˹���á Forward Magazine

ตอบ

Disco : แสงสีและเพลงเต้นรำแห่งยุค70s
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ Disco : แสงสีและเพลงเต้นรำแห่งยุค70s 


http://www.facebook.com/HysteriaCulture

http://hysteriaculture.wordpress.com

(หากข้อมูลตรงไหผิดพลาดดิฉันกราบขออภัยด้วยนะคะ)

The EDM Kiss Me Once : Disco : แสงสีและเพลงเต้นรำแห่งยุค70s

จากวินาทีแห่งความรุ่งโรจน์อย่างถึงขีดสุดในช่วงปลายทศวรรษ1970s ดนตรี “ดิสโก้” แม้จะเสื่อมมนตร์ขลังลงอย่างมากสำหรับตลาดเพลงเต้นรำในยุคของ EDM นี้ที่แม้จะเหมารวมเอาดิสโก้ผนวกเข้าเป็นหนึ่งในแขนงด้วยแต่ดูเหมือนว่าความสนใจส่วนมากจะไปตกอยู่กับงานเต้นรำจำพวกซินธิ์พ็อพไม่ก็ดั๊บสเต็ปเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามดิสโก้ก็ยังคงเป็นหนึ่งในภาคดนตรีที่มีบทบาทในดนตรีเต้นรำมาจนถึงทุกวันนี้

ภายใต้อิทธิพลของดนตรีแนวฟั้งค์,ละทินและโซลที่หลอมรวมกันเป็นดนตรีเต้นรำในตำนานโดยได้รับการแต่งแต้มจากเครื่องดนตรีอิเล็คโทรนิคอย่างซินธิไซเซอร์ ดิสโก้ได้สร้างความสำเร็จระดับมหาศาลให้แก่ศิลปินระดับตำนานหลายท่าน อาทิ ABBA,ดอนน่า ซัมเมอร์,บีจี,กลอเรีย เกย์นอร์และเดอะแจ็คสัน เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในตำนานแห่งทศวรรษ70sที่ได้กล่าวถึงในนี้อย่าง “ดอนน่า ซัมเมอร์” ได้กลายเป็นศิลปินดิสโก้ที่โด่งดังและเป็นที่กล่าวขวัญถึงมากที่สุดจนได้รับการขนานนามให้เป็น “ราชินีดิสโก้” ทีเดียว

ในช่วงปลายทศวรรษ70s ดนตรีดิสโก้นับว่ามีอิทธิพลต่อแวดวงดนตรีเมนทสตรีมเป็นอย่างยิ่งชนิดที่ศิลปินอาร์แอนด์บีและโซลผิวสีหลายคนได้ขยับปรับเปลี่ยนแนวของตนเข้าหาดิสโก้เช่นเดียวกคบศิลปินสายพ็อพที่ก็ได้นำดิสโก้เข้ามาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการนำเสนอดนตรีของตนเองเช่นเดียวกับภาพยนตร์อย่าง Saturday Night Fever และ Thank God It’s Friday ก็ยังคล้ายๆจะทำมาสดุดีให้แก่ความยิ่งใหญ่ของดนตรีดิสโก้ในช่วงเวลานั้นทีเดียว อย่าหาว่าอวยเกินจริงเลยค่ะเพราะถึงขั้นที่ทีการจัด “Disco Demolition Night” ในวันที่12 กรกฎาคมปี1979 ที่ชิคาโก้เพื่อแสดงการต่อต้านวัฒนธรรมดิสโก้โดยเฉพาะ (พวกแนวที่ดังๆที่สุดของยุคทั้งหลายโดนกันมานักต่อนัก) อย่างไรก็ตามดิสโก้ได้เสื่อมมนตร์ขลังและความนิยมลงอย่างรวดเร็วในยุค80sแล้วถูกแทนที่ด้วยดนตรีแนวอื่นๆในยุคถัดมาแทนไม่ว่าจะเป็นพ็อพเต้นรำหรือนิวเวฟ เป็นต้น

The EDM Kiss Me Once : Disco : เกร็ด5ข้อสั้นๆฆ่าเวลากับดิสโก้

1.สมัยต้นทศวรรษ 1940s คำว่า “ดิสโก้เธค” ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการที่ไนท์คลับเพลงแจ๊ซซ์ส่วนมากเลือกที่จะเปิดแผ่นเสียงแทนที่การแสดงสดของศิลปินเนื่องจากข้อห้ามในยุคสงครามโลกครั้งที่สองของทางการ เช่นเดียวกับที่ “ดีเจ” (Disc Jockey) ได้ขึ้นแท่นมารับหน้าที่เป็นผู้เปิดแผ่นเสียงและดำเนินรายการวิทยุ

2.วงไซคลีเดลิคโซลอย่าง ”Chambers Brothers” และ “Sly and The Family Stone” ได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่แวดวง ”proto-disco” อย่างมากมาย

3.อัลบั้ม “Love Is The Message” โดย M.F.S.B. เป็นหนึ่งในผลงานที่เป็นตัวแทนที่ดีของดนตรีแนว “Proto-Disco” ตลอดกาลจากเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงการมองโลกในแง่ดี,การลดทอนความก้าวร้าวหมองหม่นและมีสอดคล้องกับอุดมการณ์แห่งบุปผาชนชนิดเต็มเปี่ยม

4.ดนตรีโซลในฟิลาเดเฟียและนิวยอร์คที่พัฒนามาจากดนตรีอาร์แอนด์บีและโซลแบบฉบับของค่าย “โมทาวน์” ได้กลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของดนตรีดิสโก้กลางทศวรรษ70s

5.ดูเหมือนว่ารูปแบบของดิสโก้จะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นโดย “Tom Moulton” จากการประดิษฐ์คิดค้น “Extended Mix” หรือ “Remix” เพื่อการเอ็นเตอร์เทนผู้ฟังในรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสานซาวนด์ดนตรีที่ต่างจากต้นฉบับ,ช่วงเบรคเพอร์คัสชั่นและท่อนแปลกๆเก๋ๆอิระตามใจฉันร่วมกับดีเจและโปรดิวซ์เซอร์อีกหลายท่านที่มาระดมสมองจนกลายเป็นสิ่งที่เรียกติดปากผู้ฟังว่า “ดนตรีแบบดิสโก้”

The EDM Kiss Me Once : Disco : ดิสโก้…วันที่เฉิดฉายและวันที่อับแสง

ช่วงเวลารุ่งโรจน์ของดนตรีดิสโก้เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยปี1974ขึ้นมาจนถึง1977จากการที่ดนตรีดิสโก้ได้รับความนิยมชนิดแพร่หลายจนติดท็อปชาร์ตหลายเพลงทีเดียว ในปี1974เพลง “Love’s Theme” โดย Barry White ได้กลายเป็นเพลงดิสโก้เพลงที่สองที่สามารถทะยานขึ้นอันดับหนึ่งบนบิลบอร์ดชาร์ตหลังจากเพลง “Love Train” ซึ่งหลังจากนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่โลกได้เห็รเพลงดิสโก้ระดับตำนานมากมายขึ้นไปโลดแล่นบนแถวหน้าของบิลบอร์ดชาร์ต อาทิ “Kung Fu Fighting” โดย Carl Douglas ที่ก็สามารถคว้าอันดับหนึ่งทั้งบนฝั่งอเมริกาและอังกฤษ เป็นต้น ในเดือนธันวาคมปี1977 ภาพยนตร์เรื่อง “Saturday Night Fever” ได้เป็นปรากฏการณ์สำคัญในการยืนยันถึงอิทธิพลของดนตรีดิสโก้ต่อวัฒนธรรมดนตรีกระแสหลักซึ่งซาวนด์แทร็คของภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้ขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในซาวนด์แทร็คที่ขายดีที่สุดตลอดกาลอีกด้วย นอกจากนี้เรายังได้เห็นศิลปินหลายคนที่ไม่ได้มีรากฐานมาจากแนวดิสโก้แท้ๆได้หันมาทำดิสโก้เพื่อให้เข้ากับกระแสนิยมของยุคด้วย อย่างไรก็ตามช่วงปลายทศวรรษ90sได้เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มศิลปินร็อคและนักดนตรีชาวอเมริกันที่แสดงออกในการต่อต้านดิสโก้อย่างรุนแรงโดยสโลแกน “disco sucks” และ “death to disco” ได้กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ชนิดละลานตาในช่วงเวลานั้นรวมถึงการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทั้งทางดนตรีและภาพยนณ์เพื่อแสดงถึงการร่วมคว่ำบาตรดนตรีดิสโก้จนหนักข้อถึงขั้นที่ได้มีวันที่เป็นที่รู้จักกันภายใต้นามของ “The Day Disco Died” ในวันที่12 กรกฎาคมปี1979กับการชุมนุม “Disco Demolition Night” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันโดยเปิดเผยของสมาคมคนต่อต้านดิสโก้ซึ่งส่งผลมาถึงการปฏิรูปสถานีวิทยุเมนทสตรีมรวมถึงการปิดตัวของค่ายเพลงมากมายช่วงเริ่มต้นทศวรรษ80sในขณะที่ดนตรีคันทรี่ย์เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างช้าๆในชาร์ตเพลงพ็อพก่อนที่ดิสโก้จะถูกกลืนหายไปจากวงการด้วยกระแสของดนตรีจำพวกนิวเวฟและงานดนตรีในยุค80sทั้งหลาย หากแต่เบื้องลึกเบิ้องหลังมีการสันนิษฐานว่าเบื้องหลังของการคว่ำบาตรดนตรีดิสโก้มีสาเหตุมาจากผลประโยชน์ด้านการเงินในวงการเพลงของศิลปินร็อคและกลุม่คนบางกลุ่มตลอดจนลัทธิการเหยียดสีผิวและต่อต้านกลุ่มรักร่วมเพศ



ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  


ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
ตอบ หน้า 1 จาก 1
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
  


copyright : forwardmag.com - contact : forwardmag@yahoo.com, forwardmag@gmail.com