˹���á Forward Magazine

ตอบ

บาซ เลอห์แมน อาจนำวรรณกรรม เดอะเกรท แก็ตสบี้ มาสร้างในระบบ3D
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ บาซ เลอห์แมน อาจนำวรรณกรรม เดอะเกรท แก็ตสบี้ มาสร้างในระบบ3D 


นิตยสารเดอะ ฮอลลีวู้ด รีพอร์เตอร์ รายงานว่า "บาซ เลอห์แมนน์" ผู้กำกับชาวออสเตรเลียชื่อดัง เขาได้นำวรรณกรรมเรื่อง "เดอะ เกรท แก็ตสบี้" โดย"เอฟ สก๊อต ฟิทซ์เจอรัลด์" นักเขียนชาวอเมริกัน มาทดลองสร้างเป็นระบบ 3 มิติ (3D) แต่อย่างไรก็ดี เขายังไม่ได้ประกาศแผนการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวเป็นระบบ 3 มิติแต่อย่างใด

โดยเลอห์มานน์ พร้อมกับผู้กำกับรายอื่นๆ อาทิ ไมเคิล มานน์ และโอลิเวอร์ สโตน กำลังอยู่ในระหว่างการเยี่ยมชมงานแสดงเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำปี (Consumer Electronics Show) ที่เมืองสาลเวกัส เพื่อพูดคุยถึงจุดเด่นของเทคโนโลยีบลู-เรย์ ระหว่างการสัมมนาซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท "ฟ็อกซ์" พร้อมกับฉายตัวอย่างภาพยนตร์ของเขาในรูปแบบบลู-เรย์ เช่น "มูแลง รูจ" และ "โรมิโอ แอนด์ จูเลียต"

เลอห์มานน์ ฝากคำเตือนถึงผู้สร้างภาพยนตร์ว่า พวกเขาต้องแสดงความรับผิดชอบต่อผลของนวัตกรรมใหม่ดังกล่าว "พลังของบลู-เรย์ ยิ่งใหญ่มาก คุณต้องแสดงสำนึกความรับผิดชอบ หากมีการนำมันไปใช้ในทางที่ผิด" เขากล่าว "การเพิ่มรายละเอียดของภาพ ทำให้มองเห็นรายละเอียดมากขึ้น และทำให้มีทางเลือกในกระบวนการจัดเก็บและบันทึกมากขึ้น ซึ่งนั่นก่อให้เกิดคำถามใหม่ๆอีกมากมายต่อสิ่งที่เทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างให้กับเรา"

ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะ แอลเอ ไทมส์ รายงานถึงความเห็นสนับสนุนของเลอห์มานน์ที่รู้สึกตื่นเต้นต่อเทคโนโลยีดังกล่าว ท่ามกลางข่าวลือที่ว่าลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ, แครี่ย์ มัลลิแกน และโทบี้ แม็คไกวร์ จะร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว

และข่าวการสร้างเดอะ เกรท แก็ตสบี้ ในรูปแบบ 3 มิติ อาจเป็นการส่งสัญญาณว่า ไม่ใช่แค่เพียงภาพยนตร์แอ็คชั่น แฟนตาซี หรือแค่การ์ตูนเท่านั้น ที่สามารถถ่ายทำในรูปแบบ 3 มิติได้ โดยมาร์ติน สกอร์เซซี เตรียมนำวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง The Invention of Hugo Cabret ของไบรอัน เซลส์นิก มาสร้างเป็นระบบ 3 มิติเช่นเดียวกัน

ขณะที่เดฟ คาลฮูน บรรณาธิการภาพยนตร์จากนิตยสารไทม์ เอาท์ กล่าวว่า หัวใจเข้าแทบสลาย หลังทราบว่ามีความเป็นไปได้ที่เลอห์แมนน์จะนำวรรณกรรมเรื่องดังกล่าวมาถ่ายทำในระบบ 3 มิติ "ถ้าคุณมัวแต่เสียเวลาคิดว่าจะทำอย่างไรให้หมวกของแก็ตส์บี้ลอยออกมานอกจอได้อย่างไร หรือสร้อยคอของเดซี่ จะออกมาทิ่มตาของคุณได้อย่างไร มีอะไรอีกที่คุณจะไม่ยอมเสียเวลาคิดถึง" เขากล่าว "เรื่อง? บท? จังหวะ? การแสดง? หรือว่าตัวละคร?"

ปัญหาของระบบ 3 มิติก็คือ มันเป็นแค่เครื่องมือทางการตลาดเพื่อเพิ่มเพียงแค่ยอดขายตั๋วเท่านั้น"ถ้าความชอบของเลอห์มานน์ ก่อให้เกิดสิ่งใหม่และน่าสนใจได้ ก็ปล่อยให้เขาทำต่อไป" คาลฮูนกล่าว

"แต่อย่าแสร้งลืมว่า ระบบ 3 มิตินั้นถือเป็นการปลดปล่อยชีวิตทางศิลปะประเภทหนึ่ง มันเหมือนกับการเปรียบเทียบระหว่างการบังคับให้เอา ′ลินด์เซย์ โลฮาน′ มาแสดงในหนังเรื่องหนึ่ง มากกว่าที่จะเลือกเอา ′รีเบ็คก้า ฮอลล์′ เพียงเพราะว่าฝ่ายแรกอาจทำเงินให้กับหนังมากกว่าฝ่ายหลัง คุณอาจสร้างหนังได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุดโดยมีโลฮานร่วมแสดงด้วย แต่มันอาจจะดีกว่าถ้าเธอจะไม่ได้แสดงในหนังของคุณเลย

วรรณกรรมเรื่อง เดอะ เกรท แก็ตสบี้ ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1925 ที่สะท้อนถึงการล่มสลายของความฝันของคนอเมริกัน (American Dream) ซึ่งก็คือความเชื่อ ความหวังว่าคนเราสามารถสร้างเนื้อสร้างตัว มีฐานะขึ้นมาได้ด้วยความสามารถและขยันหมั่นเพียรของตนเอง ในเรื่องนี้ผู้แต่งสะท้อนว่า สมัยปี 1920 เป็นสมัยที่ผู้คนต่างพากันหลงใหลความร่ำรวย ชื่อเสียง เงินทอง แบบไม่ลืมหูลืมตา ทำให้ความฝันเหล่านี้เริ่มพังทลายลง โดยสื่อผ่านชีวิตของ เกรท แก็ทส์บี้







_________________


ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว ชมเว็บส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
ไม่เคยรู้เลยนะเนี่ยว่ามีเรื่องนี้


_________________
ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว ชมเว็บส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
แก่ยังหล่อเลย อ้าๆๆๆ


_________________
ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
ตอบ หน้า 1 จาก 1
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
  


copyright : forwardmag.com - contact : forwardmag@yahoo.com, forwardmag@gmail.com