
http://hysteriaculture.wordpress.com/2013/10/13/back-in-the-day-the-rapture-pieces-of-the-people-we-love-indie-rockdance-punkfunkdisco-100-55/comment-page-1/#comment-231
hysteriaculture
(Back In The Day) The Rapture : Pieces Of The People We Love : Indie Rock/Dance-Punk/Funk/Disco (100% = 5/5)
(นั่งอ่านรีวิวเก่าๆที่ตัวเองเคยเขียนแล้วไปจ๊ะเอ๋กับอัลบั้มนี้พอดี ไม่ได้ฟังนานมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกแล้วคิดถึงจัง!!! ว่าแล้วขอหยิบมาลงอีกครั้งนะคะ ลืมไปนานแล้วว่าเคยคลั่งและหลงรักงานชุดนี้หัวปักหัวปำขนาดไหน)
รูปแบบเพลง
จาก Echoes งานเพลงชุดแรกในปี2003ที่เป็นการก่อตัวระหว่างพังค์ ฟั้งค์และดิสโก้ผสมผสานกันอย่างลงตัวสู่อัลบั้ม Pieces Of The People We Love งานชุดที่สองที่ได้ลดบทบาทภาคดนตรีโพสท์พังค์ดุๆแรงๆจากอัลบั้มแรกโดยหันไปตอบสนองกระแสการฟื้นคืนชีพอีกครั้งของดนตรีดิสโก้ โดยภาคการนำเสนอของงานชุดนี้ภาพรวมออกมาเป็นงานนิวเวฟดิสโก้ที่พกกลิ่นอายหอมหวานตามแบบฉบับยุค80ผสานบนสรรพสำเนียงดนตรีแดนซ์-พังค์ก่อนจะเสริมทัพด้วยความเป็นเรโทร ฟั้งค์ คลับแดนซ์ อิเล็คโทรและอินดี้คลุกเคล้ากันได้อย่างลงตัว ผลลัพธ์ออกมาเป็นงานเต้นระบำดิสโก้ที่มีกลิ่นอายย้อนยุคแต่เปี่ยมล้นไปด้วยความเปรี้ยวล้ำสมัยสุดๆ ชนิดที่คนรักดนตรีตัวจริงไปจนถึงคนเก๋ คนฮิพ คนเปรี้ยวทั้งหลายถ้าได้พลาดไปนี่ไม่เท่ห์นะคะเอ้า!
จุดด้อย
เรื่องตัวอัลบั้มนี่ตัดออกไปได้เลยค่ะเพราะไม่มีอะไรจะบรรยายนอกจาก ถ้ารักการฟังดนตรีจริงๆเดียนก็อยากจะแนะนำให้ไปลองหามาฟังกันดู เพราะนี่แหละที่เขาเรียกว่าดนตรีดีๆของจริง เปรี้ยว ลงตัว เหนือชั้นและทันเทรนดจนเกินจะกล่าว (จะว่าไปมมันออกแนวล้ำเทรนด์ดนตรียุคนี้ไปหนึ่งช่วงตัวเหมือนกัน) แต่ถ้าให้มองกันในเรื่องความเป็นที่นิยมชนิดกว้างขวางระดับเดียวกับงานของศิลปินพ็อพหรืออาร์แอนด์บียุคนี้ก็คงต้องยอมรับว่านี่แหละข้อด้อย อาจจะเป็นที่ ความฟังยากของตัวเพลง น่ะค่ะคือในกรณีของคนที่ฟังดนตรีชั้นเซียนแล้วเจออะไรหนักๆหลากหลายมาเยอะนี่มันก็ไม่ากที่จะเข้าถึงหรอกแต่ถ้าให้มามองฐานผู้ฟังดนตรีพิมพ์นิยมแบบกว้างๆไม่ต้องอะไรมากเอาแค่ผู้ฟังในบ้านเราก็พอมาฟังแล้วเชื่อว่าส่วนมากต้องบอกว่าฟังไม่ง่ายแน่ (100จะผ่านถึง10หรือเปล่านี่ก็ไม่แน่ใจ) ด้วยความที่ความนิยมของภาคดนตรีประเภทนี้มันยังถูกจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มรวมถึงการตีความทางภาคดนตรีที่ลึก ซับซ้อนและแตกต่างออกไปจากภาคดนตรีที่ผู้ฟังบ้านเราคุ้นเคยกันอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ฟังหลายท่านผจญภัยไปกับมันไม่ถึงจุดหมายปลายทางน่ะค่ะ ขนาดตลาดโลกยังได้รับการกล่าวถึงค่อนข้างน้อยนับประสาอะไรกับบ้านเราที่ศิลปินดีๆอย่างอลิช่าส์ คียส์/เจมี่ คัลลัม/Tahiti 80/จอส สโทน ฯลฯ ยังแข่งกันเงียบและเพลงที่ฟังยากกว่าอย่างThec Raptureนี่จะเกิดกับเขารึเปล่าก็ไปคิดกันดูเล่นๆเอาสิคะ หึหึหึ แต่อย่างไรก็ตามรีวิวในที่นี้ก็มีจุดประสงค์เพื่อที่จะแนะนำมให้ท่านผู้อ่านที่สนใจอยากลองหาอะไรใหม่ๆฟังกันได้ลองไปพิจารณาดูเพราะมันก็ไม่เสียหายไม่ใช่หรือคะที่จะทำความรู้จักกันไว้เพื่อนำไปเปิดโลกทัศน์เพิ่มรสชาติในชีวิตการฟังดนตรีให้มีสีสันขึ้นไปอีกระดับ
ซิงเกิ้ล
Get Myself Into It (5) ซิงเกิ้ลเปิดตัวในแบบฉบับแดนซ์-พังค์ชนิดโคตรเปรี้ยวที่เกิดจากการบูรณาการทางส่วนผสมระหว่างภาคดนตรีดิสโก้เข้ากับจังหวะจะโคนแบบโพสท์พังค์ที่ผู้ฟังคุ้นเคยจากงานชุดแรกก่อนจะหยอดลูกเล่นเก๋ๆสารพัดทั้งความเป็นเรโทรนิวเวฟแบบยุค80 คลับแดนซ์ อิเล็คโทรนิคและเครื่องเป่าแซ็กโซโฟนเพราะๆคลุกเคล้ากันได้อย่างงตัว ผลลัพธ์ออกมาเป็นเพลงเต้นรำล้ำสมัยที่ทรงเสน่ห์ จัดจ้านและเหนือชั้นมากๆ คนมีของแรงอย่างเราๆไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงจริงๆ
แทร็คอื่นๆ
Don Gon Do It (4.5/5) กรี๊ดดดดดดดดๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เปิดอัลบั้มได้เฟี้ยวมากๆค่ะ ตัวเพลงยืนพื้นที่แดนซ์-พังค์ ดิสโก้ผสานซินธิไซเซอร์ เสียงสังเคราะห์ โพรแกรมมิ่งของบีทเต้นรำ เสียงปรบมือและเบสส์แบบซอฟต์พังค์ร็อคกระจายว่อนทั่วเพลงก่อนจะตบด้วยจังหวะจะโคนของฟั้งค์ มิดเทมโพ เรโทรและนิวเวฟดิสโก้เข้าสู่ตัวเพลงอย่างมีชั้นเชิง ยิ่งมาปะทะกับท่อนคอรัสเก๋ๆกระแทกกระทั้นซะสะใจขนาดนั้น สิริรวมแล้วระเบิดฟลอร์แตกตั้งแต่ตอนเปิดบานต้อนรับขาแดนซ์กันเลยทีเดียว เริ่ด! มาที่ Down For So Long (4/5) เพลงเต้นรำอ่อนๆที่ยืนพื้นการนำเสนอเรียบๆบนภาคดนตรีอินดี้ฟั้งค์ร็อคประสานอัลเทอเนทีฟ บีทดิสโก้ตึ้บๆและแดนซ์ร็อคเปรี้ยวๆเสริมทัพด้วยเสียงกีตาร์ได้เท่ห์บาดใจมากกกกกกกกกกก แอร๊ยยยย ฟังแล้วองค์ลงค่ะนิ่งๆหงิมๆแต่ทำไมทำไมมันเปรี้ยวเยี่ยงนี้ ต่อด้วย First Gear (4.5/5)ยังเดินหมากต่อได้เปร้ยวตีนได้ใจมากๆบนภาคดนตรีอิเลคโทรแดนซ์พังค์ นิวเวฟ คลับแดนซ์และฟังคกี้ย์เก๋ๆก่อนจะคลุมทิศทางด้วยความเป็นเรโทรแบบยูโรดิสโก้ยุค70-80 ตบด้วยบีทเทคโนอ่อนๆ ซินธิไซเซอร์ เสียงสังเคราะห์เฟี้ยวๆและบีทอิเล็คโทรแดนซ์ตึ๊บๆ ภาครวมออกมาเก๋าและแกร่งด้วยรายละเอียดซะจนเดี๊ยนแถบลมจับตอนรีวิวเลยทีเดียว มาที่2แทร็คเต้นรำที่เปรี้ยวสุดฤทธิ์สุดเดชพัดจนจนคนฟังเยี่ยวเล็ดตามแน่ๆนั่นคือ The Devil (5)กับWhoo!Alright Yeah Uh Huh (5) แทร็คแรกนี่พวกเธอแรงมากๆทั้งภาคดนตรี เนื้อหาและการนำเสนอนี่สะดีดสะดิ้งแสบทรวงกะเทยไปเลย ตัวเพลงเป็นแดนซ์-พังค์ที่เปิดสมรภูมิรบระหว่างกีตาร์แอฟโฟร่ฟังค์ชนกับเบสส์ โพรแกมมิ่งเรโทรยุค80และซินธิไซเซอร์ได้อย่างสนุกสนาน ส่วนตัวประทับใจมากๆสำหรับการต่อยอดทางภาคดนตรีจากพังค์สู่ฟังค์และไต่ระดับขึ้นไปเป็นแทร็คเต้นรำแบบนิวเวฟดิสโก้สวยๆที่ตลบอบอวนไปด้วยลูกเล่นเรโทรจากยุค80ได้อย่างเหนือชั้นจนน่าขนลุก สำหรับแทร็คหลังได้รับเกียรติไปสิงสถิตย์อย่ในเกมส์ Madden NFL 2007 โดยภาคดนตรียืนพื้นที่แดนซ์-พังค์ในรสชาติที่แตกต่างออกไปบนโพรแกรมมิ่งเฟี้ยวๆ ซินธิไซเซอร์ล้ำๆและบีทเต้นรำมันส์ๆ โดยรสชาติที่จัดจ้านของการผสานภาคดนตรีอันเจิดจรัสรวมถึงไอเดียเก๋ๆของการนำเสนอตัวเพลงยังคงความเหนือชั้นอย่างหาตัวจับยากทีเดียว เป็นสองแทร็คที่ขอแนะนำว่าต้องฟัง
Pieces Of The People We Love (3.5/5) ไทเทิ่ลแทรคที่เป็นส่วนผสมระหว่างดิสโก้ ฟั้งค อิเล็คโทรพังค์ ยูโรแดนซ์ตึ๊บๆ อัลเทอเนทีฟและอินดี้ร็อคกับโพรแกรมมิ่งยุค80ได้อย่างลงตัว แม้ว่าความเนียนของการผสมผสานและการนำเสนอจะเก๋เข้าขั้นเริ่ดเชิ่ดเช่นเดิมแต่ส่วนตัวเป็นแทร็คที่โปรดปรานน้อยที่สุดในอัลบั้มจึงตัดคะแนนลดหลั่นลงไปนะคะ แต่สำหรับหลายๆคนฟังแล้วอาจจะชอบมากๆก็ได้นะ ซาวนด์ล้ำมากมาย ต่อด้วย Calling Me (4.5/5) เก๋มากๆค่ะจิกเอาอินดี้พังค์ร็อคดิบๆสดๆมาตบเข้ากับโลไฟ-อัลเทอเนทีฟ โพสท์กรั๊นจ์ บีทเต้นรำจางๆและทริพฮอพหลอนๆได้ลงตัวก่อนจะทำเก๋หยอดลูกเล่นความเป็นเมทัลอ่อนๆชนิดที่เดี๊ยนฟังอยู่แล้วกรี๊ดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆขึ้นมากลางถนนข้าวสารทำเอาชะนีฝรั่งสำลักข้าวเหนียวมะม่วงเลยทีเดียว (ฟังไอพ็อดแฟน) เจ๋งเหี้ยๆเลยค่ะพี่ (หนูก็อายเหี้ยๆเลยเช่นกันค่ะ) แทร็คถัดไป The Sound (4/5) แทร็คนี้ได้ถูกอันเชิญไปบรรจุในเกมส์แข่งรถ Need For Speed : Pro Streetด้วยนะคะ ตัวเพลงเป็นแดนซ์-พังค์ ดิสโก้โจ๊ะๆเจือดนตรีอิเล็คโทรนิก้าแน่นๆ บีทเทคโนและสารพัดโพรแกรมมิ่งเปรี้ยวๆกระชากวิญญาณผู้ฟังมากๆ ไม่ติดว่ามันรกไปนิดนี่หนูให้5เลยนะคะพี่ๆ แทร็คสุดท้าย Live In Sunshine (4.5/5) งานอินดี้ร็อคปิดอัลบั้มที่แพรวพราวไปด้วยการผสมผสานเริ่ดๆตั้งแต่ซอฟต์พังค์ร็อคเพราะจัดๆ บริทพ็อพคลอไปกับบีทไซคลีเดลิกจางๆที่เป็นแบ็คกรานด์ได้อย่างทรงเสน่ห์สุดๆ ส่วนตัวถือว่าเป็นแทร็คที่โดนใจและทรงพลังทางความรู้สึกสำหรับเดี๊ยนสุดๆ ปิดอัลบั้มได้เท่ห์จนหยดสุดท้ายชนิดที่เดี๊ยนขอคารวะไปเลย หึหึหึ
สรุป
ถึงแม้ว่า The Rapture จะยังไม่สามารถก้าวไปสัมผัสถึงจุดที่โด่งดังจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลกอย่างที่ควรจะเป็นก็ตามแต่งานดนตรีของทั้งสองชุดก็ได้พิสูจน์แก่ผู้ฟังแล้วว่า The Rapture คือ ทางเลือกใหม่แห่งโลกดนตรียุคอนาคตที่ส่วนตัวเชื่อมั่นอย่างถึงที่สุดว่าเมื่อศิลปินกลุ่มนี้ผ่านการเจียระไนโดยการเวลาจนถึงขั้นจรัสแสงอย่างถึงขีดสุดแล้ว ชื่อของ The rapture จะต้องเป็นชื่อที่ถูกบรรจุไว้ในหนึ่งในหน้าของพจนานุกรมคนดนตรีสำหรับเอาไว้เปิดดูตอนที่จะหานิยามความหมายของคำว่า เพลงเปรี้ยวๆ น่ะมันเป็นยังไง วงนี้ตอบคุณได้ครบด้วยวิธีง่ายๆเพียงเปิดใจและรับฟังเท่านั้นก็ซาบซึ้งแน่นอนค่ะ