˹���á Forward Magazine

ตอบ

(Back In The Day) Mariah Carey : Mariah Carey
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ (Back In The Day) Mariah Carey : Mariah Carey 


http://hysteriaculture.wordpress.com/2014/10/07/back-in-the-day-mariah-carey-mariah-carey-poprbsoul-90-4-55/

http://www.facebook.com/hysteriaculture

Mariah Carey : Mariah Carey : Pop/R&B/Soul (90% = 4.5/5)

(รีวิวชิ้นนี้เขียนไว้นานมากแล้ว วันนี้ขอหยิบขึ้นมาอัพลงอีกครั้งในMariah Issueและเพื่อต้อนรับแม่มาลัยที่กำลังจะมาเปิดคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบเยี่ยมเยียนลูกแกะแดนสยามเป็นครั้งที่สองนะคะ ผิดพลาดอะไรต้องกราบของอภัย ณ ที่นี้เพราะไม่ได้กลับไปแก้ไขส่วนใดในรีวิวทั้งสิ้น)

รูปแบบเพลง
รีวิวชิ้นนี้ขอหวนกลับมาสู่ความผูกพันและความเคารพในตัว “ดิว่า” ท่านนี้ในฐานะที่เป็นหนึ่งในศิลปินและแรงบันดาลใจที่ขับเคลื่อนจิตวิญญาณทางดนตรีของเดียนมาจวบจนปัจจุบันกับหนึ่งในมาสเตอร์พีซชิ้นงามของเธอซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จทั้งหมดบนเส้นทางแห่งดนตรีตลอดกว่า2ทศวรรษ แรงขับเคลื่อนอันทรงพลังแห่งอุตสาหกรรมดนตรี การก้าวเข้ามาสู่ความเป็นหนึ่งในสุภาพสตรีแถวหน้าแห่งอาณาจักรดนตรีตลอดจนการถูกจารึกเข้าสู่ทำเนียบหนึ่งในศิลปินที่เป็นตำนานอันยิ่งใหญ่ที่สวุดแห่งทศวรรษ90กับสตูดิโออัลบั้มแรกของเธอภายใต้ชื่อเดียวกับศิลปิน Mariah Carey ซึ่งส่วนตัวขอยกให้เป็นหนึ่งในตัวแทนแห่งนิยามของอัลบั้มพ็อพแห่งยุค90เลยทีเดียว ในส่วนของภาคดนตรีภาพรวมของงานชุดนี้ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบของคอนเทมโพลารีย์พ็อพอาร์แอนด์บีโดยผสานความเป็นโซล บลูส์ กอสเพลและกลิ่นอายโอลด์สคูลในแบบฉบับเมนสตรีมพ็อพยุค50เข้ากับอารมณืฟั้งค์กี้ย์ ดิสโก้และโมทาวน์โซลช่วงยุค60-70ต่อยอดไปยันพ็อพร็อค ฮิพฮอพ แร็พ แดนซ์ นิวแจ็คสวิงโดยปรุงแจฃต่งให้มีความร่วมสมัยในทิศทางใหม่ของการนำเสนอเมนสตรีมพ็อพยุค90ได้อย่างเหนือชั้น
จุดด้อย
ความสมบูรณ์แบบของเนื้องานและชั้นเชิงในการนำเสนอต้องนับว่าแพรวพราวถึงขั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เขย่าอาณาจักรดนตรีพ็อพไปทั่วโลกเลยทีเดียวนะคะ วัดจากรสนิยมของเดี๊ยนถ้าเทียบกับ Emotions อัลบั้มถัดมาซึ่งถูกใจเดียนมากกว่าในแง่ของความดิบสด จริงใจและดุดันอย่างไรก็ตามคิดว่างานชุดนี้หาจุดตำหนิได้น้อยกว่าอันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัวของผู้ฟังแต่ละท่านที่จะตัดสินว่าถูกใจงานชุดไหนมากกว่ากันเนื่องจากในแง่ของคุณภาพนี่กินกันไม่ลงเลยทีเดียว
สำหรับข้อครหาที่ว่า “งานชุดนี้เหมือนกับอัลบั้มแรกของวิทนีย์ ฮุสทันมากเกินไป” สำหรับเดี๊ยนคิดว่ามันแค่มีความคล้ายกันในแง่ของการนำเสนอจุดที่เป็นคอนเทมโพลารีย์และอาร์แอนด์บีรวมถึงความโดดเด่นในแง่ของบัลลาดหลายๆจุดก้แค่นั้น เอาจริงๆหากพิจารณาเนื้องานดีๆจะเห็นได้ว่าสิ่งที่ทั้งคู่สื่อรวมถึงทิศทางในการนำเสนอในระยะยาวแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในส่วนยอดขายที่เจ๊มาลัยโดนจิกว่าขายได้เยอะๆแต่ในเฉพาะอเมริกา “อันนี้จริง” แต่ถ้ามองในแง่ดีก็ถือว่าเธอทำไดัดีในการครองความนิยมใบ้านเกิดได้อย่างเหนียวแน่น ดนตรีแบบมาลัยนี่แหละค่ะถูกรสนิยมอเมริกันชนนักแล อย่างไรก็ตามยอดรวมทั่วโลกได้15ล้านกว่าๆสำหรับงานเปิดตัวก็ถือว่าไม่เลวเลยทีเดียวนะคะ
แทร็คเด็ด
I Don’t Wanna Cry (4/5) ไม่กล่าวถึงไม่ได้นะคะแทร็คนี้ด้วยความที่เป็นอดัลท์คอนเทมโพลารีย์เมนสตรีมพ็อพบัลลาดเมโลดี้งดงามที่มารายห์ควักหัวใจร้องออกมาได้ไพเราะทรงเสน่ห์จับขั้วหัวใจผสานท่วงทำนองบลูส์หลอนๆโศกสลดปลิดวิญญาณและเสน่ห์ของสรรพสำเนียงอาร์แอนด์บีโซลที่เป็นเอกลักษณือันโดเด่น ส่งผลให้เพลงนี้ขึ้นอันดับหนึ่งเป็นซิงเกิ้ลที่4บนบิลบอร์ดชาร์ตสร้างสถิติให้เธอเป็นศิลปินหญิงและศิลปินโซโล่รายได้ที่มีอันดับหนึ่งบนฝั่งอเมริกา4เพลงติดต่อกัน (รายแรกที่ทำได้คือวง The Jackson 5) มาที่ Vanishing (4.5/5) กับภาคดนตรีหม่นๆในแบบคอนเทมโพลารีย์บลูส์โซลอารืแอนด์บีผสานไลท์แจ๊ซซ์และกอสเพลเป็นอีกหนึ่ง Signature Song ที่มารายห์สามารถทำออกมาได้ทรงพลังและน่าประทับใจทุกอัลบั้มหลังจากนี้ก็พวก The Wind,Looking In,My Saving Grace,Fly Like A BirdและI Wish You Wellอะไรทำนองนี้อ่ะค่ะ สลับมาฟังเพลงจังหวะสนุกๆกันบ้างใน Someday (4.5/5) ซิงเกิลที่สามบนท่วงทนองพ็อพเต้นรำเริ่ดๆผสานลูกเล่นของนิวแจ็คสวิงที่เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงยุค90ที่เสริมทัพอารมณืความเป็นฟั้งค์ โซล อาร์แอนด์บีผปสานกันได้อย่างลงตัวก้ฃ่อนจะเบรคด้วยท่อนแร็พเก๋ๆช่วงกลางเพลงก่อนจะปิดท้ายด้วยเฟดเอ๊าท์หวีดร่ำลาชนิดระทึกขวัญสร้างความเป็นออริจินัลในการหวีดให้เธออีกหนึ่งคำรบ ป่วงและเริ่ดมากค่ะกะเทย ต่อด้วย Love Takes Time (4.5/5) อดัลท์คอนเทมโพลารีย์พ็อพอาร์แอนด์บีเจืออารมณ์บลูส์โซลหวานๆลอยละล่องและความงามของภาคเนื้อหาที่แฝงความเป็นกอสเพลไว้ได้อย่างเหนือชั้น
มาที่แทร็คที่ทรงพลังและสมบูรณ์แบบที่สุดตลอดกาลของมารายห์อย่าง Vision Of Love (5) ซิงเกิ้ลแรกที่ภาคดนตรีเป็นคอนเทมโพลารีย์โอลด์สคูลพ็อพโซลอาร์แอนด์บีบัลลาดที่เจิดจรัสบ่นเสน่ห์ของท่วงทำนองการนำเสนอแบบพ็อพโซลยุค50เข้ากับภาคเนื้อหาบริสุทธิ์ละเมียดละไมแบบกอสเพลซึ่งเป็นบทอุทิศอันยิ่งใหญ่ให้แก่อุปสรรคที่พานพบ ประสบการณ์ ความรัก ความศรัทธาและความวางใจที่ทูลถวายพระผู้เป็นเจ้าตลอดจนการกล่าวสดุดีจิตวิญญาณของตนตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฟันมรสุมจวบจนสามารถลุกขึ้นมายืนหยัดได้แข็งแกร่งและสง่างาม อีกแทร็คที่ส่วนตัวประทับใจเป็นพิเศษหนีไม่พ้น Prisoner (4/5) ที่เกือบจะได้ตัดเป็นซิงเกิ้ลที่5ในฝั่งอเมริกากับความสะใจจัดๆในรูปแบบของโอลด์สคูลแดนซ์-พ็อพที่ผสานความเป็นฟั้งค์กี้ย์ดิสโก้และโซลสวยๆสไตล์เพลงเต้นรำยุค70ได้อย่างเหนือชั้นก่อนที่จะหยอดสรรพสำเนียงแร็พเก๋ๆลงไปยกระดับตัวเพลงได้อย่างสมบูรณ์แบบ กรี๊ดดดดดดดดดด ฟังแล้วไม่ต้องรอให้พระจันทร์เต็มดวงก็กลายร่างเป็นกะเทยได้ทันที สีม่วงมากค่ะเจ๊ หึหึหหึ ปิดท้ายกับ There’s Got To Be A Way (5) ที่โปรโมตในยุโรปบางประเทศและเป็นเพลงที่พลาดโอกาสเป็นซิงเกิ้ลฝั่งอเมริกาเนื่องจากต้นสังกัดใจร้อนรีบชิงโปรโมต Emotions เสียก่อน ส่วนตัวแล้วแอบเสียดายๆมากๆเนื่องจากเป็นแทร็คที่เห็นว่าถ้าตัดมาก็มีแววที่จะได้อันดับหนึ่งอยู่ด้วยชั้นเชิงการนำเสนออันโดดเด่นและความสมบูรณ์แบบที่กลั่นกรองออกมาในทิศทางที่สูงจนน่าประทับใจ ตัวเพลงเป็นมิดเทมโพพ็อพอาร์แอนด์บีที่ผสานจังหวะเต้นรำอ่อนๆต่อยอดไปยันพวกโซล ฟั้งค์และกอสเพลคอรัสสุดเจิดจรัส เป็นอีกหนึ่งในแทร็คที่คลาสสิคที่สุดตลอดกาลของมาลัยเลยทีเดียว หึหึหึหึ

สรุป

หนึ่งในอัลบั้มพ็อพที่ดีที่สุดจากศิลปินหญิงแห่งทศวรรษ90ที่ส่งให้ชื่อของ มารายห์ แครีย์ลอยลำเข้าสู่ทำเนียบดิว่าและถูกจารึกเป็นตำนานตั้งแต่วินาทีแรกที่ดาวดวงนี้จรัสแสง




ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
ตอนนี้ยังเด็กอยุ่เลย คิคิ Sad

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
like


_________________

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว ส่ง Email ชมเว็บส่วนตัว
ตอบโดยอ้างข้อความ
ตอบ  
Confused Confused Confused vever good
ทางเข้า gclub

ดูข้อมูลส่วนตัว ส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
ตอบ หน้า 1 จาก 1
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
  


copyright : forwardmag.com - contact : forwardmag@yahoo.com, forwardmag@gmail.com