลบั้มนี้กับงานอดัลท์คอนเทมโพลารีย์เมนท์สตรีมพ็อพบัลลาดสุดไพเราะ โดยเพลงแรกได้ป้าลินดา เพอร์รีย์มาโปรดิวซ์ซึ่งก็เป็นงาน Inspiration บัลลาดที่สืบสานความสำเร็จและแรงบันดาลใจต่อจาก Beautiful เพลงเก่งของเธอซึ่งภาคดนตรีก็มาในสูตรสำเร็จใกล้เคียงกันจะต่างกันตรงที่เพลงนี้หยอดเสน่ห์ของความเป็นร็อคจากเครื่องดนตรีจำพวกเพอร์คัสชั่น ซินธิ์และเบสส์เข้ามามากกว่า ในขณะที่แทร็คหลังร่วมจรดปากกาโดยเจ๊เซียซึ่งก็เป็นงานอดัลท์คอนเทมโพลารีย์เมนท์สตรีมบัลลาดที่ไพเราะกรีดกรายบนท่วงทำนองเพียโนพลิ้วไสวและออเครสตร้าสุดอลังการถ่ายทอดเรื่องราวด้วยน้ำเสียงโซลนุ่มนวลทรงพลังตามแบบฉบับบัลลาดคลาสสิคของคริสทิน่าที่ผู้ฟังต้องการ สำหรับ I Am (4.5/5) ก็เป็นอีกหนึ่งพ็อพบัลลาดบริสุทธิ์สะอาดสะอ้านบนบีทกีตาร์อคูสติคหวานๆ เครื่องสายและเพียโนคลาสสิคงามระยับสไตล์เซีย(อีกแล้ว)ส่วนตัวประทับใจภาคเนื้อหาที่เข้าถึงด้านลึกๆที่สวยงามและเปราะบางของคริสทิน่าได้อย่างดีนอกจากนี้ยังแอบปลื้มกับภาคดนตรีที่วาดลวดลายได้อย่างเปี่ยมด้วยมิติทำให้แอบคิดเล่นๆไม่ได้ว่าถ้าเธอกล้าสลับดนตรีให้กลายเป็นดาวน์เทมโพและเอ็กซ์เพอริเมนทัลแล้วล่ะก็จะสามรถพัฒนาขึ้นไปถึงระดับเดียวกับงานของ Zero 7 ไม่ก็ Presocratics เลยทีเดียว ตัดกลับมาในส่วนของอัพเทมโพสนุกสนานกับ My Girls (4/5) ที่ได้ศิลปินสุดเก๋าอย่างพีซมาลงเสียงแร็พฟีทเจอริ่งด้วย ตัวเพลงเป็นซินธิ์พั้งค์อิเล็คโทรดืดดึ๋งติดเรโทรซาวนด์แบบนิวเวฟและฟั้งค์ยุค80ซึ่งเนื้องานก็ออกมาเจ๋งสมกับที่ได้ศิลปินระดับ Le Tigre มาโปรดิวซ์ให้แถมเพลงไม่ได้ออกมาติ๊สท์และตึ๊บจัดอย่างที่กลัวในตอนแรกด้วยการหยอดความเป็นพ็อพจากตัวของคริสทิน่าเองเข้ากับอันเดอกรานด์แร็พเท่ห์ๆสไตล์พีซที่เมื่อจับมาประสานงากันแล้วให้บทสรุปออกมาเป็นที่น่าประทับใจเลยทีเดียว ตามด้วย Vanity (4/5) โอลด์สคูลแด๊นซ์-พ็อพดิสโก้ติดอาร์แอนด์บีและอารมณืฟั้งค์กีย์ช่วง70-80ซึ่งคริสทิน่าก็สามารถก็สามารถวาดลวดลายการใช้เสียงฟัลเซ็ทโทที่ท้าชนชวนให้นึกถึงทั้งพริ๊นซ์,จัสติน ทิมเบอร์เลคและไมเคิล แจ็คสันผสานเข้ากับลูพการนำเสนอสุดทรงศักดิ์สไตล์มาดอนน่าสมัยที่ยังเป็นสตรีนักปฏิวัติและความกรี๊ดกร๊าดกระตู้วู้ทุกอณูเพลงแบบPussycat Dolls ตบด้วยภาคเนื้อหาเชิง Nacissm ที่เทิดทูนบูชาความงามและความหลงใหลในรูปลักษณืของตนเองซึ่งก็เป็นอะไรที่ดูเหมาะกับคริสทิน่าเป็นอย่างยิ่งหากแต่ไฮไลท์ทั้งหมดทั้งมวลกลับไปอยู่ที่เสียงของน้องแม็กซ์ในช่วงจบเพลงที่ทำให้อดอมยิ้มในความน่ารักช่างคิดของเธอไม่ได้ (ทำงานกับเป็นครอบครัวดีเนอะ) นับว่าหยิบเพลงมาปิดอัลบั้มได้อย่างน่าประทับใจโดยแท้ มาที่ส่วนของ5แทร็คในงานเดอลุกซ์ซึ่งแต่ละแทร็คก็ล้วนแต่ระเบิดศักยภาพในตัวออกมาในระดับที่สูงมากๆตลอดจนความน่าสนใจ สีสันและชั้นเชิงในตัวที่ชวนจับตาจนรู้สึกเสียดายที่บางแทร็คไม่ได้รับเลือกเข้าไปในออริจินัลอัลบั้ม เริ่มด้วย Monday Morning (4.5/5) ที่โปรดิวซ์โดยสวิตซ์ ตัวเพลงเป็นงานอิเล็คโทรพ็อพหอมกลิ่นเรโทร80ฟุ้งจากซาวนด์นิวเวฟน่ารักเจือซินธิ์พ็อพทรงเสน่ห์และบีทดิสโก้สวยๆเจือจาง ฟังแล้วชวนนึกถึงเพลงของซานติโกลด์ในภาคเกว็น สเทฟานี่ที่อุทิศให้แก่ยุคแรกเริ่มของมาดอนน่าไม่ได้ ต่อด้วย Birds Of Prey (5) เพลงสุดเท่ห์จากฝีมือของเลดี้ทรอนซึ่งตัวเพลงก็มีความเป็นเลดี้ทรอนสูงมากทั้งจากวัฒนธรรมในการประดิษฐ์สำนวนวาทะศิลป์ การเรียบเรียงและภาคดนตรีที่เป็นอิเล็คนิคสุดติ๊สท์และอินดี้จัดๆที่เสริมทัพด้วยนิวเวฟ แกลมร็อค ซินธิ์พั้งค์ตึ๊บๆเครื่องเท่าบ้านที่ชวนให้นึกถึงงานจำพวกอิเล็คโทรแคลชและเทคโนช่วงยุค90แถมด้วยการหยอดเสน่ห์แอมเบี้ย์หลอนๆจากกลิ่นอายเวิลด์ที่เจือในสรรพสำเนียงออกอาราบิคของเธออีกด้วย ฟังแล้วก็รู้สึกเสียดายที่เพลงดีๆแบบนี้ไม่มีสิทธิ์ได้เข้าไปโลดแล่นในออริจินัลแทร็คซึ้งก็นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ดิฉันอคติต่องานชุดนี้เล็กๆเลยทีเดียวเนื่องจากงานชุดนี้ควรจะมีเพลงอิเล็คโทรนิคประมาณนี้ให้มากกว่านี้ถึงแม้ว่าจะแลดูหม่นหมองเกรี้ยวกราดเกินภาพรวมหากแต่ก็เป็นแทร็คที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางดนตรีและความแปลกใหม่ที่เด่นชัดของคริสทิน่าเลยทีเดียว สลับมาฟังบัลลาดเพราะๆฝีมือเซียใน Stronger Than Ever (4.5/5) อีกหนึ่งงานเมนท์สตรีมบัลลาดสูตรสำเร็จที่มีทีเด็ดตรงท่อนคอรัสที่เพราะขาดใจมากๆทำให้ย้อนนึกไปถึงอารมณ์ของบัลลาดช่วงยุค90ของ มาดอนน่า,มารายห์,วิทนีย์,ซีลินยันพวกทีนดิว่าอย่างบริทนีย์ แมนดี้และเจสซิก้ารวมไปถึงตัวของคริสทิน่าเองซึ่งศิลปินหญิงทุกท่านที่กล่าวมานี้มีงานบัลลาดที่มีเมโลดี้สวยและมีท่อนฮุคที่เพราะกันมากๆเลยทีเดียว เป็นสูตรสำเร็จที่หาแถบจะไม่ได้จากบัลลาดในยุคนี้แล้ว มาที่ Bobblehead (4.5/5) ฟังครั้งแรกถึงกับผงะด้วยความที่เสียงร้องเป็นซานติโกลด์จ๋ามากๆ (รวมไปถึงมิสซี่ เอเลียตนิดๆ) กับดนตรีสไตล์Hollertronixแบบที่แฟนเพลงของพวกสวิตซ์และดิพโลคุ้นเคยกันดีกับการใส่บีทอิเล็คโทรนิคตึ๊บๆหนักๆเข้าไปผสานกับมิติของอัลเทอเนทีฟแด๊นซ์หลากสีสันอาทิดั๊บ เฮ้าส์ แด๊นซ์ฮอลล์ นิวเวฟและฮิพฮอพดรัมส์แอนด์เบสส์ประสานงาเข้าด้วยกันออกมาเป็นแทร็คเต้นรำสุดมันส์ที่ดนตรีเจ๋งและภาคึเนื้อหาเธอจิกมากฮ่ะ ส่วนตัวประทับใจตรงที่คริสทิน่าสามารถฉีกกรอบตัวเองจากการใช้น้ำเสียงแบบเดิมๆลงมาเล่นกับมิติใหม่ๆได้อย่างชวนตะลึงโดยแท้ ฟังแล้วก็น่าจับไปเป็นแขกรับเชิญในอัลบั้มหน้าของ Major Lazer ปิดงานด้วย I Am (Stripped) (4/5) Stripped Down Versionของ I Amที่แม้ว่าส่วนตัวจะไม่เข้าใจว่าใส่มาทำไมเพราะเพลงอื่นๆที่น่าจะใส่เข้ามาก็มีอีกถมถืดแต่ก็เป็นบัลลาดปิดอัลบั้ม (Deluxe) ที่เพราะดี แหม!!ก็ออริจินัลเวอร์ชั่นมันดีอยู่แล้วนี่คะ ไหนๆห็ไหนๆก่อนจากขอแถมด้วย Little Dreamer (3.5/5) ที่เป็นโบนัสแทร็คเฉพาะใน Itunes ก็เป็นงานอิเล็คโทรพ็อพน่ารักติดซินธิ์ดืดๆดึ๋งๆและบีทยูโรดิสโก้อ่อนๆที่ฟังแล้วรู้สึกว่าดีเกินกว่าจะเป็นแค่โบนัสแถมใน Itunes ถ้าเป็นไปได้ดิฉันอยากจะเสกให้เพลงนี้สลับร่างเข้ามาในอัลบั้มและไล่ให้เพลงประเภท I Hate Boys หรือ Desnudate ไปเป็นโบนัสแทร็คในนรกเสียแทน เฮ้อ เห็นสภาพงานชุดนี้แล้วปวดใจถ้าไม่มีปัญญาคิดเพลงดีๆจะไม่ว่าซักคเลยติ๊เอ๊ยนแต่เพลงดีๆมีเป็นกระบุงแล้วไม่ใส่เข้ามานี่สิ น่าเจ็บใจแฟนเพลงมากกว่านะ


บทสรุปของงานชุดนี้สำหรับดิฉันอาจจะออกมาค่อนข้าง "ไร้พลัง" มากกว่าที่ตั้งความหวังไว้มากแต่อย่างไรก็ตามส่วนตัวยังคงยืนยันว่างานชุดนี้เป็นอัลบั้มพ็อพที่ดีมากๆชนิดที่เรียกได้ว่าคุ้มค่าแก่การรอคอยมากกว่า2ปี เป็นอีกหนึ่งย่างก้าวที่ดีที่คริสทิน่าแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและศักยภาพในการรังสรรค์สิ่งใหม่ๆให้แก่ผลงานของตัวเองอย่างไม่หยุดยั้งตลอดจนเป็นอีกครั้งที่เธอสามารถหลอมตัวเองเข้าไปเล่นกับสิ่งใหม่ๆได้อย่างแยบยล สำหรับดิฉันอัลบั้ม Bionic ยังคงเป็นบทพิสูจน์ถึงวิสัยทัศน์ทางดนตรีสุดขบถ พัฒนาการในฐานะศิลปินและที่สำคัญที่สุดนับเป็นอีกครั้งที่คริสทิน่าสามารถยืนเหนือโจทย์ของทุกสิ่งทางดนตรีและทลายกำแพงแห่งคำครหาออกมาได้อย่างน่าประทับใจ......เช่นที่เคยเป็นมา




แก้ไขล่าสุดโดย Armand D'Angouleme เมื่อ Sat Oct 02, 2010 8:19 am, ทั้งหมด 9 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
It's All An Attitude






แก้ไขล่าสุดโดย Armand D'Angouleme เมื่อ Sat Jun 19, 2010 3:11 am, ทั้งหมด 9 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
ช่วงปลายเดือนจะมาลงในส่วนของ Back To Basics,Keeps Gettin' Betterและบทนำของ Bionic นะคะ เขียนเสร็จแล้วแต่ขี้เกียจพิมพ์

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
ตกลงแล้ว อันนี้ รีวิวอัลบั้มหรือศิลปินหลอฮะ Confused Confused Confused Confused

ตอนแรกมองผ่านๆนึกว่า ไม่มีกระทู้ใหม่น่ะนี่ แต่เห็นปักหมุดก้อ อ่อ ยังไม่ต้องปักดีกว่าน่ะฮะ

เพราะสารพาบวา ตอนแรกไม่เห็นจริงๆ

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
D พิมพ์ว่า:
ตกลงแล้ว อันนี้ รีวิวอัลบั้มหรือศิลปินหลอฮะ Confused Confused Confused Confused

ตอนแรกมองผ่านๆนึกว่า ไม่มีกระทู้ใหม่น่ะนี่ แต่เห็นปักหมุดก้อ อ่อ ยังไม่ต้องปักดีกว่าน่ะฮะ

เพราะสารพาบวา ตอนแรกไม่เห็นจริงๆ


รีวิวอัลบั้มค่ะแต่ลงไฮไลท์ของตัวศิลปินนำก่อน รีวิวเต็มๆน่าจะกลางเดือนหน้าค่ะ ที่ลงรีวิวปักหมุดไว้ก่อนเพราะอยากจะพิมพ์ไปเรื่อยๆแบบสบายๆเพราะรีวิวนี้ยาวพิมพ์และตัดปัญหาที่ผู้อ่านบางท่านบอกว่าบางที "รีวิวยาวเกินไปอ่านไปไหว" รวมถึงช่วงปลายเดือนนี้คงไม่มีเวลามาเล่นบอร์ดช่วงนี้อยากลงอะไรก้เลยลงไปก่อนเลยน่ะค่ะ

ป.ล. ที่ปักหมุดเนื่องจากตั้งใจว่าจะให้เป็นรีวิวใหญ่ของแนสปีนี้ค่ะรวมถึงมีเรื่องที่จะพุดเกี่ยวกับปัญหาของบอร์ดรีวิวด้วย ซึ่งต้องขอบคุณพี่สตาฟที่อนุญาติ Smile

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
สำหรับอัลบั้มนี้ เท่าที่เดี๊ยนฟังมา เดี๊ยนสามารถคาดการณ์ความเป็นไปได้ของอัลบั้มตี๊ออกได้ในระดับนึงค่ะ อัลบั้มนี้มีช่องโหว่อยู่ช่องนึงที่ทำให้ภาพตัวอัลบั้มเปลี่ยนไปจากคำว่า "ดี" เป็น "ดีไม่พอ" สาเหตุก็คือลูกโม้ที่เคยให้ไว้กับสื่อต่างๆว่ามันจะดีอย่างโน้นอย่างนี้ และมีโปรดิวเซอร์มือทองอย่าง goldfrapp กับ ladytron ยิ่งทำให้ตัวอัลบั้มนี้มีความคาดหวังจากแฟนคลีบว่ามันจะต้องเป็นงานที่มีเอกภาพ และมีความเป็นอิเล็กโทรจัด เมื่อ NMSTN ออกมาเป็นซิงเกิ้ลแรก เดี๊ยนถึงกับอึ้งกิมกี่ ภาพที่เกิดขึ้นในหัวกับตัวเพลงที่ออกมามันคนละขั้ว ตัวเพลงที่ออกมาป๊อบจ๋ามาก แทนที่จะไดเยินเพลงที่ออกแนวอิเล็กโทรมากกว่านี้ จากนั้นตัวอัลบั้ม preview ที่ออกมาเป็นระลอก ยิ่งตอกย้ำเข้าไปอีกถึงรอยโหว่นี้อย่างจิงจัง ภาพรวมอัลบั้มนี้ไม่ได้เลวร้ายอะไรเท่าที่ฟังมา เดี๊ยนคิดว่าเป็นงาน "ป๊อบ" ที่มีคุณภาพด้วยซ้ำไปแต่เพราะเหตุผลที่ว่ามานั่นแหละ สำหรับอัลบั้มนี้ คำว่า Electro ยังไม่พอค่ะ ตียังคงเกาะความเป็นป๊อปไว้ และรับอารมณ์ของอัลบั้มที่แล้วมาใส่ลงไปเยอะมาก เห็นได้จากเพลงช้าอีครึ่งอัลบั้มให้หลังรวด และหมัดเด็ดของอัลบั้มนี้ที่สามารถทำให้กลายเป็นงาน electro ได้ถูกตัดไปหมดแล้วเช่น Ladytron ก็เป็นอันแน่นอนค่ะว่ามันไม่ใช่อัลบั้มที่ทุกคนบอกได้เต็มปากว่าเริด แต่เพียงบอกได้แต่ว่า สนุกเท่านั้นเองค่ะ

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
ชอบอัลบั้มนี้มากกกกกกกกที่สุดตอนนี้ล๊ะ


_________________

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว ส่ง Email ชมเว็บส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
จากที่ฟังผ่านๆ เหมือนที่ Gigi บอก คือ ด้วยที่โม้ไว้มากมายสารพัด แต่หล่อนกลับไม่เอามันเหล่านั้นมาลงในอัลบั้ม ทำให้อัลบั้มนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับป๊อปอิเล็คโทรนิคที่มีในตลาด ณ ตอนนี้ เพียงแต่ว่างานมันละเมียดและพลังปอดสูงกว่าช่วงตัวเท่านั้น (หรือเพาะว่าห่อนไม่มีเวลาพินิจพิจารณาเท่าสองอัลบั้มที่แล้ว) อย่างไรก็ตามยังสามารถเรียกได้เต็มปากว่า "ดี" แต่ "ไม่ได้เท่าที่คิด" นะครับผม!!!

ปล.บ่นอีกครั้ง Woohoo เอาใส่มาทำไม ?



_________________

April fighting! + angel Sojin�
ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
ขอบคุณทุกๆรีพลายนะคะเดี๋ยวจะมาทยอยตอบเป็นรายคนไปนะ ส่วนรีวิวนี่คิดว่าไม่น่าจะเกินช่วงกลางเดือนก็คงจะลงให้อ่านกันแล้ว คือตอนนี้ก็รอแต่ซื้ออัลบั้ม เช็คโปรดิวซ์เซอร์และก็เรียบเรียงอะไรอีกเยอะ อาจจะรอนานหน่อยนะแต่ก็จะพยายามเขียนออกมาให้ดีที่สุดค่ะ Smile

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
ตอบ หน้า 1 จาก 4
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
  


copyright : forwardmag.com - contact : forwardmag@yahoo.com, forwardmag@gmail.com